อัลไซเมอร์( Alzheimer’s Disease) ปัญหาของวัยสูงอายุ

แชร์ให้เพื่อน

อัลไซเมอร์( Alzheimer’s Disease) ปัญหาของวัยสูงอายุ

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงเต็มตัวปัญหาของผู้สูงอายุ(อายุ 65-80ปี) ที่ต้องเผชิญ
คือโรคอัลไซเมอร์ หรือภาวะสมองเสื่อม และปัญหาความเสื่อมถอยของสุขภาพร่างกาย วัยผู้ใหญ่และวัยเกษียณ​ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือตัวเอง ลดภาระผู้ดูแลและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

โรคอัลไซเมอร์​(Alzheimer’s​Disease)​คืออะไร?

คือภาวะความบกพร่องของการทำหน้าที่ของสมอง เกิดจากสมองเสื่อมถอยตามวัย ในด้านความคิด ความจำ ความรอบรู้ การใช้ภาษา การตัดสินใจ การใช้เหตุผล ตลอดจนมีความเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ และพฤติกรรม ส่งผลกระทบต่อการดูแลตนเองด้านชีวิตประจำวัน พบในช่วงอายุ 85 ปีขึ้นไปอัตราการเป็นอัลไซเมอร์​ร้อยละ 50

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์​มีอะไรบ้าง?

  • มีอายุมากขึ้น
  • พันธุกรรม
  • ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม
  • กลุ่มผู้ป่วยมีประวัติได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึมเศร้า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

โรคอัลไซเมอร์​(Alzheimer’s​Disease)​ แบ่งออกได้ 3 ระยะคือ

1.สมองเสื่อมระยะแรก พบปัญหาด้านความจำ จำข้อมูลใหม่ไม่ได้ เริ่มหลงลืม เช่น ลืมชื่อคน ลืมปิดประตู ปิดไฟ ปิดน้ำ แต่ยังใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ
การตัดสินใจเริ่มช้าลง ไม่มีสมาธิในการทำงาน ความคิดสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ลดลง การเรียนรู้ใหม่ๆช้าลง การใช้คำศัพท์ไม่คล่องและการใช้ภาษาแย่ลง เริ่มมีปัญหาในการเขียน การพูด และยังสื่อสารได้ในระดับพื้นฐาน

2.สมองเสื่อมระยะกลาง พบว่ามีอาการหลงลืมมากขึ้น ด้านสิ่งแวดล้อม​และสถานที่ที่คุ้นเคย ย้ำคิดย้ำทำ การใช้ภาษาเริ่มแย่ลง นึกคำพูดไม่ออก ความจำแย่ลงเรื่อยๆ จำคนสนิทไม่ได้ เริ่มมีพฤติกรรม​เปลี่ยนไป บางรายซึมเศร้าร่วมด้วย ก้าวร้าว หงุดหงิด​โมโหง่าย อารมณ์แปรปรวน​เช่น ร้องให้ หัวเราะ

3.สมองเสื่อมระยะสุดท้าย มีความรุนแรงที่สุด พบการสูญเสียด้านความจำระยะสั้น หลงลืมรุนแรง ลืมการรับประทานอาหาร การสื่อสาร ตอบโต้เป็นภาษาไม่ได้ เข้าใจคำพูดและตอบโต้ด้วยอารมณ์​หรือมีภาวะไร้อารมณ์​ อ่อนเพลีย การเคลื่อนไหวช้าลงจากมวลกล้ามเนื้อ​ลดลง จนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงในที่สุด

แนวทางการดูแลรักผู้ป่วยอัลไซเมอร์​( Alzheimer’s​Disease)​ ในแต่ละระยะคือ

1.สมองเสื่อมระยะแรก การดูแลรักษาและกิจกรรมที่ปฏิบัติเช่น แนะนำให้ผู้ป่วยเขียนบันทึกประจำวันเพื่อช่วยการเรื้อฟื้นความจำระยะสั้น การเล่นหมากรุก เน้นการบันทึกสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว เช่นปิดประตูบ้าน ปิดน้ำไฟ โดยเน้นการตรวจสอบ ก่อนออกจากบ้านให้ตรวจสอบอีกครั้ง ในปัจจุบันมีสมาร์ทโฟน​ การถ่ายรูปไว้ช่วยได้เช่นถ่ายรูปการล็อคประตูบ้าน แนะนำการนั่งสมาธิ การวาดภาพ การทำบันทึกรายรับรายจ่ายเพื่อช่วยด้านตัวเลข

2.สมองเสื่อมระยะกลางและระยะสุดท้าย การดูแลรักษาและกิจกรรมที่ปฏิบัติเช่น

  • การสื่อสารด้วยคำพูดที่เข้าใจง่าย ออกเสียงชัดเจน เรียกชื่อผู้ป่วยบ่อยขึ้น ใช้ภาษากายในการสื่อสารร่วมด้วย
  • ชวนผู้ป่วยพูดคุยเรื่องในอดีตโดยใช้รูปถ่ายประกอบในการสนทนา เพื่อช่วยเรื้อฟื้นความจำด้าน สถานที่ ผู้คน สิ่งต่างๆโดยใช้รูปภาพประกอบ
  • ให้ผู้ป่วยดูทีวี สื่อออนไลน์เพื่อความบันเทิงเป็นครั้งคราว
  • กระตุ้นให้ผู้ป่วยดูแลตนเองด้านชีวิตประจำวันเช่น การรับประทานอาหารโดยมีนาฬิกาช่วยให้ผู้ป่วยดูว่าต้องกินอาหารกี่โมง เวลาไหนบ้าง อาบน้ำกี่โมง
    มีปฏิทินเพื่อช่วยจดจำวันต่างๆเช่นวันพระ
    ช่วยการเตรียมพร้อมอาหารในการทำบุญ หรือไหว้ศาลพระภูมิ​ต่างๆ
  • หลีกเสี่ยงการสื่อสารที่ใช้อารมณ์​ที่มีผลกระทบต่อจิตใจผู้ป่วย ทำให้โกรธ เสียใจ น้อยใจหรือเครียด ไม่ควรกล่าวโทษ หรือทำโทษเด็ดขาด
  • แนะนำให้ผู้ป่วยสวดมนต์หรือนั่งสมาธิก่อนนอน
  • มีสัญญลักษณ์​ที่บงบอกถึงผู้ป่วยสมองเสื่อมเช่น กำไร ที่มีเบอร์โทรที่สามารถติดต่อญาติกรณีหลงทาง
  • กรณีที่กินยาร่วมด้วย ดูแลให้ได้รับยาตามเวลา
  • บันทึกพฤติกรรม​ที่เปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงเพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบจะได้หาแนวทางการแก้ไขต่อไป

จะเห็นได้ว่าภาวะสมองเสื่อมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไปการดูแลตนเองและส่งเสริมกิจกรรมที่เหมาะสมจะช่วยให้เข้าสูู่ระยะที่รุนแรงช้าลงได้หรืออาจไม่เป็นในระยะรุนแรงเลย ทั้งนี้ควรดูแลให้ได้รับสารอาหารให้ครบหลัก 5 หมู่และดื่มน้ำให้เพียงต่อร่างกายต่อวันด้วย

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

แชร์ให้เพื่อน

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

โรคนอนไม่หลับ(Insomnia) หมายถึงภาวะที่เกี่ยวข้องกับวงจรของการนอนหลับ ประกอบด้วยความยากลำบากในการเข้านอน  การหลับต่อเนื่อง และการตื่นนอนก่อนเวลา ทำให้ตื่นตอนเช้าไม่สดชื่น ส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เบื่อหน่าย  ไม่มีสมาธิ
ภาวะการนอนไม่หลับจะมีความเกี่ยวข้องกับอายุกล่าวคือ ยิ่งมีอายุมากขึ้น จะทำให้นอนหลับยากขึ้น

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ(Insomnia)​

  • ร่างกายได้รับการกระตุ้น หรือตื่นตัวมากเกินไป
  • ปัญหาด้านความเจ็บป่วยร่วมด้วย

ภาวะนอนไม่หลับเกิดผลกระทบดังต่อไปนี้

  • ด้านความรู้สึกนึกคิด เกิดความบกพร่องด้านความรู้สึกนึกคิด มีความวิตกกังวล คิดวนเวียนอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
  • ด้านร่างกาย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด  การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง
  • ด้านจิตใจ ซึมเศร้า วิตกกังวล  อาจมีปัญหาติดเหล้า ยาเสพติดตามมาได้
  • ด้านเศรษฐกิจ​  พบว่าการบำบัดโรคนอนไม่หลับมีค่าใช้จ่ายสูงมากในต่างประเทศ

แนวทางการปฏิบัติเพื่อช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น

  • หลีกเลี่ยงการงีบหลับกลางวัน เพราะการงีบหลับกลางวันจะทำให้วงจรการนอนหลับแปรปรวน
  • เข้านอนเมื่อรู้สึกง่วงนอนจริงๆ เท่านั้น
  • ไม่ทำกิจกรรมอื่นๆบนเตียงนอน เช่น อ่านหนังสือ เล่นโทรศัพท์​ ดูทีวี
  • ถ้าขึ้นเตียงนอน 10 นาทีผ่านไปแล้วยังไม่หลับให้ลุกออกจากเตียงนอน ไปที่อื่นและกลับมานอนอีกครั้งเมื่อง่วงนอนจริงๆเท่านั้น
  • ตั้งนาฬิกาปลุก​เพื่อจะได้ตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุกวัน จะทำให้วงจรการนอนหลับและตื่นคงที่
  • จัดสภาพแวดล้อมห้องนอนที่้เอื้อต่อการนอน เช่น เตียงนอนไม่แข็งเกินไป มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป ไม่สว่างจนเกินไป ไม่มีเสียงดังรบกวน
  • การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยเริ่มจากการสูดหายใจเข้าลึกๆ และผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่คอ แขน หลัง ขา และผ่อนคลายทั่วร่างกาย
  • การฝึกผ่อนคลาย​จิตใจเช่น การทำสมาธิ

ภาวะการนอนไม่หลับเป็นปัญหาด้านจิตเวช​ ถ้าใช้วิธีการที่กล่าวมาแล้วไม่ได้ผลอาจต้องปรึกษาจิตแพทย์​เพื่อวินิจฉัย​และหาแนวทางการรักษาวิธีอื่นต่อไป

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ภาวะสมองเสื่อม การเขียนหนังสือช่วยได้ !!!! ตอนที่ 1 

แชร์ให้เพื่อน

ภาวะสมองเสื่อม การเขียนหนังสือช่วยได้ !!!!

ตอนที่ 1 

เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ความเสื่อมของร่างกายและสมองเริ่มตามมา เราสามารถใช้เทคนิค​การเขียนหนังสือช่วยกระตุ้นเซลล์​สมองเพื่อช่วยลดภาวะสมองเสื่อมได้
กิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นสมองมีมากมายหลากหลายวิธี เช่น การเล่นเกมปริศนาคำทาย  การเล่นไพ่   การเขียนหนังสือ บทความ บันทึกประจำวัน

ภาวะสมองเสื่อมคืออะไร?
เป็นภาวะความบกพร่องของการทำหน้าที่ของสมอง ส่งผลให้สมองของผู้ป่วยเสื่อมถอยโดยเฉพาะในเรื่องความคิด ความจำ ความรอบรู้ การใช้ภาษา การตัดสินใจ และการใช้เหตุผล ตลอดจนบุคลิก​ภาพและพฤติกรรม​ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างชัดเจน 

สัญญาณ​เตือนว่าท่านเริ่มมีภาวะสมองเสื่อม

  • มีปัญหาเรื่องความจำ หลงลืมบ่อย
  • ของหายบ่อยๆ หรือวางผิดที่ผิดทาง เกิดระแวงว่าคนอื่นขโมย
  • ติดขัดการใช้ภาษา เรียกชื่อสิ่งของหรือคนคุ้นเคยไม่ถูก
  • รู้สึกยากลำบากในการทำงานที่ซับซ้อนที่เคยทำอยู่ประจำ เช่น การวางแผนในการทำงาน  การวางแผนค่าใช้จ่าย
  • ตัดสินใจเรื่องต่างๆได้ช้า หรือไม่เหมือนเดิม
  • มีปัญหาด้านทิศทาง ด้านสิ่งแวดล้อม  หลงทางบ่อยแม้ทางที่คุ้นเคย
  • สับสนป้ายสัญญาณที่เป็นอยู่ประจำ เช่น ไฟจราจร
  • สับสนในการลำดับเหตุการณ์  เรื่องราวต่างๆ เวลา สถานที่
  • สมาธิสั้น เปลี่ยนเรื่องที่ทำหรือกำลังสนใจได้ง่าย
  • บุคลิก​เปลี่ยนไปจากเดิมเช่น ซึมเศร้า แยกตัว เหนื่อยหน่ายการเข้าสังคม ก้าวร้าวหรือเห็นภาพหลอน

อ่านมาถึงตอนนี้ลองประเมินตัวท่านเองว่าเข้าข่ายกี่ข้อแล้วแต่คงไม่ใช่ทุกข้อเพราะอย่างน้อยท่านก็มีสมาธิอ่านหนังสือได้

การเขียนหนังสือ/บทความ/บันทึกประจำวันช่วยลดภาวะสมองเสื่อมได้อย่างไร?
1.การเขียนหนังสือ บทความ บันทึกประจำวันช่วยความจำด้านตัวเลข อักษร​ภาษา  และสัญลักษณ์​ต่างๆได้ดี  เพราะในแป้นพิมพ์มีสัญญลักษณ์​ต่างๆมากมายที่ใช้เพื่อประกอบในการเขียนหนังสือ
2.การเขียนหนังสือ บทความ บันทึกประจำวันช่วยในการวางแผนว่าจะเขียนเนื้อหาอย่างไร   ใช้ความคิดในการจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหาที่เขียน
3.การเขียนหนังสือ  บทความ บันทึกประจำวันช่วยให้มีสมาธิจดจ่อในการเขียน ไม่วอกแวก
4.การเขียนหนังสือ บทความ บันทึกประจำวันช่วยกระตุ้นสมองในการตรวจสอบเนื้อหาที่เขียนโดยใช้ทักษะการอ่านซ้ำ
5.การเขียนหนังสือ บทความ ช่วยกระตุ้นสมองในการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม  สร้างจิตนาการ ความคิดสร้างสรรค์   เพื่อให้หนังสือหรือบทความมีความน่าสนใจ
6.การเขียนบันทึกประจำวันช่วยในการรื้อฟื้นความจำในระยะสั้นคือภายใน 24 ชั่วโมง

ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ภาวะสมองเสื่อมมีแนวโน้มพบบ่อยเมื่ออายุมากกว่า65ปีแต่การใช้ทักษะด้านการเขียนหนังสือ บทความ บันทึกประจำวันสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ โดยเริ่มกระตุ้นสมองตั้งแต่อายุเกิน50ปีไปแล้ว  ใครไม่อยากมีภาวะสมองเสื่อมลองใช้เทคนิค​นี้ดูค่ะ

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

 

แชร์ให้เพื่อน

สัตว์เลี้ยง บำบัดความเหงาของเด็กปฐมวัย

แชร์ให้เพื่อน

สัตว์เลี้ยง บำบัดความเหงาของเด็กปฐมวัย

ในสังคมปัจจุบันนี้การอยู่แบบครอบครัวเดี่ยวมีมากขึ้น มีลูกคนเดียวเนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ​ ดังน้ันเด็กปฐมวัยจะไม่มีเพื่อนเล่นในการบ้าน พ่อแม่บางคนใช้วิธีเลี้ยงลูกด้วยโทรศัพท์ซึ่งมักจะมีปัญหาเด็กติดเกม ติดมือถือ สมาธิสั้น  การมีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยบำบัดความเหงาให้แก่ลูกน้อยได้
เนื่องจากเด็กปฐมวัยยังไม่เข้าเรียนหนังสือ มีกิจกรรมที่บ้านเป็นส่วนใหญ่การมืสัตว์เลี้ยงจะช่วยบำบัดความเหงาของเด็กปฐมวัยได้อย่างไร?

สัตว์เลี้ยง ช่วยบำบัดความเหงาของเด็กปฐมวัย

  • การเล่นกับสัตว์เลี้ยงจะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีความรู้สึกปลอดภัย  อุบอุ่น และเป็นมิตร
  • เด็กปฐมวัยได้รับความรักจากสัตว์เลี้ยงแบบไม่มีเงื่อนไข
  • เด็กปฐมวัยสามารถที่จะสื่อสารกับสัตว์เลี้ยงได้
  • สัตว์เลี้ยงจะช่วยให้เด็กปฐมวัยรับรู้สัมผัสเพื่อเสริมสร้างสมาธิ เนื่องจากวัยนี้จะไม่ค่อยอยู่นิ่ง
  • สัตว์เลี้ยงช่วยให้เด็กปฐมวัยก้าวออกจากโลกของตัวเอง
  • เด็กปฐมวัยเริ่มหัดพูด การมีสัตว์เลี้ยงช่วยกระตุ้นการสื่อสาร พูดคุย ของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
  • สัตว์เลี้ยงให้สัมผัสที่อบอุ่นกับเด็กปฐมวัยจากสัมผัส​ การกอด  การลูบคลำ
  • สัตว์เลี้ยงช่วยให้ชีวิตของเด็กปฐมวัยมีสีสัน​  มีความสุข และสนุกสนาน ในช่วงเวลาที่ไม่มีเพื่อนเล่น
  • สัตว์เลี้ยงช่วยให้เด็กปฐมวัยมีอารมณ์​ผ่อนคลาย
  • สัตว์เลี้ยงช่วยให้เด็กปฐมวัยมีเพื่อนวิ่งเล่นช่วยกระตุ้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่

สัตว์เลี้ยงที่นิยมเลี้ยงเพื่อบำบัดความเหงาของเด็กปฐมวัยเช่น หมา แมว กระต่าย

สิ่งที่ต้องระมัดระวังโรคหรืออุบัติเหตุที่มากับสัตว์เลี้ยง

  • การกัดหรือข่วน สัตว์เลี้ยงต้องได้รับการฉีดวัคซีน
  • โรคผิวหนัง กลาก หลังเล่นกับสัตว์เลี้ยงต้องได้รับการดูแลความสะอาดของร่างกาย

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ความเครียดกับธรรมชาติบำบัด

แชร์ให้เพื่อน

ความเครียดกับธรรมชาติบำบัด

ความเครียดเป็นภาวะของอารมณ์​หรือความรู้สึกของคนที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาหรือสิ่งเร้ารอบตัว โดยร่างกายและจิตใจจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆเช่น  มีการหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วน  ความไม่สบายใจ  วุ่นวายใจ มีความวิตกกังวล
ธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น  มี และเป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั้นๆ เช่น ต้นไม้ คน สัตว์  สภาพภูมิประเทศ ตลอดจน  สีและกลิ่นตามธรรมชาติ
เมื่อร่างกายเผชิญความเครียด ช่วงแรกจะพยายามปรับตัว ถ้าปรับตัวไม่ได้ก็จะมีอาการเจ็บป่วย  เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
ขณะที่จิตใจเผชิญความเครียด ช่วงแรกก็พยายามปรับสมดุลของจิตใจแต่เมื่อปรับไม่ได้ก็จะมีอาการซึมเศร้า เกิดความท้อแท้ในชีวิตตามมา
ฉะนั้นมนุษย์จึงเลือกสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นและมีอยู่เพื่อช่วยเยียวยาร่างกายและจิตใจ

ความเครียดใช้ธรรมชาติบำบัดอย่างไร?
1.ทะเล ชายหาด   ภูเขาต้นไม้  สายน้ำ  ลำธาร น้ำตก  ช่วยบำบัดความเครียด

ทะเล ชายหาด  ช่วยบำบัดความเครียด ทะเลเป็นแหล่งน้ำเค็มที่กว้างใหญ่ไพศาลอยู่ติดกับชายหาดมีเม็ดทราย สีขาวใสปกคลุมอยู่ เมื่อเราเดินทางไป  ชายหาดและทะเล  ประสาทสัมผัสทั้งห้าจะรับรู้ เช่น ตามองขึ้นบนท้องฟ้าและน้ำทะเลสีฟ้าคราม จมูกสูดดมกลิ่นอาย​ธรรมชาติ​  ลิ้นสัมผัสถึงความเค็มของน้ำ  หูสัมผัสเสียงคลื่นน้ำทะเลมากระทบชายฝั่ง   ผิวกายสัมผัสกับลมทะเลที่พัดผ่าน ฝ่าเท้าที่เปลือยเปล่า​สัมผัสกับเม็ดทราย ขาวละเอียด ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย สดชื่น   จิตใจโล่ง สบาย

กิจกรรมที่นิยมเพื่อบำบัดความเครียด

  • ว่ายน้ำ เล่นน้ำทะเล บานาน่าโบ๊ท สปีดโบ๊ท
  • ดูปะการังใต้ท้องทะเล
  • เดิน นั่ง นอนเล่น ขี่จักยานบนชายหาด
  • การเล่นโยคะริมทะเล
  • การถ่ายภาพไว้เพื่อรำลึกความทรงจำ

ภูเขา ต้นไม้  ช่วยบำบัดความเครียด    ภูเขาเป็นพื้นดินที่สูงกว่าบริเวณโดยรอบปกคลุมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก  ร่างกายสัมผัสถึงความสดชื่นของโอโซน​ ที่ต้นไม้ปล่อยออกมาทำให้ผ่อนคลาย สดชื่น  แจ่มใส  กลิ่นอายของทะเลหมอก สายตาสัมผัสถึงใบไม้ ใบหญ้าเขียวขจี มีทั้งต้นใหญ่ ต้นเล็กสลับเรียงรายกันไปอย่างเป็นระเบียบ

กิจกรรมที่นิยมเพื่อบำบัดความเครียด

  • การเดินป่าเพื่อชมนก ชมไม้  ส่องสัตว์
  • การกางเต็นท์​นอนกับธรรมชาติ ป่าเขา ลำเนาไพร
  • นั่งมองทะเลหมอก
  • การเล่นโยคะท่ามกลางต้นไม้
  • การถ่ายภาพไว้เพื่อรำลึก​ความทรงจำ
  • สายน้ำ ลำธาร  น้ำตก  ช่วยบำบัดความเครียด

น้ำตกเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไหลผ่านพื้นที่ลาดชัน ลงมาพื้นดินชั้นล่าง กลายเป็นสายน้ำลำธาร  ร่างกายสัมผัสความเย็น เสียง และละอองของสายน้ำ  ทำให้ร่างกายสดชื่น แจ่มใส

กิจกรรม​ที่นิยมเพื่อบำบัดความเครียด

  • เล่นน้ำตกที่เย็นจัด ตามธรรมชาติ
  • การล่องเรือตามเกาะแก่งเพื่อสัมผัส​ธรรมชาติ​โดยรอบ
  • การถ่ายภาพไว้เพื่อรำลึกความทรงจำ

2.สัตว์เลี้ยงชนิดต่างๆ ช่วยบำบัดความเครียด
สำหรับการเลือกสัตว์เลี้ยงเพื่อช่วยคลายเครียดเช่น
หมา แมว  เนื่องจากสัตว์กลุ่มนี้จะมอบความรักแบบไม่มีเงื่อนไข  รับรู้ถึงความเป็นมิตร ปลอดภัย
แต่สิ่งที่ควรระวังคือโรค อุบัติเหตุต่างๆที่มาพร้อมสัตว์เลี้ยงเช่น หมากัด แมวข่วน กลาก ท้องร่วง

กิจกรรมบำบัดความเครียด

  • การจูง การอุ้ม สัตว์เลื้ยงเพื่อเดินเล่น
  • การเล่นกับสัตว์เลี้ยง
    การนำสัตว์เลี้ยงมาช่วยเยียวยาด้านจิตในกลุ่มผู้สูงอายุ เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือทารุณกรรม  บำบัดด้วยสัตว์เลี้ยงจะช่วยให้รู้สึกปลอดภัย ได้รับความรักแบบไม่มีเงื่อนไข และเด็กสามารถสื่อสารกับสัตว์ได้ด้วย
    สัตว์เลี้ยงที่นิยมนำมาใช้บำบัดเช่น หมา  แมว  ม้า ปลาโลมา เป็นต้น
    การรับรู้สัมผัส​ที่อบอุ่น  เพิ่มความไว้ใจผู้อื่น ปลอดภัย และเป็นมิตร ช่วยให้เด็กเรียนรู้เรื่องสัมพันธภาพ​
    จะเป็นได้ว่าธรรมชาติรอบตัวเราช่วยในการบำบัดความเครียดได้ ขึ้นอยู่กับการเลือกให้เหมาะสมกับจริตของแต่ละบุคคล การมีสัตว์เลี้ยงในบ้านก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยบำบัดความเครียดได้ดีทีเดียว

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

5 กิจกรรม​คลายเครียดของวัยทำงาน (ภาค2)

แชร์ให้เพื่อน

5 กิจกรรม​คลายเครียดของวัยทำงาน (ภาค2)
ต่อจากบทความที่แล้ว

5 กิจกรรม​คลายเครียดของวัยทำงาน (ภาค1)

3.กิจกรรม​งานอดิเรก
กิจกรรมงานอดิเรกเป็นการทำในสิ่งที่ตนเองรักและชื่นชอบซึ่งแต่ละคนจะชอบไม่เหมือนกันแต่ประโยชน์เพื่อผ่อนคลายความเครียด สนุกสนานเพลิดเพลินและสุขใจ

งานอดิเรกที่นิยมทำบ่อยๆเช่น

  • การทำอาหาร ทำขนม หรือทำน้ำปั่นเพื่อสุขภาพ กิจกรรมนี้นอกจากจะช่วยผ่อนคลายแล้ว ยังอิ่มท้องด้วย
  • การจัดดอกไม้ เช่นการจัดดอกไม้ในแจกัน การจัดดอกไม้เป็นช่อ มีความสุขผ่อนคลายตั้งแต่การเดินเลือกซื้อดอกไม้ที่สวยงาม โดยจัดในห้องพระ ห้องรับแขก โต๊ะอาหาร หรือมอบดอกไม้ให้คนที่เรารัก
  • การทำ DIY เช่นการนำเสื้อผ้าที่ไม่เคยใส่หรือใส่ไม่บ่อยเรานำมาตกแต่ง เย็บปะถักร้อยเข้าไปใหม่เพื่อให้มีความสวยงามน่าใส่
  • การปลูกต้นไม้และจัดสวน
    เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบต้นไม้ ดอกไม้ เช่นต้นไม้ด่างที่ได้รับความนิยม การจัดสวนที่ตกแต่งด้วยไม้นานาชนิด มีน้ำตก บ่อเลี้ยงปลาสวยงาม ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
  • การถ่ายรูป หรือถ่ายวีดีโอในปัจจุบันมีสมาร์ทโฟน ทำให้ง่ายในการถ่ายภาพหรือวีดีโอลง tiktok หรือ youtube ยูทูบ ช่วยสร้างรายได้ได้ด้วย
  • การวาดรูป ระบายสีการวาดรูประบายสีช่วยผ่อนคลาย และสร้างจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ มีสติและสมาธิมากขึ้น


4.กิจกรรม​ทางสังคม
เป็นกิจกรรมที่คนในสังคมร่วมกันจัดขึ้น  เน้นการรวมตัวกันของบุคคล ทำให้เกิดสัมพันธภาพ​อันดีต่อกัน เช่น  กิจกรรมงานแต่งงาน  งานบวช  งานทอดกฐิน​ ทอดผ้าป่า  งานเลี้ยงวันเกิด  ซึ่งมีประโยชน์หลายอย่างได้แก่

  • ได้รับความสนุกสนาน  เกิดความสุขในชีวิ
  • ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • สร้างความรัก สามัคคี​  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน ในชุมชน
  • ช่วยให้มีสุขภาพจิตดี
  • ช่วยผ่อนคลายความเครียดจากกิจวัตรประจำวันและการทำงาน


5.กิจกรรม​การพัฒนาจิตและนั่งสมาธิ
การฟังธรรมและนั่งสมาธิ ถือว่าเป็นมงคลของชีวิต
ช่วยส่งเสริมให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า

หลักการพัฒนาจิตของพุทธศาสนิก​ชนมี 5 ท่า
1.การไหว้พระสวดมนต์ การไหว้พระสวดมนต์ส่วนใหญ่แล้วจะทำก่อนนอน  หรือเข้าวัดทำบุญในวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ เช่น วันพระ  วันเข้าพรรษา
วันออกพรรษา​  เป็นต้น ช่วยผ่อนคลายจิตใจ
มีสมาธิ 

2.ปฏิบัติ​ตามศีล 5 เป็นประจำ

  • ห้ามฆ่าสัตว์
  • ห้ามลักทรัพย์
  • ห้ามพูดปด
  • ห้ามประพฤติ​ผิดในกาม
  • ห้ามดื่มสุราเมรัย และเล่นการพนัน

3.การนั่งสมาธิ
เป็นการฝึกปฏิบัติใช้ความตั้งมั่น  จดจ่อและแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง​ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  ทำให้รู้สึกตัว สงบและมีสติตลอดเวลา

4.การเดินจงกรม
เป็นการเดืนอย่างมีสติเริ่มตั้งแต่การยกเท้า ก้าวย่าง และเหยียบลงพื้นเดินกลับไปกลับมา เป็นการปฏิติให้รู้ว่าการทำกิจกรรมอะไรต้องมีสติตลอดเวลา

5.การใช้อุปกรณ์ลูกปะคำเพื่อพัฒนาจิต
การนับปะคำเป็นการฝึกสมาธิแบบหนึ่ง การนับปะคำเป็นการน้อมใจเพื่อรำลึกคุณของพระพุทธ​  พระธรรม และพระสงฆ์​ ใช้ลูกปะคำจำนวน 108 ลูก พร้อมกับการสวดมนต์

5 กิจกรรม​คลายเครียดของวัยทำงาน (ภาค1)

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

5 กิจกรรมคลายเครียดของวัยทำงาน (ภาคที่1)​

แชร์ให้เพื่อน

5 กิจกรรมคลายเครียดของวัยทำงาน (ภาคที่1)​

ความเครียดเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆมากมายเช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจ​ขาดเลือดเฉียบพลัน โรคความดันโลหิตสูง โรคเครียดจากการทำงาน วัยทำงานเป็นวัยที่มีความรับผิดชอบสูงทั้งความรับผิดชอบในหน้าที่การงานและรับผิดชอบในครอบครัว ฉะนั้นจึงต้องมีกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียดเช่น

กิจกรรมที่ช่วยคลายเครียดในวัยทำงานมีดังต่อไปนี้


1.กิจกรรมการออกกำลังกาย การออกกำลังในวัยทำงานควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและความสนใจเฉพาะบุคคล เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายได้ยืดกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อต่างๆ
ช่วยเผาผลาญ​พลังงานส่วนเกินในร่างกาย ลดภาวะอ้วนได้ การออกกำลังกาย​ที่แนะนำกับวัยทำงานเช่น

  • การว่ายน้ำ การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวทุกส่วนของร่างกายพร้อมๆกันและยังช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้นด้วย และน้ำใช้ในโปรแกรม​การบำบัดโรค​ได้ เหมาะสำหรับประเทศเขตร้อนอย่างไทย
  • การขี่จักรยาน​ การขี่จักรยาน​นอกจากจะช่วยให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรงแล้วยังช่วยให้มีกลุ่มเพื่อนที่สนใจในกิจกรรม​การขี่จักรยาน​ด้วย
  • ฟิตเนส​ ฟิตเนส​เป็นการออกกำลังกายในร่มมีอุปกรณ์ต่างๆ มากมายให้เลือก ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ระบายเหงื่อ ลดความเหนื่อยล้า เหมาะสำหรับวัยทำงานที่อยู่อาศัย​ในเมือง แต่มีค่าใช้จ่ายสูง
  • โยคะ โยคะเป็นการออกกำลังกาย​ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ ใช้อุปกรณ์น้อย แค่มีเสื่อโยคะหนึ่งใบก็ออกกำลังกายได้ ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ช่วยบำบัดโรคบางชนิดได้ ช่วยควบคุมอารมณ์​ ปอดขยายตัวได้ดี เหมาะกับเพศหญิง​และ​เพศชาย
  • การวิ่งออกกำลังกาย แอโรบิค​ นับเป็นการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ทุกที ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สนุกสนาน เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย

2.กิจกรรมการท่องเที่ยว สันทนาการ​
การท่องเที่ยวเป็นการเดินทางเพื่อเปิดมุมมองของชีวิต ได้พบเจอสิ่งแวดล้อมใหม่ สังคมใหม่ วัฒนธรรม​ขนบธรรมเนียม​ประเพณี​ที่แตกต่างหลากหลาย อาหารการกินที่แตกต่างออกไป แหล่งท่องเที่ยวได้รับความนิยม

  • สถานบันเทิงเริงรมย์​ต่างๆ เหมาะกับ​วัยทำงาน เพื่อดื่มกินและฟังเพลง
  • ภูเขา ทะเล น้ำตก เหมาะสำหรับบุคคลที่ต้องการท่องเที่ยวในเชิงธรรมชาติ การกางเต้นเพื่อต้องการสัมผัส​ธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์​ ซึ่งเมืองไทยมีสถานที่ท่องเที่ยว​มากมายเช่น ภูกะดึง เกาะเสม๊ด เกาะช้าง หมู่เกาะสิมิลัน น้ำตกสาริกา
  • การท่องเที่ยวเพื่อช้อปปิ้ง ตามห้างสรรพสินค้า​ เช่น สยามพารากอน เมกะบางนา มาบุญ​ครอง​ ห้างเซนทรัล​ โรบินสัน​ มีเสื้อ กระเป๋า สินค้าให้จับจ่ายใช้สอยมากมาย
  • การท่องเที่ยวตามวัดวา อารามต่างๆ เหมาะสำหรับสายทำบุญ ฝึกสมาธิ ฟังความ ช่วยจรรโลงใจ​
  • การท่องเพื่อรับประทานอาหาร เหมาะสำหรับสายกินเช่น เที่ยวเกาะเกร็ด​ เที่ยวสวนผลไม้

ถ้าสนใจบทความ โปรดติดตาม​กิจกรรม​คลายเครียดของวัยทำงานภาค 2. ค่ะ

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน​ อันตรายมากกว่าที่คิด!!!

แชร์ให้เพื่อน

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน​ อันตรายมากกว่าที่คิด!!!

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน​เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของไทยและของโลก คิดเป็น 16 เปอร์เซ็นต์​และมีอัตราเพิ่มขึ้น 4 เท่า
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ทำให้ตายภายในหนึ่งชั่วโมงหลังมีอาการ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาด​เลือด​เฉียบพลัน​คือ ภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือด​ไม่สามารถ​ไป​เลี้ยง​กล้ามเนื้อ​หัวใจ หัวใจขาดเลือดและออกซิเจน​ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน​มักเกิดขึ้นทันทีทันใด​ขณะทำกิจวัตรประจำวัน​ ทำงาน ออกกำลังกาย สาเหตุเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวและเลือดตกตะกอนเป็นตะกรัน​และมีการหลุดของตะกรันเข้าสู่กระแสเลือดที่หัวใจ เกิดการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้เสียชีวิตเฉียบพลันภายในหนึ่งชั่วโมง ซึ่งครึ่งหนึ่งของการเสียชีวิตไม่เคยแสดงอาการมาก่อน

อาการและอาการแสดงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

  • อาการจุกแน่นหน้าอก
  • เหงื่อออก ใจสั่น
  • ปวดร้าวไปที่กราม สะบักหลัง แขนซ้าย จุกคอหอย
  • มีอาการจุกใต้ลิ้นปี่ คล้ายกรดไหลย้อนหรือโรคกระเพาะอาหาร
    หากมีอาการดังกล่าวต้องรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย​และรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด​เฉียบพลัน​

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันคือ

  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันสัตว์ เนย ผลิตภัณฑ์​จากนมที่ไม่พร่องมันเนย การรับประทานอาหารกลุ่ม​นี้ทำให้เกิดการสะสมของไขมันที่ผนังของหลอดเลือดได้
  • ภาวะอ้วน หรือน้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้หัวใจทำงานหนัก เพื่อบีบตัวส่งเลือดและออกซิเจน​ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
  • ความเครียด
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • พฤติกรรม​การสูบบุหรี และดื่มแอลกอฮอล​์ เป็นประจำ
  • มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อ​หัวใจ​ขาดเลือด​เฉียบพลัน​มีดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง หรือรับประทานปริมาณ​น้อยลง ควรรับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นในแต่ละมื้อ
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐานร่วมกับการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายเป็นประจำ สัปดาห์​ละ 3-5 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้หัวใจสูบฉีดโลหิตได้ดี ลดความเสี่ยงการเกิดโรคอื่นๆด้วย
  • หลีกเลี่ยงอารมณ์​เครียด ควบคุมอารมณ์​ ทำจิตใจให้แจ่มใส​ ผ่อนคลายอารมณ์​เครียดด้วยกิจกรรมนันทนาการ​เช่น ดูหนัง ฟังเพลง วาดภาพ ปลูกต้นไม้ เล่นกีฬา
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่​และดื่มแอลกอฮอล​์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล​์เป็นเวลานานทำให้มีไขมันสะสมในเลือดสูง
  • กลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ต้องควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด ให้อยู่ในช่วงปกติ
  • ตรวจสุขภาพ​ประจำปี​ ควรเลือกโปรแกรมการตรวจสุขภาพให้เหมาะสมกับช่วงวัยเพื่อคัดกรองได้เร็วขึ้น

ถึงแม้ว่าโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด​เฉียบพลัน​มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงแต่ก็สามารถป้องกันด้วยการปฏิติตัวอย่างถูกต้อง เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด​เฉียบพลัน​ ร่วมกับการตรวจสุขภาพประจำปี​

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

การวาดภาพกระตุ้นพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก

แชร์ให้เพื่อน

การวาดภาพกระตุ้นพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก

การวาดภาพคือการถ่ายทอดอารมณ์​ส่วนตัวของบุคคลออกมาบนวัตถุ​ชนิดต่างๆเช่น กระดาษ  ผ้า อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้  ตึกรามบ้านช่อง​ ไม่ว่าจะเป็น การ์ตูน ภาพเหมือนคน  ภูเขา ธรรมชาติ  ภาพลายเส้น เป็นต้น
การวาดภาพเป็นกิจกรรมเดี่ยว หรือกลุ่ม เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย กระตุ้นจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์​
ขอยกตัวอย่างภาพวาดที่โด่งดังชิ้นโบว์แดง​เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วโลกคือ Mona Lisa ซึ่งลีโอนาโด ดาวิน​ชี​เป็นผู้วาด เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์​ลูฟร์ ในกรุงปารีส​
ซึ่งคนแห่มาเยี่ยมชมปีละ 6 ล้านคนเลยทีเดียว

การวาดภาพกระตุ้นพัฒนาและการเรียนรู้ได้อย่างไร?

  • กระตุ้นพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แข็งแรง
  • ช่วยพัฒนาสมองซีกขวา
  • ฝึกสมาธิ  อารมณ์สงบ ไม่วอกแวก​จดจ่อกับภาพที่วาด
  • สร้างจินตนาการแสดงออกมาเป็นภาพวาด
  • ฝึกให้มีความคิดสร้างสรรค์
  • ส่งเสริมทักษะด้านภาษาและคลังคำศัพท์ภาษาไทยและอังกฤษ
  • ช่วยให้ระบายอารมณ์​และความรู้สึกออกมาผ่านทางรูปภาพ 
  • ใช้ภาพวาดในการวิเคราห์ทางจิตวิทยาได้
  • ส่งเสริมกระบวนการคิดและตัดสินใจโดยใช้อารมณ์​  จินตาการ  และความคิดสร้างสรรค์ ร่วมกัน
  • มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
  • เป็นการส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัว หรือเพื่อนๆ
  • เบื่ยงเบนความสนใจจากการเล่นโทรศัพท์​ สื่อออนไลน์​
  • ส่งเสริมทักษะ​ด้านการสื่อสารโดยให้เด็กเล่า  บรรยาย อธิบาย ภาพวาดจากจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์​ มาเป็นคำพูด  หรือการเขียน
  • สร้างรายได้ เช่น อิโมจิ น่ารักๆ ที่ส่งในไลน์ต่างๆ
  • การ​วาดภาพ​บนวัตถุเช่น แก้ว แจกัน เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ ช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้ด้วย

จะเห็นได้ว่ากิจกรรม​การวาดภาพนั้นมีประโยชน์มากมาย นอกจากจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้แล้วยังสร้างรายได้ได้ด้วย และสามารถยึดเป็นอาชีพหลักได้เลย ไม่แน่นะลูกๆอาจเป็นศิลปินที่โด่งดัง​ในอนาคต

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ดินน้ำมัน ของเล่นที่คุ้มค่า เกินราคากว่าที่คิด

แชร์ให้เพื่อน

ดินน้ำมัน ของเล่นที่คุ้มค่า เกินราคากว่าที่คิด

กิจกรรมการปั้นดินน้ำมัน เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย แต่ที่ได้รับความนิยมก็หนีไม่พ้นเด็กๆ ปฐมวัย
ดินน้ำมันเป็นว้สดุที่สร้างขึ้นมาแทนดินเหนียว  เก็บรักษาได้ง่าย นำกลับมาใช้ได้หลายครั้ง เหมาะสำหรับการเล่นของเด็กๆ  ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ฝึกฝีมือและทำงานศิลปกรรม เสริมสร้าง จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
ในปัจจุบันนี้เด็กนั่งดูสื่อออนไลน์​ผ่านมือถือ หรือแท็บเล็ต​ เป็นส่วนใหญ่ ผู้ปกครองควรมองหากิจกรรมที่ช่วยสร้างเสริมพัฒนาการและลดเวลาการใช้มือถือลง กิจกรรมการปั้นดินน้ำมันก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะ หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง เก็บไว้เล่นได้หลายครั้ง

การปั้นดินน้ำมันมีประโยชน์มากกว่าที่คิด

1.การบีบ นวด คลึง ปั้นเป็นก้อน รูปทรงชนิดต่างๆ

  • ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อแขน มือ นิ้ว ให้แข็งแรงปูพื้นฐานก่อนการเขียนหนังสือ
  • กระตุ้นการเรียนรู้เรื่องรูปทรง สี และการนับจำนวน การบวก ลบ ได้
  • เสริมทักษะด้านภาษาไทยและอังกฤษในด้านแยกแยะสี รูปทรง

2.การปั้นเป็นรูปสัตว์หรือ ผลไม้  ต้นไม้ชนิดต่างๆ

  • ช่วยเสริมสร้างจินตนาการของเด็ก
  • ฝึกสมาธิ จอจ่อในการปั้น
  • ได้เรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์ ผลไม้ ต้นไม้ และอื่นๆ
  • สร้างความเพลิดเพลินสนุกสนาน ผ่อนคลายอารมณ์​
  • สร้างความภาคภูมิใจในผลงานที่ปั้น มีความสุขใจ
  • การปั้นดินน้ำมันช่วยเบี่ยงเบนความสนใจจากการเล่นมือลงได้

3.นำผลงานที่ปั้นมาตกแต่งเพิ่มเติมเช่น จัดเป็นบ้านสวน สนามเด็กเล่น หรือตามจินตนาการของเด็ก

  • กระตุ้นด้านความคิดสร้างสรรค์​
  • ส่งเสริมการเล่นเป็นกลุ่มโดยนำผลงานแต่ละคนการแต่งเติมเสริมแต่งตามที่เด็กชอบ
  • ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้กฏกติกาการเล่นกับเพื่อน
  • สามารถสร้างสัมพันธภาพ​ในครอบครัวได้ โดยชวนกันปั้นเป็นรูปต่างๆและตกแต่งร่วมกัน

การเลือกซื้อดินน้ำมัน

  • เลือกให้เหมาะกับวัยของเด็ก
  • ปลอดภัยจากสารพิษ
  • ล้างทำความสะอาดและเก็บรักษาได้ง่าย
  • เลือกชุดที่มีสีหลากหลาย

การปั้นดินน้ำมันจัดเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ที่หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง คุ้มเกินราคาจริงๆ

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน