โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน(Ischemic Stroke)​

แชร์ให้เพื่อน

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน(Ischemic Stroke)​ระวังภัยเงียบใกล้ตัว(ตอนจบ)

การตรวจวินิจฉัย​โรคหลอดเลือดสมองมีความเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง?
1.การตรวจเพื่อประกอบการวินิจฉัยและการรักษาโรค​จากอาการเบื้องต้นที่เกิดขึ้นและโดยวิธีการซักประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองต่างๆ เช่น เกิดขึ้นเวลาเท่าไหร่  ขณะนั้นผู้ป่วยกำลังทำอะไรอยู่ ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน​และการรับประทานยารักษาโรคในปัจจุบัน เป็นต้น โดยผู้ป่วยหรือญาติต้องให้ข้อมูลที่้เป็นจริงเพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค​และการรักษา โดยผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยอาจได้จากผู้ป่วยหรือต้องเป็นบุคคลที่ใกล้ชิด​กับผู้ป่วยมากที่สุด
2.การวินิจฉัยโรค​โดยดูจากภาพสมอง การทำเอ็กซเรย์​คอมพิวเตอร์​สมอง การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยผู้ป่วยหรือญาติต้องให้ประวัติการแพ้ยาหรืออาหารแก่ผู้ตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเอง

ยาอะไรบ้าง? ที่ผู้ป่วยหรือญาติควรทราบในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเพื่อสามารถเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของยาได้
1.ยาละลายลิ่มเลือด​ เป็นยาที่ใช้ในโรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้ป่วยหรือญาติต้องให้ข้อมูลแก่โรงพยาบาลด้านประวัติการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดเนื่องจากเป็นข้อห้ามในการใช้ยาเพื่อการรักษาในกลุ่มนี้ และระยะเวลาที่เกิดอาการอย่างชัดเจนเพราะยากลุ่มนี้ให้ได้ผลดีภายใน 3-4.5ชั่วโมง จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดอาการเตือนต้องรีบนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเพื่อประโยชน์ในการรักษาและฟื้นกลับสู่ใกล้เคียงสภาพเดิมให้มากที่สุด
2.ยาต้านเกล็ดเลือด​ ยาที่ใช้ในการรักษากลุ่มนี้มีอาการข้างเคียงที่สำคัญคือ คลื่นไส้​  อาเจียน ระคายเคือง และเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกทางเดินอาหารได้โดยแนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตุ​อาการถ่ายดำ หรืออาการปวดท้อง
3.ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เป็นการให้ยาเพื่อวัตถุประสงค์​ป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดสมองมากขึ้น

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับคือ
1.ระดับปฐม​ภูมิ เน้นการส่งเสริมให้มีภาวะสุขภาพร่างกายที่ดี และการให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง โดยเน้นให้ความรู้เรื่อง 5 อาการเตือนที่สำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักและรีบเข้ารับการรักษา วิธีการลดปัจจัยเสี่ยง​ของโรคหลอดเลือดสมอง การจัดการแก้ปัญหาเบื้องต้นกับ 5 อาการเตือน เป็นต้น
2.ระดับทุติยภูมิ​ การตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อคัดกรองโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องและสามารถ​วาวแผนเพื่อป้องกันโรคเช่น ความดันโลหิต​สูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด​ หลอดเลือดแดง​ใหญ่​ที่คอตีบ ไขมันในเลือดสูง การหยุดสูบบุหรี​ การควบ​คุม​ความดันโลหิต​ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การควบคุมไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดโดยเกี่ยวข้องกับอาหารการกิน

การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น ต้องเริ่มต้นดูแลตั้งแต่ยังไม่เกิดความเจ็บป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เช่น การตรวจคัดกรองโรคต่างๆ เพื่อเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้เช่น การสูบบุหรี่ การดื่ม​แอลกอฮอล์​  การลดน้ำหนักของร่างกายให้ได้มาตรฐาน การลดปััจจัยด้านความเครียด การออกกำลังกาย​อย่าง​สม่ำเสมอ​ เป็นต้น ระยะที่มีอาการหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที ทำให้มีเลือดกลับมาเลี้ยงสมองที่ขาดเลือดไปเลี้ยงก็อาจช่วยให้สมองฟื้นขึ้นและกลับมาทำงานได้ปกติเพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเกิดความพิการและเสียชีวิตลงได้

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน(Ischemic Stroke) ตอนที่ 1

แชร์ให้เพื่อน

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน (Ischemic​ Stroke)​  ระวัง ภัยเงียบใกล้ตัว  (ตอนที่ 1)

แชร์ให้เพื่อน

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน (Ischemic​ Stroke)​  ระวัง ภัยเงียบใกล้ตัว  (ตอนที่ 1)

โรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตรองลงมาจากมะเร็งและโรคหัวใจส่งผลให้เกิดความพิการและเสียชีวิตตามมา ความชุกของโรคพบในประเทศ​กำลังพัฒนา  สำหรับในประเทศไทยพบโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มอายุ 15-74ปีและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากจากอาการอัมพาต​อัมพฤกษ์​

กลุ่มของโรคหลอดเลือดสมองทำให้​เซลล์​สมองขาดเลือดและออกซิเจน​ไปเลี้ยงเกิดจากผนังของหลอดเลือด​สมองมีไขมันสะสมหนาขึ้น การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองเกิดความบกพร่อง ผิดปกติส่งผลให้เซลล์​สมองเกิดความเสียหายหรือมีเลือดออกในเนื้อสมอง อาจมีพยาธิ​สภาพที่หลอดเลือดเส้นเดียวหรือหลายเส้น อาจเป็นเพียงชั่วคราวหรือถาวรก็ได้  แต่ยังมีผู้ป่วยบางกลุ่ม มีอาการผิดปกติทางระบบประสาท​จากสมองขาดเลือดและมีอาการกลับสู่ปกติภายใน24ชั่วโมงเรียกว่า Transient Ischemic Attack

โรคหลอดเลือด​สมองแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
1.โรคหลอดเลือด​สมองจากการขาดเลือดหรือจากหลอดเลือด​สมองอุดตัน(Ischemic​ stroke or Occlusion Stroke)  เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดร้อยละ 70-80 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด ซึ่งสาเหตุเกิดจากภาวะหลอดเลือด​แข็งตัว​ ตำแหน่งที่เกิดการอุดตันได้ง่ายคือ ตำแหน่งที่เป็นทางแยก​ของเส้นเลือด
2.โรค​หลอดเลือด​สมองที่เกิดจากเส้นเลือดในสมองแตก มักพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

การอุดตัน​ของหลอดเลือด​สมองเกิดขึ้นได้อย่างไร?
1.Thrombosis เป็นการอุดตันของระบบไหลเวียนเลือด อาจเกิดที่เส้นเลือดใหญ่ที่คอ หรือที่ศีรษะ​หรือเกิดการอุดตันของเส้นเลือดเล็กในสมอง ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุเช่น ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ผนังหลอดเลือด​ฉีกขาด หลอดเลือด​อักเสบจากการติดเชื้อ ส่งผลให้เลือดไหลผ่านได้น้อยหรือผ่านไม่ได้
2.Embolism การเกิดลิ่มเลือด​ หรือก้อนเลือดในบริเวณ​อื่นมาอุดตันที่เส้นเลือด​สมอง ลิ่มเลือดมีส่วนประกอบของเกล็ดเลือด​ หรือส่วนประกอบอื่น ตำแหน่งที่พบลิ่มเลือดบ่อยคือหัวใจ สาเหตุเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ การอักเสบ​ติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ​ เศษชิ้นส่วนของแคลเซียม​ที่เกาะในลิ้นหัวใจ หลุดเข้าสู่กระแสเลือด​ไปอุดตันที่หลอดเลือด​สมอง
3.ลิ่มเลือดที่เกิดจากเส้นเลือด​แดง​ตำแหน่ง​อื่นหรือเส้นเลือดดำ เช่น ชิ้นส่วนจากมะเร็ง ฟองอากาศ​ ไขมัน เข้าไปอุดตันในเส้นเลือดสมองเกิดภาวะสมองขาดเลือดในช่วงแรกพอชิ้นส่วนอุดตันเคลื่อนที่ออกไปทำให้เกิดแรงดันเลือดสูงขึ้นทำให้เกิดเลือดออกในเนื้อสมองตามมาได้

อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองมีอะไรบ้าง?
อาการมักเกิดขึ้นทันทีทันใด​หรือภาวะ​เฉียบพลัน​ สมาคมโรคหัวใจและ​หลอดเลือด​ของสหรัฐ​อเมริกา​จำแนก 5 อาการเตือนไว้ดังนี้
1.อาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรงของหน้า แขนหรือขา โดยเฉพาะ​กับร่างกาย​ซีกใดซีกหนึ่งทันที​ทันใด​
2.อาการสับสนหรือพูดลำบาก​หรือพูดไม่รู้เรื่องอย่างทันทีทันใด​
3.อาการตามัวมองไม่ชัดข้างหนึ่งหรือสองข้างทันทีทันใด​
4.อาการเดินเซ หรือเดินลำบาก สูญเสีย​การทรงตัว ทันทีทันใด​
5.อาการปวดศีรษะ​อย่างรุนแรง​โดยไม่ทราบ​สาเหตุอย่างทันทีทันใด​

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมีอะไรบ้าง?
1.ความดันโลหิต​สูง เป็นปัจจัย​เสี่ยงที่ทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองแตกและเนื้อสมองตาย
2.การสูบบุหรี่​เป็นปัจจัย​สำคัญ​ของโรคหลอดเลือดสมองเพราะมีผลต่อ​การเกาะกลุ่มของเกร็ด​เลือด​ เพิ่มระดับคอเลสเตอรอล​รอล สารนิโคติน​ในบุหรี่​ทำให้หลอดเลือด​แดงเกร็ง ลดความยืดหยุ่น​ของเส้นเลือด เพิ่มระดับไฟบริโนเจน ลดระดับไขมันดีของร่างกาย หัวใจทำงานมากขึ้น ความดันสูงขึ้น รวมถึงปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์​ที่เพิ่มขึ้นทำให้หลอดเลือด​สมองตีบง่ายขึ้น
3.โรคหัวใจ เมื่อเกิดลิ่มเลือดที่หัวใจมักเคลื่อนไปอุดตันที่เส้นเลือด​สมองได้ง่ายขึ้น
4.โรคเบาหวาน มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด​สมองเป็นสองเท่า
5.ระดับคอเลสเตอรอล​ในเลือด​สูง​หรือภาวะไขมันในเลือดสูง
6.เส้นเลือดแดงที่คอตีบตันโดยไม่มีอาการ
7.ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดแดงแข็งมีปัจจัย​เสี่ยงมากกว่าคนปกติ
8.ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
9.มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน
10.ความอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน
11.ภาวะความเครียด
12.ขาดการออกกำลังกาย​ การออกกำลังกายช่วยลดภาวะอ้วนและความเครียด เพิ่มระดับไขมันดีและลดระดับไขมันเลวในร่างกาย
13.เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์​เป็นส่วนผสม การดื่มสุรามากกว่า5แก้วต่อวันเพิ่มปัจจัย​เสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเนื่องจากความดันสูง เกร็ดเลือดเกาะกลุ่มทำให้เลือดแข็งตัวเร็วขึ้น
14.อายุ อายุมากขึ้นเมื่อเกิน 55 ปีจะมีปัจจัย​เสี่ยงเป็นสองเท่า
15.เพศ พบว่าโรคหลอดเลือดสมองพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
16.เชื้อชาติเผ่าพันธุ์​พบว่ากลุ่มคนผิวดำมีปัจจัย​เสี่ยงสูงกว่ากลุ่มคนผิวขาว
17.ประวัติในครอบครัวสายตรงเช่นครอบครัวที่พ่อแม่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองทำให้ลูกมีปัจจัยเสี่ยงสูงกว่า

ติดตามอ่านบทความต่อในตอนที่2. คะ

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ตอนที่ 2

 

แชร์ให้เพื่อน