6 วิธีง่ายๆแก้อาการเมาค้างจากแอลกอฮอล์​

แชร์ให้เพื่อน

6 วิธีง่ายๆแก้อาการเมาค้างจากแอลกอฮอล์​

มนุษย์​เป็นสัตว์สังคม ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีความสัมพันธ์​  อาศัยพึ่งพากัน การปาร์ตี้เป็นการผ่อนคลายความเครียดอย่างหนึ่ง  แอลกอฮอล์​จึงเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายแต่มีกฏหมายจราจรกำหนดไม่ให้มีแอลกอฮอล์​เกิน 50 มิลลิกรัม​ขณะขับขี่ยานพาหนะ​เพื่อการป้องกันอุบัติเหตุ​ทางท้องถนน

เมาค้างคืออาการของคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์​เป็นส่วนผสมปริมาณ​มากเกินไปเช่น เหล้า เบียร์​ไวน์  อาการที่พบบ่อยคือ ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อตามร่างกาย  กระหายน้ำ คลื่นไส้​  อาเจียน  นอนหลับไม่สนิท  ไม่มีสมาธิ ชีพจรเต้นเร็ว

“แอลกอฮอล์​เป็นต้นเหตุหลักของอาการเมาค้าง”

แอลกอฮอล์​เป็นสารที่ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางและคลายกล้ามเนื้อ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะมีการดูดซึมเข้าสู่สมองหลายส่วน  ทำให้ผู้ที่ได้รับแอลกอฮอล์​จะแสดงอาการดังต่อไปนี้

1.สมองส่วนหน้า หากดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณ​มากเกินไปทำให้การตัดสินใจผิดพลาด ขาดความยับยั้งชั่งใจ บุคลิกภาพ​เปลี่ยนไป  ควบคุมสติไม่ได้

2.สมองส่วนความจำแอลกอฮอล์​ส่งผลให้ ความจำลางเลือน ลืมเหตุการณ์ต่างๆชั่วคราว หรือความทรงจำที่เก็บซ่อนไว้จะเปิดเผยออกมา

3.สมองส่วนที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิ​ร่างกาย ความดันโลหิต ความหิว เมื่อได้รับแอลกอฮอล์​เข้าไปเกิดอาการเมาค้างทำให้รู้สึกกระหายน้ำมาก หัวใจเต้นเร็วขึ้น หิวง่าย นอนหลับไม่สนิท  อาการตัวร้อนเหมือนมีไข้

4.สมองส่วนที่ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย เมื่อแอลกอฮอล์​เข้าสู่ร่างกาย อาการเมาค้างทำให้
การทรงตัวลำบาก เดินเซ  ควบคุมทิศทางของการเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้  ชนสิ่งต่างๆได้


เมื่อเกิดอาการเมาค้างจากแอลกอฮอล์​ต้องทำอย่างไร?
อาหารและเครื่องดื่มใกล้ตัว ตามร้านสะดวกซื้อช่วยได้ ซึ่งเปิดตลอด 24 ชั่วโมงเช่น

1.การดื่มน้ำเปล่า  หรือน้ำผลไม้บ่อยๆช่วยได้เพราะน้ำเป็นตัวกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะ ช่วยขับสารตกค้างจากแอลกอฮอล์​ออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น และช่วยชดเชยจากร่างกายขาดน้ำ  ช่วยระบายเหงื่อความร้อนออกทางผิวหนัง

2.การดื่มชา   ชาร้อนๆช่วยได้ เนื่องจากชาจะช่วยเร่งการขับปัสสาวะออกพร้อมสารจากแอลกอฮอล์​ได้บางส่วน

3.ดื่มนมอุ่นๆ ช่วยให้ร่างกายได้พลังงานและลดกระหายน้ำ

4.รับประทานอาหารอ่อนเช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ซุป​ ก๋วยเตี๋ยว​ร้อน ๆช่วยให้ร่างกายได้รับกลูโคส ลดอาการเมาค้างได้บ้าง

5.เครื่องดื่มวิตามินชนิดน้ำต่างๆ  ตามร้านสะดวกซื้อช่วยได้เนื่องจากมีน้ำเป็นส่วนประกอบช่วยระบายเหงื่อและความร้อน

6.ถ้ามีอาการปวดศรีษะ  ตัวร้อนสามารถเช็ดตัวลดความร้อนร่วมกับการรับประทานยาแก้ปวดได้ เช่นยาแอสไพริน​ ยาบรูเฟน  ควรระมัดกับผู้แพ้ยาดังกล่าว

การดื่มแอลกอฮอล​์ในปริมาณมากและติดต่อกันต่อเนื่องนั้นเกิดผลกระทบต่อสมอง และตับ ส่งผลทำให้เกิดภาวะ สมองเสื่อม และเป็นตับแข็งได้ แต่เนื่องจากแอลกอฮอล์​ส่งผลต่อการยับยั้งชั่งใจ ทำให้ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์​ต่อเนื่องจนเกินที่ร่างกายจะขับออกได้ทัน ทำให้พิษสะสมและเมาค้างได้

หากต้องสังสรรค์​เพื่อเข้าสังคมการปฏิบัติตัวเพื่อช่วยป้องกันและลดอาการเมาค้างที่รุนแรงได้คือ
1.ควรดื่มแอลกอฮอล์หลังรับประทานอาหาร
2.ขณะดื่มแอลกอฮอล​์ควรรับประทานอาหารขบเคี้ยวเช่น ถั่วชนิดต่างๆ เพื่อให้ร่างกายได้พลังงาน และดื่มน้ำเปล่าเพื่อช่วยเจือจางและขับออก
3.ตั้งสติ ก่อนสตาร์ต​ ให้ระลึกไว้เสมอว่าการดื่มแอลกอฮอล์​มากเกินไปส่งผลให้แอลกอฮอล์​ในเลือดเกินกำหนด ผิดกฎหมายจราจร​ เสี่ยงต่ออุบัติเหตุตามท้องถนน ทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกาย ทรัพย์สิน และส่งผลต่อปัญหาสังคมตามมาได้

