นวดแผนไทย  ช่วยคลายอาการออฟฟิศซินโดรม

แชร์ให้เพื่อน

นวดแผนไทย  ช่วยคลายอาการออฟฟิศซินโดรม

อาการออฟฟิศ​ซินโดรม เป็นปัญหาสุขภาพของวัยทำงาน ที่เกิดจาก การใช้กล้ามเนื้อต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์​ โทรศัพท์มือถือ การทำงานบ้านประจำ  มีอาการ ปวดบ่า ต้นคอร้าวขึ้นศีรษะปวดกระบอกตา  วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย  ชาแขนและปลายนิ้ว  กล้ามเนื้อตึง  แข็งเป็นก้อน
  การป้องกันและบำบัดอาการออฟฟิศ​ซินโดรม ด้วยการนวดแผนไทยก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  ซึ่งเป็นวิธีการบำบัดเบื้องต้นมาช้านานและ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน   มีงานวิจัยด้านการแพทย์ระบุว่า การนวด และประคบสมุนไพร ช่วยบำบัดอาการออฟฟิศ​ซินโดรมได้  โดยช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว  กล้ามเนื้อยืดหยุ่นดีขึ้น  ลดอาการแข็งตึง ยึดติด  ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น  ร่างกายผ่อนคลาย  ควรนวดจากผู้ที่มีทักษะประสบการณ์​ในการนวดแผนไทย

นอกจากการนวดแล้วยังมีการบริหารร่างกายเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และข้อต่อ ที่ช่วยป้องกันและลดอาการ ปวดกล้ามเนื้อ  คอบ่าไหล่ ได้แก่

1.ท่าชูหัตถ์​วาดแขนขวา โดยการวาดแขนขวาไปที่หัวไหล่ซ้าย  เอียงศรีษะไปทางขวาเล็กน้อย ใช้อุ้งมือขวาบีบกล้ามเนื้อ แล้วคลายออก ทำสลับบีบคลายประมาณ1-2นาที  หลังจากนั้นชูแขนซ้ายขึ้นเหนือศรีษะ​พร้อมสูดหายใจเข้าช้าๆลึกๆ ค่อยๆลดแขนลงพร้อมหายใจออกทางปากช้าๆ ทำ 20 ครั้งต่อรอบ ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่ซ้ายคลายตัว ช่วยให้ปอดขยายตัว การแลกเปลี่ยนอากาศหายใจดีขึ้น เลือดไหลเวียนดีขึ้น

2.ท่าชูหัตถ์​วาดแขนซ้าย โดยการวาดแขนซ้ายไปที่หัวไหล่ขวา  เอียงศรีษะไปทางซ้าย เล็กน้อย ใช้อุ้งมือซ้ายบีบกล้ามเนื้อ แล้วคลายออก ทำสลับบีบคลายประมาณ1-2นาที  หลังจากนั้นชูแขนขวาขึ้นเหนือศรีษะ​พร้อมสูดหายใจเข้าช้าๆลึกๆ   ค่อยๆลดแขนลงพร้อมหายใจออกทางปากช้าๆ ทำ 20 ครั้งต่อรอบ ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่ขวาคลายตัว ช่วยให้ปอดขยายตัว การแลกเปลี่ยนอากาศหายใจดีขึ้น เลือดไหลเวียนดีขึ้น

3.ท่าบิดขี้เกียจ โดยการยกแขนซ้ายไปข้างหน้า ใช้แนขวาเกี่ยวแขนซ้าย ค่อยๆดึงเข้าหาลำตัว พร้อมกับค่อยหันศรีษะไปทางซ้ายพักไว้ 1 นาทีแลัวคลายออกทำสลับข้างไปมาประมาณ 1-2 นาที จะช่วยให้ข้อต่อที่หัวไหล่ และกล้ามเนื้อหัวไหล่ ยืดขยายและผ่อนคลาย  ลดอาการยึดติด เมื่อยล้าได้

4.ท่าก้มหน้า เงยหน้า โดยนั่งตัวตรงสูดหายใจเข้าทางจมูกลึกๆพร้อมกับเงยหน้าขึ้นให้สุด  แล้วค่อยๆเป่าลมหายใจออกทางปากช้าๆ พร้อมกับการก้มหน้าลงให้สุด ทำ 3 ชุด ช่วยให้กล้ามเนื้อ และกระดูกต้นคอ คลายตัว  ควรความระมัดระวังกับผู้ที่มีปัญหากระดูกคอทับเส้นประสาท

5.ท่าหันหน้าซ้าย ขวา ใช้มือประคองคางทำ 3 ชุด
6.ท่าหมุนศรีษะเป็นวงกลม  ข้างล่ะ 3 รอบ ควรระมัดระวังกับผู้ที่มีปัญหากระดูกคอทับเส้นประสาท

การบริหารร่างกายในระหว่างวันช่วงเวลาทำงานนานๆ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคลเช่นผู้ที่มีปัญหากระดูกคอทับเส้นประสาทและหัวไหล่หลุดไม่ควรทำท่าบริหารร่างกายที่กล่าวมาเพราะอาจทำให้อันตรายได้

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ออฟฟิศซินโดรม คุกคามสุขภาพวัยทำงาน

แชร์ให้เพื่อน

ออฟฟิศซินโดรม คุกคามสุขภาพวัยทำงาน

ออฟฟิศ​ซินโดรม (Office syndrom)   คืออาการปวดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิมๆ ซ้ำๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เช่นการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบทนานๆ จนทำให้เกิดอาการปวดสะสมและเรื้อรังตามมาในที่สุด
พบเจอได้บ่อยในวัยทำงาน อาการที่พบบ่อยเช่น  อาการชาที่แขน มือ และปลายนิ้ว ซึ่งเกิดจากเส้นประสาทบริเวณดังกล่าวถูกกดทับต่อเนื่อง ดังนั้นการเอาใจใส่และดูแลสุขภาพของตนเอง จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอาการได้

สาเหตุของการเกิดอาการ
1.เก้าอี้ โต๊ะ นั่งทำงานไม่เหมาะสม เช่น สูงหรือต่ำเกินไป ไม่เหมาะกับสรีระของร่ายกาย

2.สภาพร่างกายและจิตใจที่ส่งผลต่อภาวะเจ็บป่วยเช่น ความเครียดจากงาน รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา  พักผ่อนไม่เพียงพอ

อาการของออฟฟิต​ซินโดรม
1.ปวดกล้ามเนื้อส่วนของร่างกายเช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง  ซึ่งพบบ่อยกว่าบริเวณอื่น  มีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง ระบุตำแหน่งได้ไม่ชัดเจน  ปวดร้าวทั่วบริเวณไกล้กันหลายตำแหน่ง   ปวดล้า รำคาญ จนถึงปวดทรมานทนไม่ไหว ต้องกินยาแก้ปวดเป็นประจำหรือพบแพทย์

2.อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาที่แขนและมือ ตลอดจนมีอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทเป็นเวลานาน

การป้องกันเพื่อลดปัญหาออฟฟิศ​ซินโดรม
1.ปรับอิริยาบทในการทำงานทุก 50 นาทีเช่นกรณีนั่งทำงานควรลุกเดิน เพื่อเปลี่ยนอิริยาบทและช่วยให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย ยืดเหยียด สัก5-10นาที

2.สำรวจที่ทำงาน โต๊ะ เก้าอี้  เหมาะกับสรีระ​หรือถ้าไม่เหมาะสมควรปรับเปลี่ยน เพื่อลดโอกาส​การเกิดอาการได้

3.มีกิจกรรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อระหว่างการทำงาน และหลังจากการทำงานแต่ล่ะวัน

การรักษาอาการออฟฟิศ​ซินโดรม
หลังจากได้รับการวินิจจากแพทย์แล้ว แนวทางการรักษาเฉพาะบุคคลแบ่งตามระดับความรุนแรงของอาการเช่น
1.การยืดกล้ามเนื้อ จะช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมีมุมการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น ช่วยป้องกันการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ และลดการบาดเจ็บ

2.การนวดแผนไทย เป็นวิธีการทางธรรมชาติที่เกิดจากการเรียนรู้ของมนุษย์ เช่น การบีบนวด กดจุดบริเวณตำแหน่งที่มีอาการเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมีอาการผ่อนคลาย นับว่าเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทยเช่น ท่าการนวดของวัดโพธิ์​ที่ได้รับความนิยมถึงต่างประเทศ
3.การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นการรักษาด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย  โดยนักกายภาพบำบัดเป็นผู้กำหนดโปรแกรมการรักษาเพื่อฟื้นฟูให้สามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด
4.การฝั่งเข็ม ครอบแก้ว นับเป็นศาสตร์​การรักษาแบบจีนสมัยโบราณปัจจุบันมีการนำมาใช้เพื่อการบำบัดอาการออฟฟิศ​ซินโดรมในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย โดยอาศัยกลไกการยับยั้งและช่วยระงับอาการปวด ช่วยปรับสมดุลของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ
5.การใช้ยาเพื่อบรรเทา​อาการ   เป็นทางเลือกที่นิยมใช้บ่อย  การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร  เนื่องจากยากลุ่มลดอาการปวดจะส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารเช่น ปวดท้อง โรคกระเพาะอาหาร  ฉะนั้นต้องระมัดระวังในการใช้ยา

ถึงแม้ว่าอาการของออฟฟิสซินโดรมไม่ได้ส่งผลให้เสียชีวิตแต่ก็รบกวนการดำเนินชีวิตมากทีเดียวฉะนั้นควรป้องกันดีกว่าเกิดอาการแล้วมารักษา

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน