ระวังไวรัสตัวไหม่ สายพันธุ์​ XBB

แชร์ให้เพื่อน

ระวังไวรัสตัวไหม่ สายพันธุ์​ XBB

ล่าสุดทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้เผยแพร่ผลงานการวิจัย​เกี่ยวกับ​การกลายพันธุ์​ของไวรัส​สายพันธุ์​ใหม่คือ XBB  ซึ่งเป็นสายพันธุ์​ที่ดื้อต่อระบบภูมิคุ้มกันมากกว่าสายพันธุ์​อื่นๆที่เคยมีมาและเป็นตัวล่าสุดที่ต้องเฝ้าระวังอย่างไกล้ชิดเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการรับมือหากเกิดการระบาดครั้งใหม่​นี้
จากสถานการณ์​โควิดเมื่อวันที่ 5ตุลาคม​2565 ที่ผ่านมาพบการติดเชื้อทั่วโลก 370,615 คน และตายเพิ่ม 888 คน รวมทั้งหมดติดเชื้อ 624,088,072 คน
เสียชีวิตรวม 6,555,725 คน 5 อันดับประเทศที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อิตาลี​ ใต้หวัน ญี่ปุ่น​ รัสเซีย​ซึ่งเป็นประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นทั้งหมด

สำหรับ​ประเทศไทยมีการติดเชื้อเฉลี่ย​20,000 คนต่อวัน และเสียชีวิต 10 คนต่อวัน ถ้าเทียบกับการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น่ากลัวแต่อย่างใด และประเทศไทยยังติดอันที่ 15 ของทั่วโลก ถึงแม้ว่าการระบาดของสายพันธุ์​ใหม่จากการวิจัยพบนั้นวิธีการป้องกันที่ดีก็ยังเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัย

สถานการณ์​กำลัง​เปลี่ยนเข้าสู่หน้าหนาว อากาศเย็นตัวลง อาจส่งผลให้เกิดการระบาดเพิ่มขึ้นในอีก 1-2 เดือนข้างหน้าของประเทศแถบยุโรป สำหรับฝั่งเอเชียนั้นนับว่ายังเป็นการระบาดขาลงอยู่​ยกเว้นสิงคโปร์​ซึ่งเกิด​จาก​การใช้ชีวิตที่เปิดเสรีมากขึ้น

แชร์ให้เพื่อน

น้ำท่วมหนักปีนี้ ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

น้ำท่วมหนักปีนี้ ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร?

ภาวะน้ำท่วมในปี 2565 นี้หนักหนาสาหัสทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร​และต่างจังหวัด ในพื้นที่​ติดต่อกับ ทางผ่านของแหล่งน้ำลำคลอง​สาเหตุเกิดจากฝน​ตกหนัก​มากกว่าทุกปีและระบบการระบายน้ำไม่ดีพอ ก่อให้เกิด​ความเสียหาย​กับพื้นที่การเกษตร​และบ้านเรือน​ทั้งปัญหาโรคโควิด19ที่ต่อเนื่องมายาวนาน ดังนั้นปัญหาน้ำท่วม​อาจก่อให้เกิด​โรค​ที่มา​กับน้ำท่วม​ได้เช่น โรคน้ำกัดเท้า​ โรคฉี่หนู โรคท้องร่วง โรคตาแดง โรคเครียด
เรามาดูว่ามีโรค​อะไรบ้างที่มาพร้อมกับน้ำท่วมพร้อมทั้งการดูแลรักษาและป้องกันเพื่อให้ห่างไกลจากโรคกันค่ะ

Continue reading

แชร์ให้เพื่อน

หลังป่วยโควิด เพิ่มเสี่ยงป่วยทางจิต

แชร์ให้เพื่อน

หลังป่วยโควิด เพิ่มเสี่ยงป่วยทางจิต

ผลงานวิจัยล่าสุดระบุว่า หลังการเจ็บป่วยด้วยโควิด เพิ่มความเสี่ยงป่วยทางจิต  ไม่ว่าจะเป็นภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า หรือความเจ็บป่วยทางจิตแบบอื่น ๆ นักวิจัยยังแนะนำให้กระทรวงสาธารณสุขเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาดังกล่าวในไม่ช้า เนื่องจากทั่วโลกมีคนป่วยด้วยโควิดเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะนำไปสู่ปัญหาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต

 

จากข้อมูลวิจัยของมหาวิทยาลัย ที่เซนต์หลุยส์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้รวบรวมข้อมูลจากทหารผ่านศึกของสหรัฐอเมริกาที่ติดเชื้อโควิดในปีแรก จำนวนทั้งหมด 153,000 คน และผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ชายสูงอายุ จากการติดตามข้อมูลการเจ็บป่วยอย่างใกล้ชิดเป็นระยะเวลาหนึ่งปี พบว่าผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโควิดมีปัญหาภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ปัญหาการนอนไม่หลับ หรือมีปัญหาต้องใช้ยารักษาอาการดังกล่าวมากกว่าคนปกติที่ไม่ได้ติดเชื้อถึง 60 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตหลังจากป่วยโควิดประมาณ 64 คน ต่อคนไข้โควิด 1000 คน


งานวิจัยดังกล่าวได้กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวดังนี้

ผู้ป่วยโควิดมีโอกาสเสี่ยงโรคซึมเศร้ามากกว่าคนปกติประมาณ  39 เปอร์เซ็นต์  เสี่ยงภาวะวิตกกังวลเพิ่มขึ้นประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ และเสี่ยงปัญหาการนอนไม่หลับมากถึง 41 เปอร์เซ็นต์ จากข้อมูลงานวิจัยระบุเพิ่มเติมว่า คนที่เจ็บป่วยด้วยโควิด มีโอกาสมีปัญหาทางจิตใจมากกว่าโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ชนิดอื่น ๆ  ทั้งนี้ข้อมูลงานวิจัยยังไม่สรุปแน่ชัดว่าปัญหาทางจิตที่เพิ่มขึ้น เกิดจากการเจ็บป่วยด้วยโควิด ที่เกิดจากปัญหาการติดเชื้อโดยตรง หรือเกิดจากปัญหาด้านอื่น ๆ เช่น ปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ปัญหาด้านเศรษฐกิจ หรือปัญหาจากการกักตัว

 

ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยอุปซอล่า ประเทศสวีเดน คาริน บรอ็คคิก ซึ่งทำการรวบรวมข้อมูลกับผู้ป่วยที่มีอาการต่อเนื่องหลังป่วยโควิด หรือที่เรียกว่า ลองโควิด (Long Covid) พบว่า ผู้ป่วยลองโควิด มีความเสี่ยงป่วยทางจิตเพิ่มขึ้น ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าวยังไม่สรุปแน่ชัดว่า ปัญหาการป่วยทางจิตหลังจากป่วยโควิด เกิดจากการติดเชื้อที่มีผลต่อระบบประสาทและสมอง หรือเกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ เช่นเหนื่อยง่าย ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือเกิดจากปัญหาด้านการเงิน ทั้งนี้คงต้องรอการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคต

 

จากสถานการณ์โลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าอย่างต่อเนื่อง ปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ ที่ทำให้สินค้าต่าง ๆ มีราคาพุ่งสูงขึ้น ปัญหาการตกงาน หรือปัญหาด้านการเมืองระหว่างประเทศ ล้วนเป็นปัญหาที่ทำให้คนมีความวิตกกังวล นอนไม่หลับ หรือซึมเศร้า จนอาจจะนำไปสู่ปัญหาการฆ่าตัวตายในที่สุด สิ่งสำคัญคือหมั่นตรวจสอบสภาพจิตใจของตัวเองว่าตัวเรารู้สึกเศร้าหมอง หรือมองโลกในด้านมืดมากเกินไปหรือไม่ หากสงสัยว่าตัวเองกำลังมีปัญหาด้านสุขภาพจิต ควรพบจิตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำด่วน

แชร์ให้เพื่อน

หายนะจากการใช้ยาฆ่าเชื้อแบบไม่ระวัง

แชร์ให้เพื่อน

หายนะ จากการใช้ยาฆ่าเชื้อแบบไม่ระวัง

สมัยก่อน หลาย ๆ ครั้งจะเห็นพี่น้อง เพื่อนฝูง หรือคนรอบตัวบ่นว่า “เจ็บคอ ไปหายาฆ่าเชื้อมากิน” ซึ่งเป็นอะไรที่ได้ยินบ่อยจนชินหูมาก ฟังแล้วก็รู้สึกเฉย ๆ เออ ก็เค้าป่วย เค้าก็ต้องไปหาหมอ หรือไม่ก็ไปซื้อยาฆ่าเชื้อมากินหรือเปล่า ??? คล้าย ๆ จะสมเหตุสมผล แต่เมื่อย้ายมาอยู่ยุโรป การจะได้ยาฆ่าเชื้อมากิน เป็นอะไรที่ยุ่งยากมาก ต่อล้อต่อเถียงกับหมอก็แล้ว เค้าก็ไม่ให้ จริง ๆ ไม่ใช่ว่าหมอเค้าจะอยากกวนประสาทเราหรอกนะ แต่เพราะประเทศแถบยุโรป เค้ามีการจำกัดและควบคุมการใช้ยาฆ่าเชื้ออย่างเคร่งครัด  เพราะฉะนั้นหมอจะสั่งยาฆ่าเชื้อให้คนไข้แต่ละที ต้องมีเหตุผลที่หนักแน่นมารองรับ และเราไม่สามารถไปหาซื้อยาฆ่าเชื้อมากินเอง โดยปราศจากใบสั่งยาจากหมอ จึงทำให้บ้านเค้ามีโอกาสเจอเชื้อโรคที่ดื้อยาน้อยกว่าบ้านเรามาก บ้านเราในที่นี้ผู้เขียนอ้างถึงประเทศในแถบเอเชีย

ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก ยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฏิชีวนะ (ภาษาอังกฤษ : Antibiotic) เป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษา และป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสอง ส่วนยาที่ใช้ฆ่าเชื้ออื่น ๆ ไม่รวมอยู่ในกลุ่มนี้

 

นอกจากการใช้ยาฆ่าเชื้อในคนแล้ว การใช้ในสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะอุตสาหกรรมเลี้ยง วัว หมู ไก่ ก็ใช้กันมากไม่แพ้กัน ทั้งนี้ก็ใช้เพื่อป้องกันหรือรักษาสัตว์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าใช้เพื่อไม่ให้สัตว์ตาย เพื่อป้องกันการขาดทุนของบริษัท


ใช้ยาฆ่าเชื้อ แล้วเกิดอะไรขึ้น??

เมื่อเราใช้ยาฆ่าเชื้อไม่ว่าในคน หรือสัตว์ บางส่วนก็เอาไปใช้ฆ่าเชื้อในร่างกาย บางส่วนก็ถูกปล่อยออกมาทางปัสสาวะ หรืออุจจาระ หลังจากนั้นเราก็ล้างมูลต่าง ๆ เหล่านี้ลงพื้นดิน หรือเอามูลต่าง ๆ เหล่านี้ไปทำปุ๋ย แล้วเอามาปลูกผัก ผลไม้ รับประทานต่อไป สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ ยาฆ่าเชื้อที่ปะปนมาบนดิน หรือในปุ๋ย ก็ถูกชะล้างไปยังแม่น้ำลำคลอง ไปอาศัยอยู่ตามสิ่งแวดล้อมแถวนั้น และเจ้าตัวแบคทีเรียที่อาศัยอยู่แถว ๆ นั้น ก็พยายามพัฒนาตัวเองเพื่อให้อยู่รอด แหม!!! ขนาดมนุษย์เองก็ยังพยายามปรับตัวเพราะกลัวตาย แล้วทำไมแบคทีเรียจะไม่กลัวตายหล่ะจริงมั้ย ??

วันหนึ่งชาวไร่ ชาวนา เดินไปสะดุดกิ่งไม้ ก็ได้แผลกลับมาพร้อมกับของแถม กับเชื้อที่เคยชินกับยาที่ถูกปล่อยลงสู่ธรรมชาติ ปกติเมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้าร่างกาย ร่างกายเราก็พยายามต่อต้านแหล่ะ แต่นี่ร่างกายต้านไม่ไหว แผลก็อักเสบลุกลามไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายไปหาหมอ หมอก็ให้ยาฆ่าเชื้อ ให้ไปให้มาก็เสียชีวิต สุดท้ายก็อาจจะจบลงที่หมอรักษาไม่ดี หมอเลี้ยงไข้ หมอไม่ใส่ใจคนไข้ 30 บาท อะไรก็ว่าไป ก็แล้วแต่ใครจะว่าอะไรก็ว่ากันไป แต่ความจริง ก็คือความจริง เชื้อที่คนไข้ได้รับมันดื้อยา จนหมอหาทางรักษาไม่ไหวนั่นแหละ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นจริง และนับวันจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ จนทางองค์การอนามัยโลก ก็กำลังกังวลว่าสักวันหนึ่ง ที่เชื้อแบคทีเรียดื้อยาหมดทุกตัว มนุษย์เราก็จะล้มตายง่าย ๆ เหมือนสมัยก่อนที่หลุยส์ ปาสเตอร์จะค้นพบยาฆ่าเชื้อนั่นเอง


ผลกระทบที่ตามมา

สิ่งที่น่ากลัวอีกอย่างนอกจากการติดเชื้อเฉพาะที่ แล้วลุกลามไปเข้าสู่กระแสเลือด ก็คือ โรคต่าง ๆ ที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อที่ปอด การผ่าตัดต่าง ๆ หรือผู้ป่วยเรื้อรัง มะเร็งชนิดต่าง ๆ ก็เสี่ยงจะติดเชื้อ โดยที่ไม่มียาฆ่าเชื้อตัวไหนรักษาได้เช่นกัน เมื่ออ่านมาถึงตอนนี้ คิดสักนิดว่า “ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราทุกคนจะช่วยกันดูแลโลกของเรา เพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้ลูกหลานเราต่อไป”

 

แชร์ให้เพื่อน

10 สาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก

แชร์ให้เพื่อน

10 สาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก
1. โรคหัวใจขาดเลือด ผู้เสียชีวิตทจากโรคหัวใจขาดเลือดคิดเป็น 16 เปอร์เซ็นต์ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า
2. โรคอัมพาต ผู้เสียชีวิตจากโรคอัมพาต คิดเป็น 11 เปอร์เซ็นต์
3. โรคถุงลมโป่งพอง ผู้เสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพอง คิดเป็น 6 เปอร์เซ็นต์
4. โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง
5. การเสียชีวิตของทารกแรกเกิด
6. มะเร็งทางเดินหายใจ และปอด
7. โรคอัลไซเมอร์และอาการหลงลืมอื่น
8. ภาวะท้องเสีย ท้องร่วง
9. โรคเบาหวาน
10. โรคไต

10 สาเหตุที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประเทศที่มีรายได้ต่ำ
กลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำคือมีรายได้ต่อหัว น้อยกว่า 1085 ดอลล่าสหรัฐ หรือประมาณ 40,000 บาทต่อปี ซึ่งประเทศในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา เช่น ประเทศเอธิโอเปีย โซมาเลีย ไลบีเรีย
1. การเสียชีวิตของทารกแรกเกิด
2. โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง
3. โรคหัวใจขาดเลือด
4. โรคอัมพาต
5. ภาวะท้องเสีย ท้องร่วง
6. โรคมาลาเรีย
7. อุบัติเหตุทางท้องถนน
8. วัณโรค
9. โรคเอดส์
10. โรคตับแข็ง


สำหรับประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ระดับกลางหรือมากกว่า โดยมีรายได้ต่อหัว 4256 -13,205 ดอลล่าสหรัฐ หรือประมาณ 157,472 – 480,000 บาท และ 10 สาเหตุการเสียชีวิตในประเทศกลุ่มนี้คือ
1. โรคหัวใจขาดเลือด
2. โรคอัมพาต
3. โรคถุงลมโป่งพอง
4. มะเร็งทางเดินหายใจ และปอด
5. โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง
6. โรคเบาหวาน
7. โรคความดันโลหิตสูง
8. โรคอัลไซเมอร์ และอาการหลงลืมอื่น
9. โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
10. อุบัติเหตุทางถนน
อ้างอิงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก สาเหตุการเสียชีวิตในปี 2019-2020
คำนวณรายได้จากอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าสหรัฐเท่ากับ 37 บาท

แชร์ให้เพื่อน

5 อาการเครียดส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

5 อาการเครียดส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร?

ความเครียดนั้นเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิต สาเหตุเกิดจาก ความเจ็บ ป่วย  ภาวะเศรษฐกิจ​ ตกงาน
ขาดรายได้  สภาพสังคมที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ปรับตัวไม่ได้
ฉะนั้นเราควรสังเกต​ตัวเองจากอาการ 5อย่างดังต่อไปนี้คือ
1.ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย
ถ้าสังเกตว่าตัวเองเจ็บ ง่ายอาจเกิดจากความเครียด ส่งผลให้ มีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกินไป ร่างกายไม่สามารถปรับสมดุลได้ทันจึงทำเจ็บป่วย
2.ภาวะอ้วน หรือผอมลงอย่างเร็ว
ผู้เขียนเคยมีความเครียดอย่างรุนแรงช่วงเจ็บป่วยโควิด19 และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างเร็ว ซึ่งเกิดจากร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกินไป กระตุ้นให้เกิดอาการหิวตลอดเวลา
3.ลำไส้แปรปรวน​ ท้องอืด
ภาวะเครียดทำให้ร่างกายมีการหลั่งกรดออกมาในปริมาณ​ที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดกรดไหลย้อน ท้องอืด ท้องบวมโตได้ง่าย อาหารไม่ย่อย ขับถ่ายไม่ดี
4.ปวดศีรษะ​ มึนงง คลื่นไส้
ถ้าสังเกต​ว่าตัวเองมีอาการปวดหัวตื้อ ปวดรอบกระบอกตา ซึ่งอาจเกิดจากความเครียดที่สะสมมานานแล้ว
5.การนอนไม่หลับ​ หลับยาก หลับไม่สนิท
ภาวะเครียดส่งผลให้มีความวิตกกังวล ยิ่งคิดวนไปวนมาจัดการกับปัญหาไม่ได้ ทำให้นอนไม่หลับก่อให้ร่างกายอ่อนเพลียและเจ็บไข้ได้ป่วยง่ายขึ้น

แชร์ให้เพื่อน

โรคฝีดาษลิง

แชร์ให้เพื่อน

โรคฝีดาษลิง

โรคใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลาไม่เว้นแต่ละวัน หนึ่งในนั้นก็คือ ฝีดาษลิง หรือ Monkey pox ที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นถึง 5 เท่าทั่วโลก เพียงในระยะเวลาแค่หนึ่งเดือนเศษ ๆ

จากรายงานข่าวขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2565 พบว่ามีผู้ป่วยที่ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมด 16,000 คน จาก 75 ประเทศทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตจากโรคฝีดาษลิงทั้งหมด 5 คน เปรียบเทียบกับรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อเมื่อเดือนมิถุนายน 2565 ที่มียอดผู้ติดเชื้อเพียง 3,040 คน จาก 47 ประเทศทั่วโลก ซึ่งภายในระยะเวลาเพียงแค่หนึ่งเดือนพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 เท่า ทำให้องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญกับโรคฝีดาษลิงเพื่อสกัดกั้น และหยุดยั้งการแพร่ระบาดฝีดาษลิงอย่างเร่งด่วน

การติดต่อของโรคฝีดาษลิง

โรคฝีดาษลิง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ตรวจพบครั้งแรกในลิง ซึ่งเป็นที่มาของ ”โรคฝีดาษลิง ”แต่เดิมเป็นโรคที่ติดต่อระหว่างสัตว์โดยเฉพาะสัตว์แทะ เช่น หนู กระรอก ซึ่งมีการระบาดในแถบแอฟริกาใต้ และแอฟริกาตะวันตก

แต่ในช่วงที่ผ่านมาฝีดาษลิงติดต่อระหว่างสัตว์ มาสู่คน และติดต่อระหว่างคนสู่คน โดยในช่วงแรก ๆ ส่วนใหญ่ตรวจพบฝีดาษลิงในกลุ่มรักร่วมเพศ จนทำให้คนเข้าใจผิด คิดว่าโรคฝีดาษลิงเกิดได้เฉพาะกลุ่มรักร่วมเพศชายรักชายเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วฝีดาษลิงสามารถติดต่อได้ทุกคน

ฝีดาษลิงติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย โดยเฉพาะสารคัดหลั่งจากตุ่มพอง ที่พบเชื้อได้มากที่สุด นอกจากนั้นเชื้อฝีดาษลิงสามารถพบได้ในสารคัดหลั่งอื่น ๆ เช่น จากน้ำลาย สเปิร์ม หรือเยื่อผิวหนังบางบริเวณทวารหนัก นอกจากการติดต่อโดยตรง เช่น จากการสัมผัสเชื้อ การร่วมเพศ การจูบ

นอกจากนั้นยังพบว่าฝีดาษลิงสามารถติดต่อโดยการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น การใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้ป่วยฝีดาษลิง ก็สามารติดต่อได้เช่นกัน

ผู้ที่ได้รับเชื้อฝีดาษลิง จะแสดงอาการภายใน 5 -21 วัน หลังจากการรับเชื้อ

อาการฝีดาษลิง

1. ตุ่มพองตามร่างกาย พบได้ทั้งที่หน้า ปาก รอบอวัยวะเพศ ทวารหนัก ผู้ป่วยที่มีตุ่มพองจะรู้สึกคัน หรือเจ็บปวด จากข้อมูลของผู้ที่เคยติดเชื้อพบว่า ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบที่ตุ่มพองมาก ซึ่งจำเป็นต้องรักษาในโรงพยาบาลและใช้ยาแก้ปวดช่วยบรรเทาอาการ
2. อาการไข้ และปวดตามร่างกาย
3. อาการต่อมน้ำเหลืองบวมโต
4. อาการอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น ปวดหนักที่ท้องน้อย ปัสสาวะลำบาก ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นเลือด

>>>อาการของฝีดาษลิงจะคล้าย ๆ อาการของโรคเริม งูสวัด หรืออีสุกอีใส ซึ่งหากเรามีอาการ หรือพบคนที่มีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อทันที เพราะโรคนี้เป็นโรคที่องค์การอนามัยโลกกำลังควบคุมและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ผู้ป่วยฝีดาษลิงมีอาการตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงอาการหนักมาก ถึงอาจขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอ

>>>การรักษา และฉีดวัคซีนฝีดาษลิง

ขณะนี้ยังไม่มียารักษาฝีดาษลิงที่เฉพาะเจาะจง หากเป็นเพียงให้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น เช่น หากปวดมาก ก็ให้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด

>>จากรายงานข่าวในประเทศสวีเดนพบว่ามีวัคซีนบางชนิดที่ถูกนำมาใช้เพื่อลดอาการของโรค ซึ่งประเทศสวีเดน มีนโยบายฉีดวัคซีนให้เฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสเชื้อเท่านั้น ยังไม่มีการฉีดให้แก่บุคลลทั่วไป เนื่องจากวัคซีนมีจำนวนจำกัด

เครดิต
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO)
ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขประเทศสวีเดน (The Swedish Public Health Agency ) และ 1177.se

แชร์ให้เพื่อน