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

โควิด19 ส่งผลต่อด้านสาธารณสุข​และการท่องเที่ยว อย่างไรบ้าง?(ตอนที่3)​

แชร์ให้เพื่อน

โควิด19 ส่งผลต่อด้านสาธารณสุข​และการท่องเที่ยว อย่างไรบ้าง?(ตอนที่3)​

จาก​สถานการณ์​ระบาดโควิด19ที่ผ่านมามีผลกระทบกับสุขภาพของคนและขีดความสามารถของโรงพยาบาล  โดยจัดเตรียมโรงพยาบาลสนามหลายแห่ง  พบผู้ติดเชื้อมากขึ้นและเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง
โรงพยาบาลต้องระมัดระวังการแพร่กระจ่ายเชื้อจากผู้ป่วยสู่บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยด้วยกันเอง ทำให้ผู้ป่วยเรื้อรัง และเร่งด่วนได้รับผลกระทบค่อนข้างมากเช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เอชไอวี  และกลุ่มจิตเวชเรื้อรังต้องดูแลตนเองที่บ้านและรับยาทางไปรษณีย์
ผลกระทบด้านสุขภาพจิต เช่น คนมีความเครียด ซึมเศร้า หรือฆ่าตัวตาย ทั้งนี้ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งทำงาน เกิดความเครียด

ผลกระทบต่อด้านสาธารณสุข​

1.ขาดแคลนโลหิต  เนื่องผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเช่นสัมผัสโรคโควิด19หรือมาจากต่างประเทศ จะงดการบริจาค​เลือด 28 วันนับจากวันสัมผัสโรค  ผู้ที่หายจากโรคจะงดบริจาคโลหิต 180 วัน นับจากวันที่หายจากโรคส่งผลต่อระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยอุบัติและฉุกเฉิน ขาดแคลนเลือดกลุ่มต่างๆโดยเฉพาะกลุ่มเลือดที่ขาดแคลนอยู่ยิ่งขาดแคลนเพิ่มมากขึ้น

2.เสียโอกาสในการดูแลรักษา
เนื่องจากบุคลากร​ทางการแพทย์มีจำกัดเมื่อเกิดการระบาดขึ้นทำให้ต้องใช้บุคคลากร​ทางแพทย์ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ต้องเลื่อนนัด กรณีที่เลื่อนนัดได้ การผ่าตัดเล็กน้อย ถูกเลื่อนออกไป กลุ่มที่ต้องใช้ยาเคมีบำบัดต้องเลื่อนออกไปเช่นกัน รวมถึงผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังต่าง ขาดการติดตามการรักษาต่อเนื่อง  การควบคุมโรคได้ไม่ดี ส่งผลให้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มดังกล่าว

มิติใหม่ของวงการแพทย์หลังระบาดโควิด 19

มีการปรับเปลี่ยนการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ เช่น มีการใช้เอไอมาใช้ประโยชน์ ช่วยในการคัดกรองเบื้องต้น ช่วยตรวจจับโรคอุบัติใหม่ได้อย่างรวดเร็ว
1.การนำเอไอมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เช่นการใช้เอไอตรวจสแกนใบหน้าผู้ป่วยเพื่อตรวจอุณหภูมิร่างกายเพื่อคัดกรองเบื้องต้นโดยไม่ต้องสัมผัส​ผู้ติดเชื้อโดยตรง
2.เอไอช่วยเร่งให้ค้นพบยารักษาโรคทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งใช้เวลาเพียง12เดือนจากปกติที่ยาทั่วไปต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปีเลยทีเดียวจึงสามารถนำมาทดลองกับมนุษย์ได้
3.มีชุดทดสอบไวรัสโควิด19 จำหน่ายอย่างแพร่หลายตามร้านขายยาทั่วไปและร้านสะดวกซื้อต่างๆ
4.มีการพัฒนาระบบการให้บริการทางไกลโดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล พร้อมกับการเจริญเติบโตของโซเชียล มีเดีย สมาร์ทโฟนและเทคโนโลยี่​คลาวด์เป็นตัวเร่งให้การดูแลสุขภาพ มีความสะดวกสบาย ความโปร่งใสและการเข้าถึงการบริการได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

5.การแพทย์แบบเฉพาะเจาะจง โดยอาศัยข้อมูลทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อม และรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้ป่วยแต่ล่ะรายเพื่อค้นหาสาเหตุและกำหนดแนวทางการดูแลรักษาเฉพาะรายเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด แทนที่การใช้วิธีการรักษาเหมือนกันหมด เช่นการใช้สมาร์ทโฟน​ช่วยติดตามและเก็บข้อมูลทางสุขภาพเชิงลึกเพื่อเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวีธีการรักษาที่ให้ผลลัพธ์ดียิ่งขึ้น


ผลกระทบต่อการท่องเที่ยว

จากการระบาดโควิด19ทำให้พฤติกรรมการทำงานของคนเปลี่ยนไป โดยทำงานจากที่ใดก็ได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเช่นกัน
ในปัจจุบันหลังโควิดคนจะใช้สถานที่อยู่อาศัย ทำงาน และท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจเป็นสถานที่เดียวกัน
การนำเทคโนโลยี่มาช่วยในการให้บริการและอำนวยความสะดวกในขั้นตอนการเดินทาง ทั้งในการเช็คอิน ชำระเงิน
เน้นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากยิ่งขึ้น คนไม่พลุกพล่าน​ เงียบสงบ อากาศบริสุทธิ์​ เช่น บ้านพักตามทุ่งนา ภูเขาที่เงียบสงบ ชายหาดที่ไม่มีคน

อย่างไรเสียสถานการณ์​หลังโควิด ส่งผลให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการรักษาทางการแพทย์ที่ดีขึ้นและไม่ได้ทำให้คนท่องเที่ยวน้อยลงแต่จะทำให้คนมีสติต่อสิ่งต่างๆรอบๆตัวโดยเฉพาะในเรื่องของความสะอาดและสุขอนามัยจะมีมากยิ่งขึ้น

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี กับปีแห่งการท่องเที่ยวในวิถี New Normal

แชร์ให้เพื่อน

สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี กับปีแห่งการท่องเที่ยวในวิถี New Normal

เมื่อสถานการณ์​อันเลวร้าย​ผ่านพ้นไป เทศกาล​แห่งการท่องเที่ยว​ก็กลับเข้ามาแทนที่   มนุษย์​เป็นสัตว์สังคม การเดินทางพบเห็นสิ่งแปลกใหม่ด้านวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกันออกไป   เปิดมุมมองใหม่ๆให้ชีวิต  จึงเป็นความต้องการของชีวิต เป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้รู้สึกมีความสุข  ผ่อนคลายความเครียดจากกิจวัตรประจำ  มีความสุขทางใจในการพบปะเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง ฉะนั้นเราจะมีสุขภาพที่ดีพร้อมกับการเดินทางท่องเที่ยวในวิถีชีวิตNew Normal ต้องคำนึงถึงสิ่งดังต่อไปนี้

1.ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ
. ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและเต็มที่  ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล​หรือยาแก้แพ้ที่อาจทำให้เกิดอาการง่วงได้
.การรับวัคซีนกระตุ้นกรณีต้องเดินทางไปในประเทศปลายทางที่มีความเสียงของโรคอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ โดยการปรึกษาแพทย์หรือคลินิคที่เกี่ยวข้อง   โดยเฉพาะวัคซีนโควิด19 ในปัจจุบัน
.รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย  รสไม่จัดเพราะเสี่ยงอาหารไม่ย่อยและท้องเสีย อาหารเป็นพิษ เป็นอุปสรรคในการเดินทางได้
.การใส่ใจเรื่องความสะอาด   ถูกสุขอนามัย การล้างมือ คำนึงถึงปัจจัยต่างๆในการลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อโรคโควิด19 ที่อาจกลับมาแพร่ระบาดได้อีก
.สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน ควรส่วมใส่​เสื้อผ้าและรองเท้าที่สบาย


2.ด้านอาหารการกิน
.การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์นอกจากจะถูกสุขลักษณะแล้ว สิ่งที่จำเป็นต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากคือ กลุ่มบุคคลที่แพ้อาหาร ชนิดต่างๆเช่น อาหารทะเล  ถั่ว  นม  เนย
การสั่งอาหารรับประทานต้องใส่ใจสอบถามถึงส่วนผสมของอาหารเพราะการแพ้ที่มีความรุนแรงอาจส่งผลต่อชีวิตได้
เนื่องจากในปัจจุบันมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร จึงมีเมนูอาหารที่หลากหลายแปลกใหม่เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเลือกรับประทาน
.การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอย่างน้อยวันล่ะ6-8 แก้ว


3.ด้านยารักษาโรคและวัคซีน
.การเตรียมความพร้อมด้านยารักษาโรคสำหรับคนที่มีโรคประจำตัว  ควรเตรียมให้เพียงพอกับวันเดินทางไปกลับและสำรองเพิ่มเติมอีก2-3วัน  พกใบสั่งยาติดตัวไว้ตลอดเวลา โดยถือขึ้นเครื่องสำหรับการเดินทาง ไม่ควรใส่สัมภาระโหลดกระเป๋าเดินทาง
.การเตรียมด้านยารักษาโรคทั่วไปเช่น
ยาแก้ท้องเสียคาร์บอน เกลือแร่   ยาลดกรด แก้ท้องอืด  ยาแก้แพ้  ยาแก้เมารถ เมาเรือ   ยาแก้ปวดลดไข้  น้ำเกลือ แอลกอฮอล์​  เบต้าดีน ผ้าก๊อซ พลาสเตอร์​ยา
.การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์การตรวจ ATK เพื่อคัดกรองเบื้องต้น และอุปกรณ์ป้องกันเช่นหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์​


4.ด้านประกันการเดินทาง
การเลือกประกันเดินทางที่เหมาะสมนับเป็นการบริหารความเสี่ยงอย่างหนึ่ง ประกันจะช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลและชดเชยกรณีการเสียชีวิตจากการเดินทางได้ ซึ่งเมื่อเทียบกับเบี้ยประกันที่จ่ายกับการชดเชยที่ได้ตามเงื่อนไขของประกันถือว่ามีประโยชน์อย่างมาก

5.ด้านความปลอดภัย ห่างไกลจากโควิด19
.การสวมใส่หน้ากากอนามัย  หลีกเลี่ยงในสถานที่ที่แออัด  หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
.เน้นใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือแทนการจับต้องเงินสด เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อโรค
.เลือกที่พักร้านอาหารหรือคาเฟ่ที่ได้มาตรฐาน เน้นความสะอาดเป็นหลัก
.เมื่อกลับเข้าที่พักอาศัย ควรอาบน้ำและทำความสะอาดร่างกายทันที ร้องเท้าควรอยู่นอกบ้าน ล้างมือและสระผม หน้ากากอนามัยควรใส่ถุงมัดปากให้เรียบร้อยก่อนทิ้ง กระเป๋า มือถือ แว่นตา หมั่นทำความสะอาดบ่อยๆ

ตั้งแต่โควิด 19 ระบาดที่ผ่านมา การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่ปลอดภัยและมีสุขภาพจิตที่ดีการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มนุษย์​มีความสุขทั้งทางกายและจิตใจ
ความสุขด้านจิตใจจากการท่องเที่ยว  เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ​และความทรงจำที่แสนดี  เช่นการนั่งมองพระอาทิตย์ตกดิน​ยาม ที่มากระทบหน้าเรา อาจทำให้เราทบทวนถึงอดีตที่ผ่านมา ที่มีทั้งทุกข์และสุขพร้อมที่จะก้าวเดินทางไปข้างหน้าต่อไปในการเดินทางท่องเที่ยวกับสถานที่ใหม่อย่างไม่จบสิ้น

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

นวดแผนไทย  ช่วยคลายอาการออฟฟิศซินโดรม

แชร์ให้เพื่อน

นวดแผนไทย  ช่วยคลายอาการออฟฟิศซินโดรม

อาการออฟฟิศ​ซินโดรม เป็นปัญหาสุขภาพของวัยทำงาน ที่เกิดจาก การใช้กล้ามเนื้อต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์​ โทรศัพท์มือถือ การทำงานบ้านประจำ  มีอาการ ปวดบ่า ต้นคอร้าวขึ้นศีรษะปวดกระบอกตา  วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย  ชาแขนและปลายนิ้ว  กล้ามเนื้อตึง  แข็งเป็นก้อน
  การป้องกันและบำบัดอาการออฟฟิศ​ซินโดรม ด้วยการนวดแผนไทยก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  ซึ่งเป็นวิธีการบำบัดเบื้องต้นมาช้านานและ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน   มีงานวิจัยด้านการแพทย์ระบุว่า การนวด และประคบสมุนไพร ช่วยบำบัดอาการออฟฟิศ​ซินโดรมได้  โดยช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว  กล้ามเนื้อยืดหยุ่นดีขึ้น  ลดอาการแข็งตึง ยึดติด  ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น  ร่างกายผ่อนคลาย  ควรนวดจากผู้ที่มีทักษะประสบการณ์​ในการนวดแผนไทย

นอกจากการนวดแล้วยังมีการบริหารร่างกายเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และข้อต่อ ที่ช่วยป้องกันและลดอาการ ปวดกล้ามเนื้อ  คอบ่าไหล่ ได้แก่

1.ท่าชูหัตถ์​วาดแขนขวา โดยการวาดแขนขวาไปที่หัวไหล่ซ้าย  เอียงศรีษะไปทางขวาเล็กน้อย ใช้อุ้งมือขวาบีบกล้ามเนื้อ แล้วคลายออก ทำสลับบีบคลายประมาณ1-2นาที  หลังจากนั้นชูแขนซ้ายขึ้นเหนือศรีษะ​พร้อมสูดหายใจเข้าช้าๆลึกๆ ค่อยๆลดแขนลงพร้อมหายใจออกทางปากช้าๆ ทำ 20 ครั้งต่อรอบ ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่ซ้ายคลายตัว ช่วยให้ปอดขยายตัว การแลกเปลี่ยนอากาศหายใจดีขึ้น เลือดไหลเวียนดีขึ้น

2.ท่าชูหัตถ์​วาดแขนซ้าย โดยการวาดแขนซ้ายไปที่หัวไหล่ขวา  เอียงศรีษะไปทางซ้าย เล็กน้อย ใช้อุ้งมือซ้ายบีบกล้ามเนื้อ แล้วคลายออก ทำสลับบีบคลายประมาณ1-2นาที  หลังจากนั้นชูแขนขวาขึ้นเหนือศรีษะ​พร้อมสูดหายใจเข้าช้าๆลึกๆ   ค่อยๆลดแขนลงพร้อมหายใจออกทางปากช้าๆ ทำ 20 ครั้งต่อรอบ ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่ขวาคลายตัว ช่วยให้ปอดขยายตัว การแลกเปลี่ยนอากาศหายใจดีขึ้น เลือดไหลเวียนดีขึ้น

3.ท่าบิดขี้เกียจ โดยการยกแขนซ้ายไปข้างหน้า ใช้แนขวาเกี่ยวแขนซ้าย ค่อยๆดึงเข้าหาลำตัว พร้อมกับค่อยหันศรีษะไปทางซ้ายพักไว้ 1 นาทีแลัวคลายออกทำสลับข้างไปมาประมาณ 1-2 นาที จะช่วยให้ข้อต่อที่หัวไหล่ และกล้ามเนื้อหัวไหล่ ยืดขยายและผ่อนคลาย  ลดอาการยึดติด เมื่อยล้าได้

4.ท่าก้มหน้า เงยหน้า โดยนั่งตัวตรงสูดหายใจเข้าทางจมูกลึกๆพร้อมกับเงยหน้าขึ้นให้สุด  แล้วค่อยๆเป่าลมหายใจออกทางปากช้าๆ พร้อมกับการก้มหน้าลงให้สุด ทำ 3 ชุด ช่วยให้กล้ามเนื้อ และกระดูกต้นคอ คลายตัว  ควรความระมัดระวังกับผู้ที่มีปัญหากระดูกคอทับเส้นประสาท

5.ท่าหันหน้าซ้าย ขวา ใช้มือประคองคางทำ 3 ชุด
6.ท่าหมุนศรีษะเป็นวงกลม  ข้างล่ะ 3 รอบ ควรระมัดระวังกับผู้ที่มีปัญหากระดูกคอทับเส้นประสาท

การบริหารร่างกายในระหว่างวันช่วงเวลาทำงานนานๆ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคลเช่นผู้ที่มีปัญหากระดูกคอทับเส้นประสาทและหัวไหล่หลุดไม่ควรทำท่าบริหารร่างกายที่กล่าวมาเพราะอาจทำให้อันตรายได้

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

อาหารมื้อเช้านั้นสำคัญไฉนกับลูกวัยเรียน

แชร์ให้เพื่อน

อาหารมื้อเช้านั้นสำคัญไฉนกับลูกวัยเรียน

เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ต้องการสารอาหารที่มีประโยชน์ทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกาย และบำรุงสมอง เพื่อช่วยให้กิจกรรมการเรียนแต่ล่ะวันมีประสิทธิภาพสูงสุด

“อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญ”

หลังจากร่างกายได้พักผ่อนนอนหลับมาตลอดทั้งคืนที่ยาวนาน 6-8 ชั่วโมงโดยไม่ได้รับประทานอาหาร ขณะที่ระบบของร่างกายยังคงทำงานตามปกติ   โดยใช้พลังงานจากอาหารมื้อกลางวันและเย็น ดังนั้นเมื่อตื่นนอนระดับน้ำตาลถูกใช้จนเกือบหมดมื้อเช้าจึงมีความจำเป็นต่อร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตลาดทั้งวันที่โรงเรียน
การงดอาหารมื้อเช้าจะทำให้สมรรถณะของร่างการและสมองลดลง  ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย สมองคิดอะไรช้าลง

การเลือกอาหารเช้าให้เหมาะสมกับวัยเรียน
ตัวอย่างกลุ่มอาหารที่ควรเลือกกินในมื้อเช้าประกอบด้วย

1.คาร์โบไฮเดรต​เช่น ข้าวกล้อง  ซีเรียล ขนมปังธัญพืช
2.โปรตีนจากเนื้อสัตว์  ไข่ และตระกูลถั่ว
3.นมและผลิตภัณฑ์​จากนมเช่น ชีส โยเกิร์ต​
4.ผักและผลไม้ เน้นการเลือกรับประทานแบบสดไม่แช่แข็ง

คำแนะนำในการรับประทานอาหารมื้อเช้าคือ

1.รับประทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเนื่องจากวัยเรียนมีการใช้พลังงานมากและต้องการพลังงานเพื่อช่วยการเจริญเติบโต
2.กินอาหารให้สมดุลได้รับสารอาหารให้ครบหลัก5หมู่ในแต่ล่ะวัน
3.เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายก่อนเสมอ เช่น โปรตีน แป้ง ผัก ผลไม้ และธัญพืช
4.ภาชนะที่บรรจุอาหารที่เหมาะสม ช่วยกระตุนให้เด็กวัยเรียนเจริญอาหาร
5.ควรหลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จ รูป ควรเป็นอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ จำกัดสารปรุงรสชาดอาหาร

ตัวอย่างเมนูอาหารเช้าที่เหมาะกับเด็กวัยเรียนเช่น

  • ข้าวผัดไข่ หมู ไก่
  • ข้าวต้มเครื่อง
  • ข้าวไข่เจียวเสริมแครอท
  • ซีเรียลกับนมจืด
  • แซนวิช โดยใช้ขนมปังธัญพืช

ควรหลีกเลี่ยง น้ำหวาน กาแฟ ชา อาหารปิ้งย่าง อาหารทอดมัน ฟาสต์ฟู๊ด อาหารกระป๋องสำเร็จรูป หรือบะหมี่

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

 

แชร์ให้เพื่อน

ออฟฟิศซินโดรม คุกคามสุขภาพวัยทำงาน

แชร์ให้เพื่อน

ออฟฟิศซินโดรม คุกคามสุขภาพวัยทำงาน

ออฟฟิศ​ซินโดรม (Office syndrom)   คืออาการปวดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิมๆ ซ้ำๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เช่นการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบทนานๆ จนทำให้เกิดอาการปวดสะสมและเรื้อรังตามมาในที่สุด
พบเจอได้บ่อยในวัยทำงาน อาการที่พบบ่อยเช่น  อาการชาที่แขน มือ และปลายนิ้ว ซึ่งเกิดจากเส้นประสาทบริเวณดังกล่าวถูกกดทับต่อเนื่อง ดังนั้นการเอาใจใส่และดูแลสุขภาพของตนเอง จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอาการได้

สาเหตุของการเกิดอาการ
1.เก้าอี้ โต๊ะ นั่งทำงานไม่เหมาะสม เช่น สูงหรือต่ำเกินไป ไม่เหมาะกับสรีระของร่ายกาย

2.สภาพร่างกายและจิตใจที่ส่งผลต่อภาวะเจ็บป่วยเช่น ความเครียดจากงาน รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา  พักผ่อนไม่เพียงพอ

อาการของออฟฟิต​ซินโดรม
1.ปวดกล้ามเนื้อส่วนของร่างกายเช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง  ซึ่งพบบ่อยกว่าบริเวณอื่น  มีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง ระบุตำแหน่งได้ไม่ชัดเจน  ปวดร้าวทั่วบริเวณไกล้กันหลายตำแหน่ง   ปวดล้า รำคาญ จนถึงปวดทรมานทนไม่ไหว ต้องกินยาแก้ปวดเป็นประจำหรือพบแพทย์

2.อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาที่แขนและมือ ตลอดจนมีอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทเป็นเวลานาน

การป้องกันเพื่อลดปัญหาออฟฟิศ​ซินโดรม
1.ปรับอิริยาบทในการทำงานทุก 50 นาทีเช่นกรณีนั่งทำงานควรลุกเดิน เพื่อเปลี่ยนอิริยาบทและช่วยให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย ยืดเหยียด สัก5-10นาที

2.สำรวจที่ทำงาน โต๊ะ เก้าอี้  เหมาะกับสรีระ​หรือถ้าไม่เหมาะสมควรปรับเปลี่ยน เพื่อลดโอกาส​การเกิดอาการได้

3.มีกิจกรรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อระหว่างการทำงาน และหลังจากการทำงานแต่ล่ะวัน

การรักษาอาการออฟฟิศ​ซินโดรม
หลังจากได้รับการวินิจจากแพทย์แล้ว แนวทางการรักษาเฉพาะบุคคลแบ่งตามระดับความรุนแรงของอาการเช่น
1.การยืดกล้ามเนื้อ จะช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมีมุมการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น ช่วยป้องกันการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ และลดการบาดเจ็บ

2.การนวดแผนไทย เป็นวิธีการทางธรรมชาติที่เกิดจากการเรียนรู้ของมนุษย์ เช่น การบีบนวด กดจุดบริเวณตำแหน่งที่มีอาการเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมีอาการผ่อนคลาย นับว่าเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทยเช่น ท่าการนวดของวัดโพธิ์​ที่ได้รับความนิยมถึงต่างประเทศ
3.การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นการรักษาด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย  โดยนักกายภาพบำบัดเป็นผู้กำหนดโปรแกรมการรักษาเพื่อฟื้นฟูให้สามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด
4.การฝั่งเข็ม ครอบแก้ว นับเป็นศาสตร์​การรักษาแบบจีนสมัยโบราณปัจจุบันมีการนำมาใช้เพื่อการบำบัดอาการออฟฟิศ​ซินโดรมในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย โดยอาศัยกลไกการยับยั้งและช่วยระงับอาการปวด ช่วยปรับสมดุลของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ
5.การใช้ยาเพื่อบรรเทา​อาการ   เป็นทางเลือกที่นิยมใช้บ่อย  การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร  เนื่องจากยากลุ่มลดอาการปวดจะส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารเช่น ปวดท้อง โรคกระเพาะอาหาร  ฉะนั้นต้องระมัดระวังในการใช้ยา

ถึงแม้ว่าอาการของออฟฟิสซินโดรมไม่ได้ส่งผลให้เสียชีวิตแต่ก็รบกวนการดำเนินชีวิตมากทีเดียวฉะนั้นควรป้องกันดีกว่าเกิดอาการแล้วมารักษา

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

เทคนิค​การเลี้ยงลูกให้มีความเฉลียวฉลาด

แชร์ให้เพื่อน

เทคนิค​การเลี้ยงลูกให้มีความเฉลียวฉลาด

การเลี้ยงลูกเป็นกระตุ้น การส่งเสริมพัฒนาการให้เหมาะสมตามวัยโดยแบ่งเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและพัฒนาการด้านการเรียนรู้และสติปัญญา

ปัจจัยที่ส่งเสริมพัฒนาการมีดังต่อไปนี้คือ

1.เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน  เนื้อสัตว์นอกจากมีโปรตีนที่ช่วยการเจริญเติบโตแล้ว ยังประกอบด้วยสังกะสี( Zinc)​ที่ช่วยให้จดจำได้ดีขึ้นด้วย

2.นมและผลิตภัณฑ์​จากนมเช่น นม ชีส และโยเกิร์ต​  อุดมไปด้วยแคลเซียมที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบสัญญานไฟฟ้าในสมอง​และวิตามินดีซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ช่วยบำรุงสมองของเด็กวัยเรียน

3.ไข่ไก่ เป็นอาหารโปรดของเด็กๆ เป็นแหล่งโปรตีนที่หาง่าย  ย่อยง่าย  มีสารตั้งต้นที่ช่วยกระตุ้นสมองส่งผลต่อการเรียนรู้ และการจดจำของเด็ก

4.เนื้อปลาทะเล เป็นแหล่งอาหารที่มีโอเมก้า3 มีทั้ง DHA และEPA ที่ช่วยสร้างเซลล์​สมอง  ช่วยในการมองเด็ก บำรุงสายตา

5.ธัญพืชไม่ขัดสี  เป็นแหล่งอาหารที่มีเส้นใยสูงช่วยควบคุมการปล่อยกลูโคส​เข้าสู่ร่างกายและสมอง ช่วยให้สมองได้รับกลูโคส​อย่างต่อเนื่อง  ช่วยให้เด็กตื่นตัว ไม่เหงาหงอย กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

6.ถั่วและเมล็ดพืช เป็นแหล่งอาหารที่มีโปรตีนและไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย  เหมาะสำหรับการกินเล่นระหว่างมื้ออาหาร  ประกอบไปด้วย วิตามินอี  วิตามินบีรวม ธาตุเหล็ก สังกะสี ที่ช่วยในเรื่องของความจำ

7.ผักใบเขียว ผักสีเหลือง เช่นผักคะน้า ผักโขม ฟักทอง ที่อุดมไปด้วยวิตามิน และโฟเลต มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์​สมอง  กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และความจำ

8.ข้าวโอ๊ต จัดเป็นอาหารที่มีเส้นใยสูง  เหมาะสำหรับอาหารเช้าของเด็กวัยเรียนที่มีความรีบเร่งช่วยให้เด็กมีความจำระยะสั้นได้ดี และมีสมาธิในการตั้งใจฟัง เกิดกระบวนการเรียนรู้  เนื่องจากงานวิจัยพบมาอาหารที่เส้นใยสูงจะช่วยให้ระบบการย่อยอาหารช้าลง ส่งผลให้สมองได้รับพลังงานมากขึ้น

กิจกรรมพัฒนาทักษะสร้างความฉลาดในวัยเด็ก

1.การเล่านิทาน  โดยสลับการเล่านิทานให้ฟังเพื่อช่วยกระตุ้นให้ลูกมีความจำและคิดสร้างสรรค์

2.ชวนคุยโดยหมั่นตั้งคำถามปลายเปิด  ช่วยให้เด็กจดจำ กระตุ้นการคิด สร้างคลังคำศัพท์​ที่ถูกต้อง

3.การวาดรูป  เป็นการกระตุ้นจินตนาการของเด็กที่ออกมาเป็นภาพ และยังช่วยกล้ามเนื้อมัดเล็ก  ทำให้เด็กคลายความเครียด  มีสมาธิจดจ่อมากขึ้น สามารถใช้ภาพประเมินทางจิตวิทยาได้ด้วย

4.ส่งเสริมให้เด็กมีกิจกรรมต่างๆร่วมกับเพื่อนวัยเดียวกันเพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการตามวัย
โดยปล่อยให้เด็กได้เล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน

5.เล่นเกมปริศนา​คำทาย นอกจากจะช่วยให้เกิดความสนุกสนานแล้ว ยังช่วยส่งเสริมด้านความจำ คิดแบบมีตรรกะ​   มีไหวพริบ  เรียนรู้ความศัพท์ใหม่ๆ  คิดแบบมีเหตุมีผลมากขึ้น

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

อาหารชะลอวัย ของวัยเกษียณ

แชร์ให้เพื่อน

อาหารชะลอวัย ของวัยเกษียณ

เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ ร่างกายเริ่มเสื่อมถอยลงตามอายุที่มากขึ้น  การดูแลเรื่องอาหารจึงเป็นเรื่องสำคัญถัดมาจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การเลือกกินอาหารให้เหมาะสมกับวัยก็เป็นการช่วย ชะลอความแก่ให้ช้าลงได้

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ

1.มวลของกล้ามเนื้อลดลง กล้ามเนื้อเริ่มหย่อนยาน ไม่เต่งตึง​เหมือนตอนหนุ่มสาว

2.มวลกระดูกลดลง เริ่มมีปัญหาปวดตามกระดูก แตกหักได้ง่าย  กระดูกเริ่มพรุน

3.ระบบการย่อย และการเผาผลาญลดลง เกิดปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อหลังรับประทานอาหาร  อ้วนขึ้นในบางราย

4.ความอยากอาหารลดลง

5.ฟันเริ่มหลุดร่วงทำให้เคี้ยวบดอาหารได้ไม่ดี

6.โรคแทรกซ้อนต่างๆตามมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในอดีต

ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารเพื่อชะลอวัยของวัยเกษียณก็เป็นสิ่งจำเป็นนอกจากการรับประทานอาหารให้ครบหลัก 5 หมู่แล้ว  การเลือกอาหารที่ช่วยชะลอวัย  ย้อนวัยจะช่วยให้มีชีวิตที่ยาวนานขึ้นได้


อาหารชะลอวัยของวัยเกษียณ

1.มังคุด  ใบบัวบก  งาดำ ถั่วเเหลือง   ฝรั่ง  เนื่องอาหาร 5ชนิดนี้มีสารสกัดที่ช่วยให้ร่างกายชะลอวัยได้

2.ผักใบเขียว เนื่องจากผักใบเขียวประกอบด้วยคลอโรฟิลล์ เบต้าเคโรทีน วิตามินต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสะ ช่วยชะลอวัย ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ช่วยบำรุงสมอง และยังพบว่ามีสารต้านเซลล์​มะเร็งที่ชื่อว่า สารพฤกษเคมี ด้วย

3.ปลาทะเล ที่มีโอมิก้า 3สูง เช่น ปลาทูน่า ปลาซาดีน ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทู ปลากะพง ซึ่งโอมิก้า 3 นอกจากจะช่วยบำรุงสมองแล้ว ยังลดการอักเสบจากการปวดเข่า ปวดกระดูกได้ด้วย

4.ถั่ว ชนิดต่างๆ ถั่วเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัว โพแทสเซียม​ วิตามินบี วิตามินอี ที่มีสารต้านอนุมูลอิสะสูง ช่วยให้ผิวพรรณ​อ่อนกว่าวัยได้รับฉายาอาหารชะลอวัย และลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง เช่น ถั่วดำ ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วลันเตา ถั่วเหลือง อัลมอน ที่เป็็นแหล่งอาหารโปรตีนสูง ถั่วเหลืองยังช่วยลดคอเลสเตอรอล​ได้ด้วย

นอกจากการรับประทานอาหาร4กลุ่มที่กล่าวมาควรรับประทานให้ครบหลัก5หมู่ กินครบ3มื้อลดมื้อเย็น กินอาหารให้มีความหลากหลาย กินอาหารที่สดสะอาด ผ่านกระบวนการแปรรูปน้อย ปรุงอาหารที่ย่อยง่ายเช่น การต้ม การนึ่ง จิบน้ำบ่อยๆ ดังคำกล่าวที่ว่า กินน้อยแก่ช้า กินมากแก่เร็ว

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

อันตราย ที่พบบ่อยกับวัยเด็กตอนปลาย ช่วงปิดเทอม

แชร์ให้เพื่อน

อันตราย ที่พบบ่อยกับวัยเด็กตอนปลาย ช่วงปิดเทอม

ช่วงนี้ปิดเทอมแล้ว เด็กจะอยู่บ้านตามลำพัง
ผู้ปกครองต้องประกอบออาชีพ ประกอบกับวัยเด็กตอนปลาย เป็นระยะที่การพัฒนาทางสังคมแบบในบ้านไปสู่สังคมนอกบ้าน  ศูนย์กลางของชีวิตทางสังคมคือโรงเรียน  กลุ่มเพื่อนเริ่มมีบทบาทต่อชีวิตเด็กมากขี้น  เด็กวัยนี้จึงรวมกลุ่มเพื่อนออกไปสถานที่ต่างๆช่วงที่ผู้ปกครองไปทำงาน ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุที่มักจะเกิดกับวัยเด็กตอนปลาย ที่พบบ่อยๆ ได้แก่

1.อุบัติเหตุจมน้ำ ข้อมูลจากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคพบว่า การจมน้ำพบส่วนใหญ่ในวัยเด็กตอนปลายเกิดที่แหล่งน้ำธรรมชาติมากสุด และพบในช่วงเวลาการปิดเทอมฤดูร้อน เด็กๆมักชวนกันไปเล่นน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ตกน้ำและจมน้ำเสียชีวิตได้

การเฝ้าระวังและการป้องกันอุบัติเหตุ
1.เตือนผู้ปกครอง ประกาศเสียงตามสายเพื่อแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองเฝ้าระวังและดูแลไกล้ชิด อย่าปล่อยให้ไปเล่นน้ำตามลำพัง

2.ให้ความรู้เด็กให้รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง หากพบคนตกน้ำ ห้ามกระโดดลงไปช่วย เพราะอาจจมน้ำพร้อมกันได้ถึงแม้จะว่ายน้ำเป็นก็ตาม ให้ช่วยด้วยมาตรการ ตะโกน โยน ยื่น ได้แก่
1.1ตะโกนขอความช่วยเหลือ
1.2โยนอุปกรณ์ไกล้ตัวที่ลอยน้ำได้ เช่น ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า
1.3ยื่นอุปกรณ์ไกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ผ้า ไม้

2.อุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ ควรให้เด็กสวมหมวกกันน๊อคที่ได้มาตรฐานทุกครั้งที่เด็กซ้อนท้าย

3.อุบัติเหตุจากการพลัดตกจากที่สูง พื้นที่เสี่ยงเช่น สนามเด็กเล่น บันได ต้นไม้ ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด​ หรือสอนให้เด็กรู้จักการระมัดระวังอันตราย ในการเล่นช่วงปิดเทอม

4.อุบัติเหตุจากถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย พบช่วงหน้าร้อนที่ผู้ปกครองพาไปเที่ยวทะเล เช่น โดยแมงกะพรุน หอยเม่นทะเล

5.อุบัติเหตุจากไฟดูด เนื่องจากเด็กใช้นิ้วแหย่ปลั๊กไฟ ตัวเปียกน้ำไปดึงปลั๊กโดยขาดความระมัดระวังถ้าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดให้ใช้วัสดุไม่นำไฟฟ้าดึงตัวออกจากกระแสไฟฟ้าเช่น ไม้ เชือก ผ้าแห้ง

6.อุบัติเหตุทั่วไป เช่น วิ่งเล่นกับเพื่อนๆที่รู้จักกันนอกบ้านโดยมิจฉาชีพ​หลอกลวงลักพาตัว ผู้ใหญ่ควรระมัดระวังไม่ปล่อยให้วิ่งเล่นโดยไม่มีผู้ใหญ่ดูแล

7.อุบัติเหตุจากรถจักรยาน เด็กปั่นจักรยานเล่นตามถนนในซอยอาจโดนรถชนได้ หรือล้ม ตกลงข้างทาง หรือบางครั้งปั่นแข่งขันกับเพื่อนทำให้รถเกี่ยวกันล้มได้ ผู้ปกครองควรสอนลูกเรื่องกฏจลาจรในการใช้รถใช้ถนนขับขี่เลนซ้ายขอบทาง ระมัดระวังในการขี่รถ

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิดแต่การให้ความรู้ในการ เฝ้าระวังในชุมชนช่วยสอดส่องดูแลจุดเสี่ยงต่างๆเช่นแหล่งน้ำธรรมชาติมีการกั้นรั้วและติดป้ายเตือนแหล่งน้ำลึกให้ระวังอันตราย

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

การรับมือกับปัญหาวัยเด็กตอนปลายติดเกมส์

แชร์ให้เพื่อน

การรับมือกับปัญหาวัยเด็กตอนปลายติดเกมส์

จากสถานการณ์​การระบาดของโควิด19 ในรอบเกือบ3ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยี่และการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งฮาร์ทแวร์​และซอฟต์แวร์​ประกอบกับเด็กเรียนออนไลน์​อยู่กับคอมพิวเตอร์​  แทบเล็ต​ มือถือวันล่ะ4-5ชั่วโมง โดยที่ผู้ปกครองควบคุมดูแลไม่ทั่วถึง เด็กจึงมีโอกาสการเข้าถึงแอปพลิเคชัน​เกมต่างๆได้ง่ายขึ้น สร้างความเคยชินในการใช้อุปกรณ์ต่างๆแต่เมื่อสถานการณ์การระบาดของ​โควิด19คีขึ้น  เด็กๆได้ติดพฤติกรรมการใช้เครื่องมือสื่อสารและการเล่นเกมไปแล้วจึงเรียกร้องที่จะใช้เหมือนเดิม เด็กบางคนถึงกับร้องขอให้ผู้ปกครองซื้อเครื่องมือสื่อสารให้ไว้ใช้เป็นของตนเองโดยการอ้างว่าเพื่อนทุกคนมีเป็นของตัวเอง

เบื้องต้นเรามาทำความเข้าใจบริบทของเกมกันก่อน
เกม คือ กิจกรรมที่มนุษย์นิยมเล่น โดยผู้เล่นจะต้องทำตามกติกาในการเล่นเสมอ ส่วนใหญ่แล้วจะเล่นเพื่อความบันเทิง​ ผ่อนคลายความเครียด สร้างมิตรภาพในกลุ่มผู้เล่น

ประเภทของเกมในปี2021

1.Role Playing คือเกมเล่นตามบทบาท  นับเป็นเกมออนไลน์​ที่คนนิยมเล่นเป็นจำนวนมาก โดยผู้เล่นสวมบทบาทเป็นตัวละครในเกมส์​นั้นๆ จึงทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าตัวเองได้เป็นตัวละครในเกมนั้นจริงๆ

2.เกมยิงปืน(Shooting) ผู้เล่นใช้อาวุธโจมตีศัตรู สร้างความตื่นเต้นและตื่นตัวให้กับผู้เล่นตลอดเวลา

3.เกมต่อสู้(Fighting) เป็นเกมที่มีลักษณะเอาตัวละครสองตัวมาต่อสู้กันในระยะประชิดตัว ซึ่งตัวละครจะมีพลังแตกต่างกัน

4.เกมผจญภัย(Adventure)​เป็นการสวมบทบาทเป็นตัวละครในการเดินทางผจญภัย​ทำภารกิจ​ให้สำเร็จ​ ส่วนใหญ่จะเป็นการเล่นคนเดียว

5.เกมวางแผน(Strategy)​เป็นเกมที่เล่นร่วมกันได้ทีละหลายๆคน โดยมีการวางแผนการรบ สร้างกองทัพ ยึดพื้นที่สร้างเมืองเพื่อเอาชีวิตรอด

6.เกมเลียนแบบหรือการจำลอง(Simulation Game) เช่นเกมปลูกผัก เกมแต่งตัว

7.เกมปริศนา​(Puzzle Game) เป็นการใช้ทักษะการคิดแก้ไขปัญหาแบ่งระดับยากง่าย ท้าทายผู้เล่นมาก มีทั้งปริศนา​คณิตศาสตร์​ ตรรกศาสตร์​ ปริศนา​ภาพ เน้นการฝึกพัฒนาสมอง ใช้ความคิดต่างๆไปในตัว

8.เกมกีฬา(Sport Game) เป็นการจำลองเสมือนจริงในการเล่นและแข่งขันกีฬา เล่นเป็นทีมกับเพื่อนได้

เมื่อเข้าใจบริบทของเกมส์​แล้วต่อไปเป็นการประเมินระดับของการติดเกมของวัยเด็กตอนปลาย
ผู้ปกครองต้องช่างสังเกตุ  ตรวจสอบในเครื่องมือสื่อสารว่ามีแอปพลิเคชัน​เกมแบบใหนบ้าง เพื่อจะ ประเมินว่าลูกเล่นเกมแบบใหน ตามชนิดของเกมที่กล่าวมาข้างต้น

อาการของวัยเด็กตอนปลายติดเกมที่ผู้ปกครองต้องรู้
1.เมื่อมีเวลาว่างคือเล่นเกม
2.เล่นเกมนานจนชิน
3.เล่นจนขาดไม่ได้  มีอาการหงุดหงิดและก้าวร้าว
ทำร้ายผู้ปกครอง พยายามฆ่าตัวตายเมื่อไม่ให้เล่น อารมณ์​แปรปรวน
4.เล่นเกมจนเสียหน้าที่หลัก เช่น เสียการเรียน เก็บตัวอยู่บ้าน ไม่หลับนอนกลางคืน

แนวทางการรับมือกับวัยเด็กตอนปลายติด​เกมคือ

1.วางแผนร่วมกันกับเด็กในการลดเวลาการเล่นเกมลง  ตั้งกฎกติการ่วมกันเพราะวัยเด็กตอนปลายมีพัฒนาการด้านกฏระเบียบ จากที่โรงเรียนด้วยอยู่แล้ว เด็กจะเข้าใจถ้าผู้ปกครองไม่ตามใจหรือปล่อยให้เล่นได้เกินเวลา  ต้องเคร่งครัดในการลดชั่วโมงการเล่นเกม​ในแต่ละวันลงเรื่อยๆ โดยเปลี่ยนเป็นการทำกิจกรรมอื่นแทนซึ่งเป็นกิจกรรมที่เด็กสนใจ เช่น การตกปลา เต้น  วาดภาพ  ถ้าเด็กลดเวลาเล่นเกมลงได้ ควรชมเชย หรือให้รางวัลอย่างอื่นทดแทนเช่นการพาไปเที่ยวช่วงวันหยุด

2.ผู้ปกครองเข้าไปเล่นเกมกับเด็กเพื่อจะได้ตรวจดูว่าเด็กเล่นเกมแบบใหนตามประเภทที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าเป็นเกมที่ใช้ความรุนแรง ไม่ควรตำหนิเด็ก  ให้ใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจไปเล่นเกมอื่นทีมีส่วนดีเช่นเกมปริศนา​  เกมสร้างเมือง  เกมปลูกผัก เกมจับผิดภาพ เป็นการช่วยจำและหัดให้้เด็กเป็นคนช่างสังเกตุ  ใช้ความคิดช่วยพัฒนาสมองซีกซ้าย

3.ติดตามและทำความรู้จักเกมที่เด็กเล่นเพื่อจะได้เบี่ยงเบนความสนใจโดยให้เด็กเล่าให้ฟัง หรือเปิดประเด็นสนทนาภาษาเกมกับเด็กโดยจัดกลุ่มคุยกันเรื่องเกมที่เล่น จะทำให้ลดเวลาในการเล่นเกมของเด็กได้ด้วย

4.ถ้าใช้วิธีการข้างต้นไม่ได้ผล  เด็กอาจมีปัญหาสุขภาพจิตร่วมด้วย เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล สมาธิสั้น ควรพาเด็กไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและบำบัดรักษาต่อไป
ที่มา:สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน