ตอน 4.   9 แนวทางการเลือกที่พักอาศัยในต่างประเทศ (รีวิวสถานที่พัก)

แชร์ให้เพื่อน

ตอน 4.   9 แนวทางการเลือกที่พักอาศัยในต่างประเทศ (รีวิวสถานที่พัก)

Episodes 4 การเดินทางท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตในต่างแดนของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

             การเดินทางไปต่างประเทศแยกออกตามวัตถุประสงค์ของการเดินทางไปในประเทศนั้นๆ เช่น การเดินทางเพื่อท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ การเดินทางเพื่อเยี่ยมญาติ (นี่คือวัตถุประสงค์ของผู้เขียน) การเดินทางเพื่อพักอาศัยในต่างประเทศกรณีติดตามสามีหรือภรรยา (การย้ายบ้าน) การเดินทางเพื่อไปเรียนหนังสือ การเดินทางเพื่อไปทำงานต่างประเทศ การเดินทางเพื่อการติดต่อการค้าทางธุรกิจ เป็นต้น สำหรับผู้เขียนนั้นมีวัตถุประสงค์ของการเดินทางคือ การมาเยี่ยมญาติและการท่องเที่ยว การเลือกที่พักอาศัยจึงเลือกใกล้กับที่พักอาศัยของญาติ ให้สามารถเดินไปมาหาสู่กันได้สะดวก เนื่องจากเส้นทางเดินรถเป็นทางเดียวเป็นส่วนใหญ่ การขับรถใช้เลนขวา มีการจราจรคับคั่ง รถติดมากมาย บีบแตรกันจ้าละหวั่น ดีหน่อยตรงที่การข้ามถนนนั้นมีสัญญาณไฟคล้ายเมืองพัทยาที่ผู้เขียนได้ทดลองไปอยู่มาก่อนช่วงก่อนเดินทางมาเที่ยวที่นี่

            การเลือกที่พักอาศัยนั้นญาติเป็นผู้จัดหาให้ โดยห้องมีขนาดไม่ใหญ่มาก มีแอร์ ทีวี ไวไฟล์ ตู้เย็น ไมโครเวฟ เตาไฟฟ้า อุปกรณ์เครื่องครัว (แต่ก็ไม่ได้ใช้ทำอะไรมาก แค่อุ่นอาหาร ชงกาแฟ) เรามาดูกันเลยคะว่าที่พักในการเดินทางครั้งนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง?

  1. แนวทางการเลือกที่พักอาศัยในการเดินทางท่องเที่ยวและเยี่ยมญาติในครั้งนี้อยู่ใกล้กับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ชื่อว่า Walter Mart ซึ่งมีสินค้ามากมายหลากหลายให้เลือกซื้อทั้งของกิน ของใช้ ภัทรตาคาร ร้านอาหารหลากหลายชาติ ราคาสินค้าก็มีราคาแพงบ้าง ถูกบ้าง สามารถเดินเข้ามาจับจ่ายใช้สอยแบบครบจบ ในขั้นตอนเดียว แค่เดินข้ามสี่แยกก็ถึงแล้ว สามารถมองเห็นได้จากที่พักได้อย่างง่ายดาย และอยู่ใกล้กับ 711 แค่เดินทางไปหนึ่งนาทีก็ถึงแล้ว
  2. แนวทางการเลือกที่พักอาศัยในการเดินทางท่องเที่ยวและเยี่ยมญาติในครั้งนี้อยู่ใกล้กับตลาดสด ซึ่งสามารถเดินไปได้ ผ่านสองสี่แยกสัญญาณไฟจราจรก็ถึงแล้ว สินค้ามีอาหารสด อาหารแห้ง ผักผลไม้ และ กล้วยหอมนี่เห็นมีขายได้เกือบทุกจุด รสชาติดี มะพร้าวก็เยอะราคาไม่แพงมาก พอๆกับเมืองไทย เนื่องจากตลาดสดริมถนน จึงไม่สกปรกเท่าไหร่ กุ้ง หอย ปูปลาราคาไม่แพงมาก
  3. แนวทางการเลือกที่พักอาศัยในการเดินทางท่องเที่ยวและเยี่ยมญาติในครั้งนี้อยู่ใกล้สวนสาธารณะ สามารถเดินทางจากที่พักไปบ้านญาติก็ผ่านสวนสาธารณะถึงสองสวนเลยทีเดียว สำหรับสวนสาธารณะนั้นใช้สำหรับการวิ่งออกกำลังกาย พาสัตว์เลี้ยงเดินเล่น มีสนามเด็กเล่น และมีที่นั่งเขียนหนังสือหรืออ่านหนังสือ เขียนบทความได้
  4. แนวทางการเลือกที่พักอาศัยในการเดินทางท่องเที่ยวและเยี่ยมญาติในครั้งนี้อยู่ใกล้กับสถานทูตของประเทศไทยซึ่งเดินจากที่พักประมาณห้านาทีก็ถึงแล้ว
  5. แนวทางการเลือกที่พักอาศัยในการเดินทางท่องเที่ยวและเยี่ยมญาติในครั้งนี้มีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับว่ายน้ำ ซึ่งเป็นสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ ความลึกไม่ลึกมากนัก เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ผู้เขียนได้ไปทดลองว่ายมาแล้ว
  6. แนวทางการเลือกที่พักอาศัยในการเดินทางท่องเที่ยวและเยี่ยมญาติในครั้งนี้มีพื้นที่สำหรับวิ่งออกกำลังกาย เดินออกกำลังกายค่อนข้างใหญ่ เดินหรือวิ่งเหงื่อออกได้เหมือนกัน เช้าๆ มีคนวิ่งออกกำลังกายประปราย
  7. แนวทางการเลือกที่พักอาศัยในการเดินทางท่องเที่ยวและเยี่ยมญาติในครั้งนี้มีพื้นที่การเล่นฟิตเนส เครื่องออกกำลังกายเป็นลู่วิ่งอย่างเดียวเท่าที่เห็น
  8. แนวทางการเลือกที่พักอาศัยในการเดินทางท่องเที่ยวและเยี่ยมญาติในครั้งนี้มีห้องสำหรับเด็กๆ เล่นของเล่น และมีสนามเด็เล่นซึ่งไม่ใหญ่มากช่วงเย็นจะมีเด็กๆ วิ่งเล่นกันประปราย
  9. แนวทางการเลือกที่พักอาศัยในการเดินทางท่องเที่ยวและเยี่ยมญาติในครั้งนี้มีห้องนั่งเล่นเขียนหนังสือ อ่านหนังสือ เป็นบรรยากาศแบบเปิด อากาศถ่ายเท ลมโกรกพัดผ่าน แต่ฝุ่นละอองเยอะ เจ็บคอ และคันตากันเลยทีเดียว

    สำหรับการเลือกที่พักอาศัยซึ่งอยู่ไกล้กับสถานที่ต่างๆ ช่วยให้เราประหยัดค่าเดินทางในการออกไปจับจ่ายซื้ออาหารการกิน แต่ค่าที่พักอาจแพงขึ้นมาพอสมควร แต่ก็ช่วยให้ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมสามารถใช้ชีวิตได้ง่ายและสะดวกสบายมากขั้น

หากสนใจบทความแนวท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม หลงๆ ลืมๆ สามารถติดตามอ่านได้เพิ่มเติมที่ healthybestcare.com

 

แชร์ให้เพื่อน

เรื่องเล่า  ไกด์แนะนำเส้นทางเดินกลับบ้านของสองเจนเนอเรชั่น(Gen baby boomer Gen Z)​

แชร์ให้เพื่อน

เรื่องเล่า  ไกด์แนะนำเส้นทางเดินกลับบ้านของสองเจนเนอเรชั่น(Gen baby boomer Gen Z)​

       หลังจากผู้เขียนซึ่งอยู่ในเจนเนอเรชั่น X ที่มีอาการหลงๆลืมๆ สมองเริ่มเสื่อม เข้าสู่วัยทอง จดจำเส้นทางเดินทางระหว่างที่พักไปบ้านหลานๆ ไม่ได้ และจำที่พักของตนเองไม่ได้ เกิดอาการหลงทางหาที่พักไม่พบซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางพลบค่ำทั้งที่เดินทางไปกลับสองครั้ง วันรุ่งขึ้นเวลาเช้าเป็นหน้าที่ของไกด์ Gen baby boomer มารับตัวจากที่พักตอนเช้า เพื่อแนะนำเส้นทางเดินกลับไปที่พักหลานๆ
ณ. เวลาแปดโมงเช้า ที่หน้าตึกที่พักของผู้เขียน
(ไกด์ baby boomer) : ยื่นปากกาพร้อมกระดาษหนึ่งแผ่นที่พับครึ่งมาให้ พร้อมกับพูดว่า”เขียนลงไป เลี้ยวซ้าย”
(ผู้เขียน)​: งงพักหนึ่ง พร้อมคลี่กระดาษเปิดดู จะให้เขียนทำไม พร้อมเดินตามไกด์รุ่น baby boomer แต่ไม่ยอมเขียนอะไร เพราะยังไม่เข้าใจ นึกในใจทำไมต้องทำตามคำสั่งด้วยละ งงอยู่ไม่รู้เหตุผลทำไมต้องเขียน
(ไกด์รุ่นbaby boomer)​: หันมาพูดอีกครั้ง ทำหน้าขึงขัง เขียนลงไป เลี้ยวซ้าย และเดินตรงไป
(ผู้เขียน)​:ถึงบางอ้อ จะให้วาดแผนที่เดินทางก็ไม่บอกกันตรงๆ ทำเรางงอยู่ตั้งนาน พร้อมลงมือวาดตึกที่เริ่มต้นเดินทาง ทำลูกศรชี้ออกจากตึกเพื่อเลี้ยวซ้าย แต่ยังไม่ยอมเขียนว่า เลี้ยวซ้าย เดินตรงไป เพราะเราเข้าใจของเราแล้ว
(ไกด์ baby boomer) : เขียนลงไปว่า เลี้ยวซ้าย พูดบังคับให้เขียนให้ได้ เลี้ยวขวา เดินตรงไป
(ผู้เขียน)​: เดินตามแบบเงียบๆ พร้อมวาดลายแทงทางเดินของตนเองอีกครั้งด้วยลูกศรชี้ไปมา เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เดินตรงไป พร้อมกับเขียนยิกๆ เหมือนทำตามคำสั่ง เพราะหากไม่ทำตามคำสั่งเดี่ยว Gen baby boomer อารมณ์​เสียใส่
(ไกด์ baby boomer) :พาเดินตามถนนใหญ่ พร้อมแนะนำชื่อตึกที่สำคัญ ชื่อถนน สี่แยกต่างๆ ใช้เวลาเดินประมาณ 5 นาที ถึงที่พักเด็กๆสองคน อย่างปลอดภัย แต่ตลอดการเดินทางเพื่อแนะนำเส้นทางกลับรู้สึกกังวล เคร่งเครียดกันเลยทีเดียว

ณ.เวลาพลบค่ำ เดินเส้นทางเดิมพร้อมเด็กๆ สองคน
(ไกด์ Gen Z)​: เดินออกจากตึก วิ่งเล่นหยอกล้อกันสนุกสนาน เมื่อถึงเซเว่นก็วิ่งเข้าไปเลือกซื้อน้ำหวาน ขนม เพราะเหนื่อยจากการว่ายน้ำมาร่วมสองชั่วโมง
หลังได้ขนมกับน้ำ ก็ยื่นสัมภาระกระเป๋าชุดว่ายน้ำมาให้เราหิ้ว ตัวเองเดินกินขนมตัวปลิว เมื่อถึงทางข้ามถนนก็ไปกดสัญญาณให้รถจอดเพื่อรอจะข้ามถนน แต่ก็กดหลายครั้ง ผู้เขียน นึกในใจ ความวัวยังไม่หาย ความควายจะเข้ามาอีกไหม (ประเด็นกดสัญญาณ​เตือนไฟไหม้ในตึก)​
(ผู้เขียน)​: ทำไมพามาทางนี้ละ งงกับเส้นทางนิดหนึ่งเพราะเหมือนยังไม่เคยเดินผ่านมาก่อน ไม่เห็นสิ่งแวดล้อมแบบนี้มาก่อน พร้อมกับพูดขึ้นว่า “เมื่อเช้าไม่ใช่เดินทางนี้นะ”
(ไกด์ Gen Z)​: อย่าเชื่อลุง ชอบมั่วตลอด แต่ไม่ได้แนะนำชื่อสถานที่ เดินไปเล่นไป คุยกันไปเรื่อยเปื่อยสองคน เราก็เดินตามไปเรื่อยๆ อย่างมีความสุข สังเกตเส้นทางไป เมื่อถึงสวนสาธารณะ​นางพาเดินลัดเข้าสวนเฉยเลย พร้อมชวนนั่งเล่น ถ่ายวีดีโอแนะนำสถานที่ กินขนมต่อทั้งที่เวลาพลบค่ำมากแล้ว
(ผู้เขียน)​:เดินออกจากสวนสาธารณะเหลือบตามองไป พร้อมกับอุทานเบาๆ อ้าวนั่นตึกที่พักนี่ ทำไมถึงเร็วจังแป๊ปเดีียวเอง แต่จริงๆ แล้วมัวแต่นั่งเล่น ถ่ายวีดีโอในสวนสาธารณะ​ จนแม่โทรตาม เนื่องจากนานผิดสังเกต หลังจากเดินข้ามถนนทางม้าลาย
(ไกด์ Gen Z)​ : แม่ไปถ่ายรูปตรงนั้นได้นะ ผู้เขียนเหลือบตามองดู มันเป็นซอกต้นไม้ เหมือนจะมีงูแอบอยู่ พร้อมพูดว่า ไม่กล้าไปถ่ายหรอกกลัวงูกัด นางตอบถ่ายรูปได้ เดินต่อไปซักพัก ก็ถึงบ้านอย่างปลอดภัย แต่ใช้เวลานานเกือบชั่วโมงเพราะมัวแต่แวะข้างทาง ซื้อขนมกิน แวะถ่ายวีดีโอ มีความสุขกันไป เหมือนเวลาผ่านไปแค่ห้านาที

จากการพาเดินตามเส้นทางกลับบ้าน ตามแนวคิดของสองเจน​เนอ​เรชั่น​นั้น จะเห็นได้ว่า Gen baby boomer จะใช้วิธีการบอกเส้นทางแบบบังคับให้เขียนโน่น นี่ นั่น เคร่งเครียด ตลอดเส้นทางเดิน เกิด รู้สึกไม่ผ่อนคลาย กังวลกับเส้นทางเดิน ขณะที่ไกด์ Gen Z นั้นพาแวะซื้อขนม เดินเล่นหยอกล้อ ลัดเส้นทาง แวะเข้าถ่ายวีดีโอ นั่งเล่นในสวนสาธารณะ​ กลับรู้สึกมีความสุข สนุกสนาน เพราะว่าเด็กนั้นจะไม่มีเรื่องให้ต้องคิดหรือมีความวิตกกังวลใดๆ ขณะที่การใช้ชีวิตของผู้ใหญ่ เต็มไปด้วยความเคร่งเครียด ผู้เขียนจึงได้แนวคิดจากการใช้ชีวิตแบบเด็กๆ มาว่า บางครั้งเราไม่ต้องเดินตามเส้นทางตรง หยุดพักบ้าง กินขนมบ้าง หยอกล้อกันบ้าง จะช่วยให้ชีวิตมีความสุขขึ้นมาตั้งแยอะ อย่าเคร่งเครียดมากนักเพราะชีวิตคนเราอยู่บนโลกไม่น่าเกินร้อยปีหรอก หากสนใจบทความดีดีสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ตอน.  3 ความแตกต่างของเจนเนอเรชั่น (Gen. Baby Boomer Gen. X Gen. Z)

แชร์ให้เพื่อน

ตอน.  3 ความแตกต่างของเจนเนอเรชั่น (Gen. Baby Boomer Gen. X Gen. Z)

Episodes 4 การเดินทางท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตในต่างแดนของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

มนุษย์มี 4 เจนเนอเรชั่นในโลกนี้ที่ยังคงมีชีวิตอยู่  มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งกลุ่มที่อาศัยอยู่ในแถบเดียวกันมักจะมีความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีความคล้ายคลึงกัน แต่เมื่อมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี่ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว คนมีการเดินทางทางอากาศใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงจากแถบโลกหนึ่ง ไปสู่อีกแถบโลกหนึ่ง และการติดต่อสื่อสารมีความรวดเร็วขึ้นโดยใช้แอฟพลิเคชั่นต่างๆ ภาษาที่มีความแตกต่างก็พัฒนาแอฟพลิเคชั่นแปลภาษาช่วยให้การสื่อสารเข้าใจกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น คนมีการย้ายถิ่นฐานเข้าพักอาศัยรวมกัน ที่มีความหลากหลาย แตกต่างด้านภาษา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น การแต่งงานกับต่างชาติ ต่างภาษา การย้ายที่อยู่อาศัยไปอยู่ในอีกขนบธรรมเนียมประเพณีหนึ่ง ดังนั้นมนุษย์จึงต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีหนึ่งเข้ากับสำนวนไทยที่ว่า “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม”

          การปรับตัวเป็นเรื่องของชีววิทยาที่สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกๆด้าน หากมนุษย์ไม่ปรับตัวแล้ว อาจต้องพบจุดจบดั่งเช่นชีวิตของสัตว์บางชนิดที่ต้องสูญพันธุ์จากโลกใบนี้ไป หากใครที่ใช้ชีวิตโดยไม่ปรับตัวมักจะได้รับฉายาว่า “ไดโนเสาร์ เต่าล้านปี” ผู้เขียนเองนั้นมีช่วงอายุอยู่ใน Gen X เป็นช่วงชีวิตที่พบเจอคอมพิวเตอร์เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว ขณะที่ Gen. Baby Boomer นั้นเกิดในช่วงที่ผ่านพ้นระยะสงครามโลกครั้งที่สอง และเจนเนอเรชั่น Z เกิดมาพร้อมกับความเจริญเติบโตด้านเทคโนโลยี่ สำหรับเด็กในเจนเนอเรชั่น Z นี้จะมีความคิด การใช้ชีวิตที่แตกต่างจากเจนเนอเรชั่นอื่นๆ อย่างชัดเจน เนื่องจากผู้เขียนได้สัมผัสการใช้ชีวิตสำหรับทั้งสามเจนเนอเรชั่นเท่ากับผู้เขียนอยู่ในเจนเนอเรชั่นกลางเทียบเท่ากับลูกคนกลางที่จะต้องเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับทั้งสองเจนเนอเรชั่นเพื่อให้การอยู่ร่วมกันเกิดปัญหาน้อยที่สุด เรามาดูกันเลยว่ามีประเด็นใหนกันบ้าง?

  1. ประเด็นด้านการเงิน ในการจับจ่ายใช้สอยต่างๆ จะเห็นได้ว่า Gen. Baby Boomer นั้นจะใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวัง มีความประหยัดมัธยัสถ์ ไม่ฟุ่มเฟือย รู้จักคุณค่าของเงิน เปรียบเทียบราคาก่อนการจับจ่ายใช้สอย อาหารที่ซื้อมาแล้วต้องกินให้หมด ไม่ค่อยได้สนใจคุณค่าหรือคุณประโยชน์ของอาหาร มีผลสุขภาพอย่างไร? ไม่ได้สนใจมากนัก ทำให้ Gen. Baby Boomer นั้นจะอ้วนลงพุง มีโรคประจำตัวมากมาย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกินทั้งสิ้น ในขณะที่ Gen. Z นั้นเกิดมาพร้อมความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี่ ใช้จ่ายเงินโดยไม่ได้คิดอะไรมาก ไม่ค่อยกินอาหาร หรือกินอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารน้อยชอบเล่นโทรศัพท์จนไม่ได้กินข้าวกินปลารูปร่างจึงผอมบาง ร่างน้อยเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ Gen X นั้นมีพ่อแม่อยู่ใน Gen. Baby Boomer จึงมีความเข้าใจเรื่องการใช้จ่ายเงิน เน้นความคุ้มค่าของสินค้า ไม่ได้มองแค่ว่าสินค้าราคาถูกเพียงอย่างเดียว แต่จะมองประเด็นของคุณภาพของสินค้าด้วย ฉะนั้น Gen X จะมีสโลแกนการใช้ชีวิตที่ว่าของดี (ฟรี) มักราคาไม่ถูกมาก หรือที่เรียกว่าของฟรีไม่มีในโลกนั่นเอง ในขณะที่ Gen Z นั้นจะเป็นลูกของ Gen X หรือ Gen Y หากว่าพ่อแม่ไม่อบรมเรื่องเกี่ยวกับเงินทองกับลูกในแล้วเด็กใน Gen Z จะใช้จ่ายเงินโดยไม่ได้มองถึงประโยชน์หรือคุณค่าของอาหารหรือสิ่งของ เรามักจะเห็นว่าเด็กใน Gen Z มีเสื้อผ้ามากมาย รองเท้าหลากหลาย เลือกอาหารการกินแบบอาหารจานด่วน มีของเล่นเยอะแยะมากมายเช่นกัน ใช้ชีวิตแบบง่ายๆ อยู่ในโลกสังคมโซออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ หากแต่อนาคตข้างหน้าเราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าจะเป็นอย่างไร? แต่เราจะสามารถมองจากประสบการณ์ของประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้ามาก่อนเพื่อเป็นตัวอย่างในการอบรมลูกๆ ที่อยู่ใน Gen Z ให้สามารถปรับตัวด้านการใช้ชีวิตที่ไม่สุดโต่งจนเกินไปนั่นเอง
  2. ประเด็นด้านความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี สำหรับ Gen Baby Boomer มักจะใช้ชีวิตภายใต้ความเชื่อ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และจะบังคับให้ Gen X ยึดถือในความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตามแบบที่ตนเองปฏิบัติมา หากแต่สำหรับ Gen X ที่มีความคิดด้านวิทยาศาสตร์มักจะมีความคิดของตนเอง อาจจะยอมรับปฏิบัติหรือยอมตามในขนบธรรมเนียม ความเชื่อ ประเพณี บางอย่างเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ หรือที่เรียกว่า การปรับตัวนั่นเอง ทั้งยังต้องสอนเด็ก Gen Z ให้มีความเชื่อ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ต่างๆ ขณะที่เด็กก็ไม่ได้ยอมรับและปฏิบัติตามแต่อย่างใด
  3. ประเด็นด้านไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต สำหรับ Gen Baby Boomer ส่วนใหญ่มักจะยึดติดการใช้ชีวิตภายใต้ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี เปลี่ยนแปลงได้ยากลำบาก หากชาวพุทธแล้วจะมีความเชื่อเรื่องการขึ้นสวรรค์ ตกนรก และไม่ค่อยปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน ขณะที่ Gen X ส่วนใหญ่จะสามารถปรับตัวได้เก่ง ใช้ชีวิตได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี่ มีความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ไม่ได้งมงาย ใช้ชีวิตอยู่ตามหลักของธรรมชาติและจิตวิทยา ขณะที่ Gen Z ส่วนใหญ่การใช้ชีวิตตามความเจริญของเทคโนโลยี่ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง หากไม่มีเทคโนโลยี่แล้วเด็ก Gen Z จะใช้ชีวิตอยู่แบบยากลำบาก

     ดังนั้นหากจำเป็นต้องใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างสามเจนเนอเรชั่นคือ Gen Baby Boomer Gen X Y และ Gen Z แล้วทุกฝ่ายต้องปรับตัวเข้าหากันและต้องใส่ใจสั่งสอนเด็ก Gen Z ที่เติบโตมาพร้อมๆ กับความเจริญด้านเทคโนโลยี่

     สำหรับบทความต่อไปจะเป็นเรื่องเล่าระหว่าง Gen Baby Boomer Gen X และ Gen Z  ว่าจะมีความอลเวงกันขนาดใหนติดตามกันได้ในเรื่องเล่าตอนต่อไปคะ healthybestcare.com

 

แชร์ให้เพื่อน

Episodes 4 การเดินทางท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตในต่างแดนของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

แชร์ให้เพื่อน

Episodes 4 การเดินทางท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตในต่างแดนของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

ตอน. การเดินทางไปประเทศฟิลิปปินส์ (ภารกิจของ Rommy and Jack)

       การเดินทางท่องเที่ยว เยี่ยมญาติต่างประเทศนั้นจะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมีการวางแผนชีวิต เกี่ยวกับด้านต่างๆ เช่น การจัดเตรียมกระเป๋าเดินทาง (สัมภาระโหลดใต้เครื่องบิน สัมภาระบนเครื่องบิน) การวางแผนกิจวัตรประจำวัน การจดจำสถานที่ต่างๆ ที่เคยไปมาแล้วหรือเป็นสถานที่ใหม่ๆ โดยการเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนเรื่องของการจองตั๋วเครื่องบิน (สำหรับผู้เขียนนั้นยังไม่เคยเดินทางบ่อย การจองตั๋วเครื่องบินจึงต้องพึ่งพาผู้ที่มีประสบการณ์ที่เดินทางบ่อยๆ ช่วยจองตั๋วเครื่องบิน จองที่พักตามโรงแรมต่าง การเช็คอินในระบบออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น

      สำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึงเรื่องราวของ Rommy ให้ทราบพอสังเขป Rommy นั้นเป็นฉายาของผู้เขียนเกิดและเติบโตในภาคอีสานตอนล่าง ตอนเด็กๆ มักจะชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นชีวิตจิตใจในวัยประถมศึกษา และได้เป็นตัวแทนของโรงเรียนในการสอบแข่งขัน ตอบปัญหาต่างๆ ซึ่งมีแพ้บ้าง ชนะบ้าง แต่เราก็ยอมรับในเรื่องของกฎกติกาของการแข่งขัน จนกระทั่งเรียนจบมัธยมปลาย จึงหันเหอาชีพด้านการพยาบาล จบมาด้วยเกรดที่ไม่สู้ดีนัก ทำงานมาได้ระยะหนึ่งจึงหันเหเปลี่ยนสายงานอาชีพมาเรื่อยๆ สุดท้ายก็มาจบลงด้วยการเป็นนักเขียนแบบจำเป็นนั่นเอง

       การใช้ชีวิตและการทำงานของ Rommy อาจไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีนัก แต่ก็เป็นสิ่งที่เราชื่นชอบ พร้อมๆกับการเกิดปัญหาด้านสุขภาพทำให้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตโดยเริ่มต้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยทองแล้วนั่นเอง มีอาการหลงๆ ลืมๆ จดจำสถานที่ต่างไม่ได้ และหลงทางบ่อยๆ จำชื่อคนไม่ค่อยได้

       เรามาดูกันเลยคะว่าหาก Rommy ต้องเดินทางไปเยี่ยมญาติซึ่งต้องขึ้นเครื่องบินจะต้องเตรียมตัวและจัดการแก้ไขปัญหาอย่างไร ภายใต้ภาวะสมองที่หลงๆ ลืมๆ

  1. การจัดการเรื่องการจองตั๋วเครื่องบิน เป็นหน้าที่ของญาติในการช่วยดำเนินการให้ รวมถึงการลงทะเบียนต่างๆ ในระบบออนไลน์ ตั๋วเครื่องบินเป็นของการบินไทย มีการซื้อเพื่อขนสัมภาระเพิ่ม 30 กิโลกรัม เพื่อนำไปประกอบอาหารที่ต่างประเทศนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังสามารถเรียนรู้วิธีการประกอบอาหาร และได้รับประทานอาหารที่ถูกปากอีกด้วย (การจองตั๋วแบบฉุกเฉินและเร่งรับ 2 วันก่อนการเดินทางจึงต้องซื้อตั๋วในราคาค่อนข้างแพง)
  2. การซื้ออาหารแห้งและอาหารสด ก็มีผู้ที่มีประสบการณ์ในการเดินทางต่างประเทศช่วยเลือกซื้อและแพคใส่กระเป๋าตามคำสั่งซื้อของเด็กๆสองคน ได้มาแบบเต็มกระเป๋าถูกอก ถูกใจเด็กไทยในต่างแดนเลยก็ว่าได้
  3. การจองรถแทกซี่เพื่อเดินทางไปสนามบิน เป็นการจองแบบโทรเข้าไปจองกับนครชัยแอร์แต่สุดท้ายก็พลาดโอกาศเสียเวลาเกือบสามสิบนาที เกือบเช็คอินไม่ทัน ต้องเดินทางแบบเร่งรีบ
  4. การเช็คอิน เนื่องจากไม่สามารถเช็คอินออนไลน์ได้ จึงเช็คอินผ่านเจ้าหน้าที่พร้อมโหลดกระเป๋าสัมภาระ และผ่านขั้นตอนการตรวจสัมภาระ การตรวจพาสปอร์ต จนขึ้นเครื่องบินแต่ก็มีความสับสนเรื่องการหาที่นั่ง เนื่องจากไม่ได้เดินทางต่างประเทศเป็นเวลาหลายปีมาก จึงต้องขอความช่วยเหลือจากผู้โดยสารท่านอื่นและลูกเรือ
  5. การใช้อุปกรณ์บนเครื่องบิน  เพื่อดูหนังฟังเพลง โดยการสังเกตจากผู้โดยสารท่านอื่นว่าใช้อย่างไรบ้าง ทดลองกดไปเรื่อย สุดท้ายก็จบลงด้วยการดูหนังฝรั่งจบไปหนึ่งเรื่องแบบงงๆ เอ๋อๆ และหยิบงานขึ้นมาเขียนบทเครื่องบินได้สองบทความนั่นเอง
  6. การสั่งอาหารบนเครื่องบิน หลังจากบริกรสาว สอบถามเมนูอาหาร จบลงด้วยข้าวผัดกุ้งแม้จะมีคอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากไม่มีเมนูอื่นอีกแล้วที่ตรงกับโรค
  7. การเข้าห้องน้ำ เนื่องจากกินน้ำน้อยและการเดินทางเพียงแค่ 3 ชั่วโมงกว่านิดหน่อยจึงไม่ปวด แต่ก็เดินไปสำรวจดูสัญลักษณ์ สีแดงคือมีคนใช้อยู่ สีเขียวคือว่าง สามารถเข้าใช้งานได้
  8. การเดินทางเข้าเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ มีการลงทะเบียนออนไลน์ที่ต้องลงเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด 19 (ผู้เขียนก็มีน้องสาวช่วยลงทะเบียนให้และแสกนคิวอาร์โคดผ่านขั้นตอนมาได้ด้วยดี หลังจากนั้นผ่านตม.ขอวีซ่าสำหรับผู้เขียนเดินทางครั้งนี้พักอาศัยในเมืองมะนิลาเขตมาคาตินั่นเองเป็นระยะเวลา 1 เดือนเต็ม
  9. การรับกระเป๋าเดินทางที่โหลดสัมภาระ เนื่องจากสนามบินนินอยนั้นเล็กมากจึงเดินทางหาที่รับประเป๋าเดินทางได้ไม่ยากมากนัก
  10. การประสานงานกับญาติที่เดินทางมารอรับ เนื่องจากผู้เขียนขอเปิดโรมมิ่งของทรูมาด้วยแพคเกต 999 บาทต่อเดือนความเร็ว 10 กิ๊กกะไบท์เมื่อหมดแล้วความเร็วจะลดลง จึงไม่ได้มีปัญหาทำให้เจอญาติได้อย่างรวดเร็ว
  11. การเดินทางเข้าที่พัก โดยมีน้องสาวรอรับและขับรถเข้าไปส่งที่พักได้อย่างปลอดภัย
  12. การสำรวจสถานที่ในเมืองมาคาติ มีเด็กอายุ 8 ปี และ 9 ปีเป็นคนแนะนำสถานที่พาข้ามถนน เดินทางไปกลับระหว่างบ้านพักของเค้าและที่พักของผู้เขียนซึ่งอยู่ไม่ได้ไกลกันมากนัก พร้อมแนะนำเรื่องร้านอาหารที่พวกนางเข้าซื้อกินบ่อยเช่นกัน
  13. เรื่องของเวลานั้นประเทศฟิลิปปินส์เร็วกว่าไทยประมาณ 1 ชั่วโมง
  14. สุดท้ายจบลงด้วยหลงทางอีกครั้งเนื่องจากน้องสาวพามาส่งที่พัก แต่ไม่สามารถส่งถึงที่ได้เนื่องจากทางเดินรถทางเดิน ปล่อยให้ลงเดินเข้ามาเนื่องจากที่พักมี 3 ตึกและชื่อคล้ายกันหาตึกไม่เจอ การแก้ไขโดยเปิดการใช้โรมมิ่งโทรหาญาติส่งให้ดูข้างทางเพื่อบอกเส้นทางเข้าตึกได้อย่างปลอดภัยนั่นเอง

                 

สำหรับเรื่องที่พักอาศัย จะเขียนในบทความต่อไป หากสนใจบทความเกี่ยวการใช้ชีวิตหรือการเดินทางสำหรับผู้ที่มีอาการสมองเสื่อม หลงลืมบ่อยสามารถอ่านได้เพิ่มเติมที่ healthybestcare.com

      

แชร์ให้เพื่อน

9 ยารักษาโรคและอุปกรณ์สำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ

แชร์ให้เพื่อน

9 ยารักษาโรคและอุปกรณ์สำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ

Episodes 3 การใช้ชีวิตในเมืองหลวงหลังป่วยโควิด 19 (ปี 2566)

      การวางแผนเรื่องยารักษาโรคสำหรับการเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ คลายเครียดในต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพราะหากเราเกิดเจ็บป่วยได้ป่วยแบบธรรมดา ไม่ไม่ได้มีอาการรุนแรงหรือหนักมาก เราสามารถใช้ยารักษาโรคพื้นฐานหรือที่เรียกว่ายาสามัญประจำบ้านเพื่อใช้รักษาอาการเบื้องต้น เพื่อให้การเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ คลายเครียดของเราไม่สะดุด ต้องหาซื้อยารักษาโรคที่ต่างประเทศ หรืออาจทำให้มีอาการรุนแรงต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่ต่างประเทศ เนื่องจากหากไม่ได้รับการรักษาดูแลตนเองเบื้องต้น ทั้งในกรณีของผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ 

       แม้สำหรับผู้ที่มีสุขภาพร่างกายที่แข็ง ไม่เคยมีโรคประจำตัวเรื้อรัง การเดินทางท่องเที่ยวในสถานที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและภูมิอากาศก็ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ ดังนั้นการดูแลรักษาตนเองและใช้ยารักษาเบื้องต้นนั้นประกอบด้วยยาอะไรบ้าง เรามาดูกันได้เลยคะ

  1. ยาสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว กรณีที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวและจำเป็นต้องกินยาหลายชนิดแนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับใบสรุปการใช้ยาในการเดินทางไปต่างประเทศด้วยและควรเตรียมยารักษาสำหรับโรคเรื้อรังสำรองเผื่อไว้ประมาณ 1 สัปดาห์หลังวีซ่าหมดอายุ จะได้ป้องกันการหาซื้อยาที่ต่างประเทศเพราะยาบางตัวจำเป็นต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ก่อนถึงจะซื้อตามร้านขายยาได้ โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
  2. ยาแก้ปวด ลดไข้ ทั่วไป อาการปวดหัว ตัวร้อน บางครั้งการกินยาสามัญประจำบ้านเบื้องต้นก็ช่วยได้ระดับหนึ่ง หากอาการไม่ได้รุนแรง ยาที่แนะนำคือ ยาพาราเซตามอล ไทลินอล 
  3. ยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ การเดินทางไปต่างประเทศนั้นเชื้อโรคประจำถิ่นอาจมีความแตกต่างตามสภาพอากาศเช่น เขตร้อน เขตหนาว การเจริญเติบโตของเชื้อโรคจะต่างกันไป ด้งนั้นการเตรียมพร้อมยาแก้ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ท้องอืด จะช่วยเราได้ ยากลุ่มนี้ได้แก่  Ultracarbon ช่วยในการดูดซับสารพิษในทางเดินอาหาร ลดอาการท้องผูก อึดอัด  ผงเกลือแร่ ช่วยทดแทนการสูญเสียเกลือเกลือในกรณีที่มีการถ่ายเหลวเป็นน้ำ เพราะป้องการเสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายได้
  4. ยาลดกรดในกระเพาะอาหารหรือยารักษากรดไหลย้อน เนื่องจากการเดินทางจะมีความแตกต่างของเวลาที่ร่างกายต้องปรับเปลี่ยนเวลาในการรับประทานอาหาร เมื่อรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา และเกิดความเครียดขึ้นในระหว่างการเดินทาง อาจจำเป็นต้องใช้ยารักษาเบื้องต้นเช่น ยากาวิสคอน การเกิดอาการจุกใต้ลิ้นปี่นั้นทำให้เกิดอาการทรมานเป็นอย่างมากหากเราได้กินยากาวิสคอนจะช่วยรักษาอาการเบื้องต้นได้
  5. ยาระบายต่างๆ เนื่องจากการเดินทางอาจทำให้เกิดความเครียด การขับถ่ายไม่เป็นเวลา อาหารที่แตกต่างจากอาหารที่เคยกิน อาจทำให้เกิดปัญหาท้องผูก เบื้องต้นเราสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยลดอาการท้องผูกสามารถหาอ่านได้เพิ่มเติมที่ healthybestcare.com สำหรับยารักษาอาการท้องผูกเช่น Senokot
  6. ยาแก้เมารถ เมาเรือ หรือเมาเครื่องบิน เพราะการเดินทางท่องเที่ยว อาจทำให้เรามีอาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบินได้ เราสามารถหาซื้อตามร้านขายยาทั่วไป
  7. ยากลุ่มวิตามินชนิดต่างๆ เพราะการรับประทานอาหารอาจไม่ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน การเลือกรับประทานวิตามินก็ช่วยให้ลดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าได้ เช่นโอเมก้า 3  Cemtrum สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี วิตามินบีรวม
  8. เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังบางโรค เช่น เครื่องวัดความดัน เครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้วเป็นต้น เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้หากมีอาการฉุกเฉินเช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เราสามารถให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหวาน หรือรับประทานลูกอม เพื่อแก้ปัญหาอาการฉุกเฉินนั้นได้
  9. เครื่องวัดไข้ วัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด หลังจากปัญหาการเจ็บป่วยโรคโควิด 19 ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถใช้ได้อย่างแพร่หลายและสามารถส่งผลเพื่อปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทางออนไลน์ได้ พลาสเตอร์ปิดแผล เป็นต้น

เพื่อให้การท่องเที่ยว พักผ่อน หย่อนใจ เกิดความสนุกสนาน และมีความสุข การเตรียมพร้อมเรื่องยารักษาโรคจึงเป็นสิ่งจำเป็น หากชอบบทความด้านสุขภาพ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com                   

 

 

แชร์ให้เพื่อน

9 ขั้นตอนการเตรียมตัวเดินทางต่างประเทศสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม

แชร์ให้เพื่อน

9 ขั้นตอนการเตรียมตัวเดินทางต่างประเทศสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม

Episodes 3 การใช้ชีวิตในเมืองหลวงหลังป่วยโควิด 19 (ปี 2566)

        สำหรับบทความนี้ ต่อเนื่องจากบทความที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม (สามารถหาอ่านได้เพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com )  เนื่องจากมนุษย์เราหลังจากอายุล่วงเลยเกินกว่า 50 ปี การเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการเข้าสู่ภาวะความเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ เช่น ฮอร์โมนเพศ สมอง ความแข็งแรงของร่างกายต่างๆ เริ่มลดลง (เริ่มเข้าสู่วัยทอง มีภาวะหลงๆ ลืมๆ หรือสมองเสื่อม) หากแต่ชีวิตของคนทั่วไป (มนุษย์เดินดินอย่างเราๆ) ยังต้องดำเนินต่อไปอีก 50 ปีเป็นอย่างมาก เราจะเตรียมตัวสำหรับการเดินทางไกลหรือเดินทางต่างประเทศอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการหลงทางและใช้ชีวิตให้มีความสุข โดยลดภาระการดูแลน้อยลงให้มากที่สุด

       สำหรับการดูตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมในการเตรียมตัวเพื่อเดินทางต่างประเทศนั้นเราต้องเริ่มฝึกและทดลองเดินทางหรือใช้ชีวิตในต่างจังหวัดหรือเมืองหลวงก่อนเพราะในเมืองหลวงของแต่ละประเทศหรือเมืองท่องเที่ยว(พัทยา จะจำลองสิ่งแวดล้อมการใช้ชีวิตคล้ายในต่างประเทศมีประชาชนต่างชาติหลากหลายภาษาอาศัยอยู่ร่วมกัน การติดต่อสื่อสารหลากหลายภาษา การข้ามถนนหนทาง จะมีสัญญาณไฟให้รอเพื่อข้ามถนน หากเราอยู่ในเมืองที่มีรถวิ่งอย่างคับคั่ง หากในกรุงเทพเราสมารถเดินข้ามสะพานลอยจะปลอดภัยกว่า แต่สำหรับเมืองที่ไม่มีสะพานลอยหรือมีน้อยเราต้องรอสัญญาณไฟในการข้ามถนน เรามาดูกันเลยคะว่า 9 ขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อเดินทางไกลไปต่างประเทศ เพื่อท่องเที่ยวหรือพักอาศัยในต่างประเทศเราต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

  1. การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพและการซื้อประกันการเดินทาง เนื่องจากความเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่เราสามารถบริหารความเสี่ยงโดยการลงทุนน้อยเมื่อเทียบกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น จะมีบริษัทประกันรับความเสี่ยงในการชดเชยค่าสินไหมตามวงเงินและเงื่อนไขการซื้อประกัน เราเตรียมตัวด้านการตรวจสุขภาพประจำปี (สามารถหาอ่านได้ในบทความอื่นๆ ใน healthybestcare.com ) ว่าเราต้องตรวจรายการใหนบ้างเป็นต้น (สำหรับผู้เขียนเองนั้นมีอาการสมองเริ่มเสื่อม อาการวัยทอง โรคประจำตัวไขมันในเลือดสูง ตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี) จึงต้องเตรียมยาให้เพียงพอสำหรับการเดินทางและนำผลการตรวจสุขภาพติดตัวไปทั้งหมด รวมถึงการเตรียมยาพื้นฐานต่างๆ สามารถหาอ่านได้เพิ่มเติมใน healthybestcare.com
  2. การทดลองการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศก่อนโดยใช้วิธีการเดินทางโดย เครื่องบินในประเทศ  รถไฟ รถเมย์ รถโดยสารสองแถว รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อให้เกิดความเคยชิน จะช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตในต่างแดนได้คล่องตัวมากขึ้นนั่นเอง
  3. การใช้เครื่องมือสื่อสารให้เกิดประโยชน์ หากเราหลงลืมเส้นทางบ่อยๆ เราสามารถใช้มือถือถ่ายภาพลงในสตอรี่หรือฟีดข่าวของเฟสบุ๊ค โดยในวันนั้นให้เริ่มต้นฟีดข่าวครั้งแรกในจุดที่เราเริ่มต้นออกเดินทาง หลังจากนั้น ถ่ายภาพจุดที่สำคัญๆ ที่เราเดินทางผ่านหรือเราเคยไปมาก่อนลงให้เกิดความต่อเนื่อง ให้เป็นสตอรี่เรียงกันไปตามลำดับหากเราหลงทางการติดตามตัวเราจะได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น (อย่านำรูปเดิมมาลง อาจทำให้เกิดความสับสนได้)
  4. การเตรียมความพร้อมด้านอาหารการกินบางอย่างให้พร้อม เพราะอาหารที่ต่างประเทศอาจไม่ถูกปากหรือไม่ถูกโรค ดังนั้นการเตรียมอาหารบางส่วนนอกจากช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเป็นการกินอาหารที่เราชอบและถูกปาก ถูกโรคไม่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยในต่างแดน ชีวิตเราก็มีความสุขเพิ่มขึ้นตลอดการพักอาศัย และท่องเที่ยวอีกด้วย (เรายอมจ่ายค่าสัมภาระในการเดินทางเพิ่มขึ้นเช่นอาจต้องจ่าย 1000 บาทต่อการขนสัมภาระ 30 กิโลกรัมในการเดินทางไปประเทศฟิลิปปินส์ของสายการบินไทย) เป็นต้น
  5. การสอบถามเพื่อนๆ ที่เคยเดินทางหรือการอ่านรีวิวการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวในประเทศนั้นๆ เช่น กระทู้ในพันทิป บทความการท่องเที่ยวต่างๆ จะช่วยเราได้อย่างมากเลยทีเดียว
  6. การจัดเตรียมสิ่งของ อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัวจะช่วยลดค่าใช้จ่ายถ้าหากเราต้องซื้อที่ต่างประเทศอาจมีราคาแพงกว่านั่นเอง (เสื้อผ้ากันหนาว รองเท้าแตะ รองเท้าผ้าใบ ชุดว่ายน้ำ สำรองแบตเตอรี่ สายชาร์ตต่างๆ ให้พร้อม (อาจเตรียมโน๊ตบุ๊คไปด้วยหากจำเป็นต้องใช้เพื่อถ่ายโอนภาพหรือทำงานไปด้วยนั่นเอง
  7. การหาเพื่อนในประเทศที่เรากำลังเดินทางไปผ่านทางออนไลน์โดยเป็นคนสัญชาติเดียวกันหรือการตรวจสอบที่ตั้งของสถานทูตไทยในประเทศนั้นๆ หากเรามีความจำเป็นต้องขอความช่วยหลือเป็นต้น (สำหรับผู้เขียนเองนั้นการเดินทางไปประเทศที่มีน้องสาวและเด็กวัยเรียนสองคนรอรับอยู่ที่ต่างประเทศซึ่งมีการกล่าวถึงเรื่องราวความรักของเด็กวัยอนุบาลในบทความก่อนหน้านี้แล้ว สามารถอ่านได้เพิ่มเติมที่ healthybestcare.com
  8. การโหลดแอฟพลิเคชั่นอื่นๆ เช่น ไลน์ ไวเบอร์ อิโม่ แชทในแมสเสทเจอร์ การใช้แอฟพลิเคชั่นในการแปลภาษาจะช่วยเราได้เป็นอย่างมาก ทำให้การสื่อสารมีความราบรื่นมากยิ่งขึ้นเป็นต้น
  9. ข้อสุดท้ายและท้ายสุดคือการดูแลทรัพย์สินส่วนตัวเช่น หนังสือเดินทาง เงินทอง ที่สำคัญมากที่สุดคือมือถือจะช่วยให้เราใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็นนั่นเอง

แม้ว่าการเดินทางสำหรับเราอาจไม่ได้เป็นคนที่ได้เดินทางบ่อยๆในประเทศและต่างประเทศ แต่การที่เราได้เตรียมความพร้อมก่อนการเดินทางจริงหรือที่เรียกว่าการฝึกซ้อมก่อนจะช่วยให้เราใช้ชีวิตได้ง่าย ลดความเครียดและความวิตกกังวลในการเดินทางไปอาศัยอยู่ ญาติที่อยู่ทางบ้านจะลดความเป็นห่วงลงได้ในระดับหนึ่งอีกด้วย

หากใครที่กำลังมองหาสถานที่ในการท่องเที่ยวหรือย้ายที่อยู่อาศัย สำหรับบทความนี้อาจช่วยสำหรับการเตรียมความพร้อมกรณีมีอาการสมองเสื่อมร่วมด้วย สนใจบทความอื่นๆ หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

พบกันใหม่สำหรับบทความการใช้ชีวิตในต่างแดนสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมคะ

 

แชร์ให้เพื่อน

Episodes 2 การดูแลตนเองที่บ้านหลังออกจากงานประจำ จากการเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด19 ปี 2565

แชร์ให้เพื่อน

Episodes 2 การดูแลตนเองที่บ้านหลังออกจากงานประจำ จากการเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด19 ปี 2565

ตอน. (11 เรื่องการเตรียมตัวใช้ชีวิตต่างจังหวัด)

การตัดสินใจเลือกเดินทางชีวิตออกจากการทำงานประจำ เป็นความรู้สึกที่เจ็บปวด รวดร้าวเข้ามาในทรวง  ต้องเตรียมพร้อมในการเผชิญกับการใช้ชีวิตที่ลำบากมากขึ้น เพราะทำให้เราขาดรายได้ประจำ ไม่มีเงินเดือน ใช้ชีวิตค่อนข้างโดดเดี่ยว ไม่มีเพื่อนร่วมงาน แต่สิ่งที่สำคัญกว่างานประจำ นั่นคือ “เราต้องการรักษาชีวิต และได้ร่างกายที่แข็งแรง จิตใจที่พร้อมจะต่อสู้ ก้าวเดินต่อไปข้างหน้า พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยทองแบบเต็มตัว” ใครจะรู้ว่าชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไปทางใหนในอนาคตข้างหน้า ในเมื่อเราไม่ได้ดูดวงหรือเชื่อเรื่องดวงจนเกินไปในการใช้ชีวิต ขณะที่คนอื่นอาจมองว่าเป็นช่วงชีวิตที่ตกต่ำ ไม่ได้ทำงาน สำหรับเราแล้ว เราคิดว่าเป็นการเปลี่ยนในครั้งใหญ่ของชีวิต อยู่ที่เราจะเลือกและตัดสินใจมองหาโอกาสที่เข้ามาในชีวิตหรือไม่ หากเราแค่ต้องการให้ชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงก็เท่านั้นเอง

หลังจากตัดสินใจออกจากงานประจำ เราต้องเตรียมความพร้อมพร้อมสำหรับการกลับไปใช้ชีวิตต่างจังหวัด สำหรับเราเตรียมดังต่อไปนี้คือ

  1. เรื่องของอินเตอร์เน็ตบ้านที่ต่างจังหวัด ที่เป็นชื่อของน้องสาวต้องยกเลิก และย้ายอินเตอร์เน็ตบ้านที่เป็นชื่อเราจากกกรุงเทพเข้าไปแทนเพราะเราไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงเบอร์โทรศัพท์ซึ่งจะต้องพ่วงกับแอฟต่างๆ อีกมากมาย
  2. ปิดบัญชีธนาคารที่ไม่สามารถทำธุรกรรมในอำเภอได้ เพราะบางธนาคารปิดสาขาประจำอำเภอไปแล้ว เช่น K-bank  SCB คงไว้แค่ทำรายการผ่านแอฟธนาคารเท่านั้น และเลือกแอฟที่เราคุ้นเคยคงไว้ เช่น แอฟเป๋าตุง (คนละครึ่ง เราครึ่งหนึ่ง รัฐบาลครึ่งหนึ่ง จัดว่าเป็นแอฟที่เราชื่นชอบเป็นพิเศษ)
  3. การเตรียมเงินสดเพื่อไว้ใช้สำหรับการอยู่กินที่ต่างจังหวัด เพราะเราคนโสด ไม่มีใครช่วยซับพอร์ตรายจ่าย จึงต้องเตรียมพร้อมด้วยตนเอง (ในหมู่บ้านการซื้อของส่วนใหญ่ใช้เงินสดเป็นหลัก) สำหรับเราท่ามกลางความโชคร้ายก็มีความโชคดีอยู่บ้าง เมื่อเจ็บป่วยโควิด 19 เราได้สินไหมจากการเจ็บป่วยโควิด 19 มาก้อนหนึ่งเพื่อกินอยู่ที่ต่างจังหวัด (ขอขอบคุณที่ทำงานมากๆ)
  4. การเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัด นับเป็นความโชคดีของเราอีกเช่นกันเมื่อน้องสาวเดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านที่เมืองไทย จึงได้โอกาสเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัดพร้อมกัน โดยมีพี่ชายคนโตเป็นคนขับรถไปส่งกลับบ้านพร้อมเสื้อผ้าและของใช้เล็กๆ น้อย อุปกรณ์แต่งหน้า โลชั่นดูแลผิวไม่ต้องพูดถึง สมองเลอะเลือนไม่ได้นำกลับไปด้วยเลย
  5. การเตรียมยาบำรุงเช่น ยาแคลเซียมบำรุงกระดูกช่วยป้องกันกระดูกพรุน วิตามินดี และ ยานอนหลับ Amitripthyline (กินครั้งคราว)
  6. การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการออกกำลังกายเบาๆ เช่น เสื่อโยคะ อุปกรณ์ช่วยนวดฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลูกประคำ เงินแบงค์ยี่สิบบาทจำนวนห้าสิบใบโดยเป็นเลขที่เรียงจากหนึ่งถึงห้าสิบเพื่อช่วยให้สมองไม่ลืมเรื่องตัวเลขโดยก่อนนอนจะนับเลขกับลูกสาวทั้งสองคนเป็นการสอนเรื่องเงินไปในตัวอีกด้วย
  7. เตรียมหนังสือไปอ่านประเภทต่างๆ เช่น เรื่อง แฟรงเกนสไตน์ นับเป็นหนังสือที่เราชื่นชอบ เป็นภาคภาษาอังกฤษ เมื่อเราอ่านแล้วเราเข้าใจอารมณ์ของตัวละครอย่างแฟรงเกนสไตน์ แสดงอารมณ์ดีใจ เสียใจ เศร้าใจ โดดเดี่ยว ได้อย่างดีเลยทีเดียว เราร้องให้ตามชีวิตของตัวละครทุกครั้งนับเป็นการปลดปล่อยอารมณ์ได้ดีทีเดียว เพราะการร้องให้ออกมาเป็นการปลดปล่อยอารมณ์ หลังร้องให้เสร็จจะช่วยให้เราสบายใจขึ้นได้มากเลยทีเดียว พร้อมกับเปิดเพลงช่วยให้อารมณ์สงบตามยูทูปต่างๆ 
  8. การเตรียมใจยอมรับกับความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ และทำใจให้ได้กับการต้องตอบคำถามของคนรอบข้างเรื่องการกลับไปอยู่บ้านในครั้งนี้ เพราะสังคมค่อนข้างแคบใครไปใหน ทำอะไรที่ใหนรู้หมดแหละ ยันต้นซอยไปท้ายซอยเลยทีเดียว บางครั้งการอธิบายให้คนอื่นเข้าใจก็ไม่ได้เป็นเรื่องง่าย ใช้ชีวิตแบบสำนวนโบราณที่ว่า “พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง” หมายความว่า พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า
  9. การได้อยู่ใกล้ชิดกับเด็กน้อยสองคนช่วยให้รับรู้ถึงความไร้เดียงสาของเด็ก เล่นขายของเราเป็นผู้ซื้อ เค้าเป็นผู้ขาย การใช้ทักษะเพื่อหลอกเราเล่นโทรศัพท์เพื่อดูการ์ตุน เช่น การแสดงความรักเพื่อหวังประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ในการได้ดูโทรศัพท์(กาตูน แต่เราก็รู้ทันบ้าง ไม่ทันบ้างเพราะเอ๋ออยู่)
  10. การลงมือทำงานโดยการออกแรงอย่างเดียว ไม่ได้ใช้สมองอะไรมาก (ถึงจะใช้ก็ไม่ได้เพราะเลอะเลือน) สมองได้รับการพักผ่อนเต็มที่ เช่น การปลูกมัน มันเทศ ต้นข้าว กรีดยางพารา (รอยแผลที่ต้นยางพาราเป็นฝีมือเราทั้งนั้นแหละ สงสารแต่ต้นยางพาราที่ต้องรับมือกับการฝึกปรือในการกรีดยางแบบเรียนรู้ด้วยตนเอง พี่สาวเป็นคนแก้ไขร่องรอยต้นยางที่ได้รับการบอบช้ำ กรีดแบบลึกถึงแกนบ้าง น้ำยางไม่ไหลบ้าง เพราะตื้นเกินไป (มือใหม่หัดกรีด) ปัญหาที่เกิดจากการกรีดยางคือ ปวดข้อมือซ้ายและนิ้วมือ เนื่องจากการเปิดหน้ายางนั้นเหมาะสำหรับคนถนัดขวา แต่คนถนัดซ้ายอย่างเราก็ทำแบบไม่ได้องศานั่นเอง จนป่านนี้ก็ยังปวดอยู่บ้าง
  11. การเดินทางไปไหน มาใหน มีพี่สาวเป็นคนขับรถ เราเป็นคนนั่งหน้ารถพร้อมกับมีคนแย่งตำแหน่งคือลูกสาววัยประถมสองคน (แย่งกันเป็นตุ๊กตาหน้ารถ แบบวัยทองนั่นแหละ) กว่าจะเริ่มขับรถอีกครั้งก็เนิ่นนานผ่านมาเกือบสามเดือน ขี่มอเตอร์ไซด์ก็ล้มซะงั้น มือไม่มีแรงบังคับตอนจอดรถ ขี่จักรยานล้มบ้างก็ต้องทนกันไป แข่งกับเด็กๆ สองคน

หากใครที่มีปัญหาต้องรับมือกับการต้องออกจากงานประจำแบบปัจจุบันทันด่วน จะต้องเตรียมตัวอย่างไร ลองใช้วิธีนี้ดูได้ จะช่วยให้เราฟื้นตัวได้ภายในหกเดือนนะคะ

ถ้าสนใจบทความดีดีแนวสร้างกำลังใจหรือบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้องสามารถอ่านได้เพิ่มเติมที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

Episodes 3 การใช้ชีวิตในเมืองหลวงหลังป่วยโควิด 19 (ปี 2566)

แชร์ให้เพื่อน

Episodes 3 การใช้ชีวิตในเมืองหลวงหลังป่วยโควิด 19 (ปี 2566)

ตอน  (การเดินทางมุ่งหน้าสู่กรุงเทพมหานคร)

หลังจากการใช้ชีวิตในชนบทเป็นระยะเวลาปีกว่า (บทความตอนการใช้ชีวิตในชนบทติดตามได้ใน Episodes 2 ) จึงเลือกเดินทางเข้าสู่กรุงเทพอีกครั้งเพื่อรื้อฟื้นความทรงจำต่างๆ (ความทรงจำด้านสถานที่ ขั้นตอนการขึ้นรถไฟ ขึ้นรถ MRT BTS และการรื้อฟื้นเรื่องเส้นทาง) ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 29 ปี ที่เคยอาศัยอยู่ในเมืองหลวง (กรุงเทพมหานคร) การเดินทางในครั้งนี้เป็นการเดินทางด้วยรถไฟคนเดียว เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 (ซึ่งอาจเป็นรถไฟขบวนสุดท้ายหากเปรียบเทียบกับการเลือกคู่ครองหลังครองโสดมาตลอดระยะเวลา 51 ปี และเริ่มเข้าสู่วัยทอง)

การเดินทางในครั้งนี้เต็มไปด้วยบรรยากาศที่เศร้าสร้อย และโดดเดี่ยว วิตกกังวลต่างๆ นานา เพราะจุดหมายปลายทางนั้น คือเขตพระโขนงซึ่งเป็นการกลับไปสู่สถานที่ที่ป่วยโรคโควิด 19 อีกครั้ง ตลอดการเดินทางในครั้งนี้เราเลือกที่จะรื้อฟื้นความจำและจดจำต่างๆ ด้วยการถ่ายรูปด้วยมือถือสถานที่ต่างๆลงในสตอรี่และไลน์กลุ่ม เช่น การถ่ายรูปสถานีรถไฟกระสังเพื่อส่งเข้าไลน์กลุ่มบ้านของเราเป็นการแจ้งว่าเราเดินทางและอยู่ที่ใหนแล้วในขณะนี้  การถ่ายรูปบนรถไฟ การถ่ายรูปบรรยากาศข้างทางในเวลายามเย็นพระอาทิตย์ตกดิน บรรยากาศโพล้เพล้ ผีตากผ้าอ้อม เราเดินทางครั้งนี้ท่ามกลางบรรยากาศ และอารมณ์ที่เศร้าสร้อย และโดดเดี่ยว ทั้งที่คนเดินทางเต็มขบวนรถไฟ เจ้าหน้าที่บริการแจกอาหารมื้อเย็น ขนม น้ำดื่ม พร้อมผ้าห่ม เพราะอากาศเย็นจัด ที่นั่งที่เราเลือกมาริมหน้าต่างเพื่อที่จะได้มองบรรยากาศข้างทาง (แต่ก็มีคู่สามีภรรยาวัยเกษียณซึ่งนั่งจากสถานีต้นทาง นั่งที่นั่งของเรา เมื่อเราขึ้นมาบนรถไฟเค้าขอแลกที่นั่ง เราเลยแลกที่นั่งให้เค้า ในฐานะที่เค้าเป็นคู่รักวัยเกษียณอาจจำเป็นต้องดูแลกันและกันบนรถไฟ และเรานั่งที่นั่งริมทางเดิน) การเดินทางครั้งนี้เราเริ่มเขียนบันทึกเกี่ยวกับการเดินทางลงในโน้ตแพด ตลอดการเดินทางจนมาถึงสถานีปลายทางบางซื่อเป็นเวลา 23 .30 น(ภาพเก่าของสถานีบางซื่อ) เป็นเวลากลางคืนอีกครั้งเราเลือกการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า MRT และต่อด้วยรถไฟฟ้า BTSปลายทางอ่อนนุช เราเริ่มต้นด้วยการถ่ายรูปสถานีรถไฟฟ้า MRT และสถานีรถไฟฟ้า BTS เข้าไลน์กลุ่มบ้านของเราเพราะหากเราหลงทางเค้าจะได้ตามหาเราได้ สุดท้ายเราเดินทางมาถึงที่พักซอยอ่อนนุช 77 ด้วยความปลอดภัย นับเป็นการเดินทางไกลคนเดียวครั้งแรกหลังการเจ็บโรคโรควิด 19 เราพักอยู่ที่อ่อนนุชเป็นเวลาหนึ่งคืน พอรุ่งเช้าจึงเดินทางไปที่พักที่บางกะปิ โดยเราเริ่มต้นขับรถในกรุงเทพอีกครั้งรถยนต์เป็นรุ่นเกียร์ธรรมดา เราต้องการรื้อฟื้นความมั่นใจอีกครั้งพร้อมกับเพื่อนร่วมทางคือ น้องสาว และหลานชายเป็นคนให้กำลังใจและเป็นเพื่อนช่วยบอกเส้นทางไปบางกะปิ (เส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าบนดินและใต้ดินเยอะแยะไปหมด เมื่อมาถึงแยกลำสาลีเปลี่ยนแปลงไปมากหลังจากที่เรากลับไปอยู่บ้านแค่ปี่กว่า) เราพักอาศัยอยู่ที่บางกะปิพร้อมกับการปรับปรุง และตกแต่งห้องใหม่เป็นการลบความทรงจำในอดีตประมาณสองสัปดาห์ จึงเดินทางกลับบ้านเกิดพร้อมกับหลานชายเพื่อกลับไปทำธุระที่ต่างจังหวัดอีกครั้ง ท่ามกลางการเปิดบริการของสถานีกลางบางซื่ออีกครั้ง นับเป็นการเดินทางที่มีเพื่อนร่วมทางอีกครั้ง เรามีความรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น เมื่อไปถึงสถานีกลางบางซื่อเป็นเวลาเช้าตรู่ตีห้าครึ่ง เราเริ่มถ่ายวีดีโอ ลงในสตอรี่ในการเดินทางอีกครั้ง ความรู้สึกในการเดินทางครั้งนี้ มีความรู้สึกสนุก ไม่โดดเดี่ยว ซึมเศร้า และเหงาหงอย ตลอดการเดินทางเรานั่งริมหน้าต่างเพื่อมองบรรยากาศข้างทางและถ่ายวีดีโอลงในสตอรี่ตลอดการเดินทางโดยมีหลานชายช่วยแนะนำการเข้าแชร์สตอรี่ต่างๆ  และสุดท้ายก็เดินทางมาถึงสถานีรถไฟฟ้ากระสังเป็นเวลาเที่ยงห้านาทีด้วยความปลอดภัย โดยมีพี่สาวที่ช่วยดูแลเราช่วงเจ็บป่วยและรักษาตัวหลังกลับมาอยู่บ้านมารอรับ คืนนั้นเรานอนหลับพักผ่อนได้ตลอดคืนจนถึงเช้า

เช้าวันรุ่งขึ้นรีบทำธุระให้เสร็จโดยต้องไปติดต่อที่อำเภอ การเดินทางครั้งนี้เราเลือกขับรถอีกครั้งเพื่อเป็นการรื้อฟื้นความมั่นใจกลับมา รถยนต์คันเล็กรุ่นเกียร์อัตโนมัติ สมองเราต้องปรับอีกครั้งในการขับรถเกียร์อัตโนมัติ เพราะขาซ้ายต้องอยู่ว่าง มือซ้ายเข้าเกียร์ D แล้วเหยียบคันเร่งเดินหน้าอย่างเดียว แต่เราก็ใช้มือซ้ายเปลี่ยนเกียร์และขาซ้ายยกหาเพื่อเหยียบครัช เกิดความสับสนอีกครั้ง แต่ก็ผ่านการขับรถมาได้อย่างปลอดภัย คืนนั้นเรานอนหลับพักผ่อนได้ทั้งคืนเช่นกัน

ณ เวลาเช้าเราจำเป็นต้องขับรถเพื่อไปขายก้อนยางพาราอีกครั้งที่อำเภอสตึก รถฟอร์ดมีความแตกต่างของการใส่เกียร์ถอยต้องใช้นิ้วดึงขึ้นและผลักลงเหมือนการใส่เกียร์หนึ่ง เราต้องเรียนรู้แบบเร็วๆ เรื่องสัญญาณไฟเลี้ยว ไฟสูง ไฟธรรมดา การปรับเบาะนั่ง ปุ่มเปิดถังน้ำมัน หน้าปัดทำความสะอาดหน้ากระจก เมื่อขับรถมาถึงที่ขายยางพารา จอดขนย้ายยางพาราออกเสร็จ คราวนี้รถสตาร์ทไม่ได้ พวงมาลัยล็อค โชคดีที่มีผู้ชายคนหนึ่งเค้ามาช่วยแก้ปัญหาให้และสตาร์ทรถให้แต่เค้าก็ไม่ได้พูดอะไร เราขับไปจอดที่โลตัสเพื่อรอการประมูลราคายางพารา หลังเสร็จสิ้นการขายยางพารา เราสตาร์ทรถเพื่อขับกลับบ้าน แต่พวงมาลัยก็ล็อคอีก ความโชคดีของเราเข้ามาอีกครั้งมีผู้ชายวัยรุ่นขับรถฟอร์ดมาจอดข้างๆ เราเลยขอความช่วยเหลือ เค้าเลยอธิบายรถรุ่นนี้มีปัญหาพวงมาลัยล็อคง่าย และบอกวิธีแก้ไข เราขอบคุณน้ำใจที่เค้ามีให้ และขับรถกลับมาถึงบ้านด้วยความปลอดภัย คืนนั้นเรานอนหลับยาวทั้งคืน หลังจากอ่อนเพลียจากการขับรถไปขายยางพารามาทั้งวัน ตื่นเช้ามาด้วยความสดชื่น เตรียมตัวเพื่อเดินทางกลับเข้าสู่กรุงเทพอีกครั้งด้วยรถไฟคนเดียวปลายทางคือ สถานีกลางบางซื่อ

ข้อดีที่ได้จากการเดินทางคนเดียวเป็นการช่วยให้เราคิดและวางแผน แก้ปัญหา โดยการสอบถามผู้คนรอบข้างและการใช้มือถือเพื่อถ่ายรูปส่งแจ้งให้ญาติพี่น้องรับทราบและบันทึกลงในสตอรี่ต่างๆ หากหลงทางเค้าจะได้ติดตามเราตามสตอรี่ที่เราได้ส่งไว้นั่นเอง

หากชื่นชอบบทความแนวนี้รบกวนกดไลค์ กดแชร์ และแสดงความคิดเห็นและอ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

Episodes 1 (ตอน. การกักรักษาตัวที่บ้าน 14 วันหลังออกจากโรงพยาบาลสนาม)

แชร์ให้เพื่อน

Episodes 1 (ตอน. การกักรักษาตัวที่บ้าน 14 วันหลังออกจากโรงพยาบาลสนาม)

เนื้อหาต่อจากบทความที่แล้ว หลังจากแพทย์ในการกักรักษาตัวในโรงแรมแจ้งข่าวดี ว่าเราจะได้กลับมาพักรักษาตัวต่อที่บ้านได้ พร้อมกับมีการตรวจเจาะเลือดและตรวจโควิดก่อนกลับบ้าน (เรากลับบ้านมาพร้อมกับยารักษาด้วยจิตเวชกินต่อเนื่องหนึ่งเดือน พร้อมกับนัดไปติดตามการรักษาด้านจิตเวชที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด) เรามีความรู้สึกดีใจ และมีกำลังใจในการต่อสู้เพื่อให้มีชีวิตรอดมากขึ้น และรู้สึกว่าตัวเองได้กลับมาบ้าน หรือถิ่นฐานที่ตัวเองเกิดและใช้ชีวิตมาตลอดระยะเวลา 18 ปี  (ก่อนเรียนจบในระดับมัธยมศึกษา) 

ขั้นตอนต่อมาคือ เราประสานงานกับผู้นำหมู่บ้านเพื่อจัดเตรียมสถานที่ในการกักตัวต่อเป็นระยะเวลา 14 วัน  (น้องสาวเป็นคนดำเนินการทั้งหมด) ทางชุมชนได้นำเชือกมากักพื้นที่บริเวณว่า     เราห้ามออกจากพื้นที่ทีกำหนดไว้ ให้อยู่ในเขตที่กำหนด การเดินทางกลับบ้านใช้ระยะเวลา 30 นาที ทางบ้าน (พี่สาวและหลานๆ สองคนช่วยกันจัดเตรียมสถานที่พักไว้ให้ ต้องขอบคุณเป็นอย่างมาก) ช่วงของการกักตัวต่อที่บ้านปัญหาที่พบคือ ปัญหาการนอนไม่หลับ นอนได้ประมาณวันละ 3-4 ชั่วโมง ถึงแม้ว่าเราจะกินยาที่แพทย์สั่งจ่ายมาแล้ว แต่สิ่งที่เรายังค้างคาใจมาจนถึงปัจจุบันนี้คือ ยาปฏิชีวนะ Clarithromycin ไม่สามารถนำมาใช้รักษาไข้หวัด หรือการติดเชื้อจากไวรัสได้ (การจ่ายยาฆ่าเชื้อที่เกินความจำเป็นซึ่งเป็นชนิดที่จ่ายตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น) ผลข้างเคียงของยา Klasid มีผลทางด้าน การนอนไม่หลับ(Insomnia) และจิตเวช เกิดภาวะจิตหลอน (hallucinations) การรักษาตัวที่บ้านเรากินยาบ้างไม่กินบ้าง เพราะยาด้านจิตเวชส่งผลในเกิดปัญหา ลิ้นแข็ง การกลืนอาหารลำบาก ลิ้นเป็นแผล  การเคลื่อนไหวร่างกายไม่กระฉับกระเฉง การเป็นคนนิ่งเงียบ ไม่พูดคุย ซึมเศร้า มีอาการทางจิตซะงั้น เราเลือกกินบางวันเพราะเราคิดว่าถ้าร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนเลย ยิ่งจะทำให้อาการหนักและกำเริบกว่าเดิม (รออย่างเดียวว่าภาวะข้างเคียงของยา Klasid จะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่)

การกักตัวที่บ้านมีบรรยากาศที่เงียบเหงาแม้ว่าเราจะมีอินเตอร์เน็ตเล่นแต่ก็ไม่ได้ช่วยให้เราอาการดีขึ้นยังเป็นเหมือนเดิม ความจำต่างๆ เริ่มเลอะเลือน การส่งข้อมูล การเข้ารหัสต่างๆ ผ่านมือถือ การเขียนบันทึกประจำวันเริ่มเขียนบ้าง ไม่เขียนบ้าง ขาดความต่อเนื่อง (จึงไม่มีข้อมูลนำมาเขียนประกอบในบทความได้ต้องย้อนรำลึก) 

การดูแลด้านอาหารการกินในการกักตัวที่บ้านจะมี่พี่สาวเป็นคนประกอบอาหารโดยเน้นอาหารประเภทต้มยำ น้ำพริกผักต้ม หรืออาหารที่เราชอบ แต่เราก็รับประทานได้ไม่มาก มีลูกสาวสองคนเป็นคนขี่จักรยานคู่ใจมาส่งอาหารให้เช้า กลางวัน เย็น มีเพื่อนบ้านแวะเวียนทักทายพูดคุยเป็นครั้งคราว (แต่ใครจะรู้ว่าคนอื่นที่เดินตามถนนหนทางกันขวักไขว่และไม่ได้ตรวจจะมีเชื้อโควิดหรือเปล่า เรื่องนี้เป็นสิ่งที่น่าคิด) การรักษาตัวที่บ้านครบกำหนด 14 วันแล้วเราจำเป็นต้องเดินทางเข้ากรุงเทพโดยรถไฟเพื่อกลับไปทำงานที่เราชอบต่อไป

เหตุการณ์ที่กรุงเทพ (ณ วันที่กลับมาทำงานประจำ)

หลังจากกลับมาจากบ้านต่างจังหวัด กลับเข้าทำงานประจำเรารู้สึกเหงาหงอย ซึมเศร้า พูดคุยกับคนที่เป็นโรคโควิดด้วยกัน สอบถามสารทุกข์สุขดิบ  ปัญหาที่พบยังเป็นประเด็นของการนอนไม่หลับเหมือนเดิม (คนอื่นเค้านอนหลับปกติ) บางวันนอนลืมตาโพรงจนถึงเช้า ลุกขึ้นไปทำงาน การทำงานได้ไม่เต็มที่ หลงลืม หาซื้อยาบำรุงสมองและกินยาวิตามินเพื่อบำรุงร่างกายต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่ดีขึ้น ที่ทำงานมีภาวะตึงเครียดมากขึ้น วุ่นวายการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานบางอย่าง ทำให้เรามีภาวะเครียดสูงขึ้นกว่าเดิม จากที่เดิมทีมีปัญหาเรื่องการนอนหลับพักผ่อนไม่ได้อยู่แล้ว

มีวันหนึ่งที่ร่างกายไม่ไหวแล้ว เรากินยาจิตเวชเกินขนาดไปสองเท่าเพราะปัญหาการนอนไม่หลับ ทำให้วันนั้นนอนหลับยาวนาน คนที่ทำงานโทรตามเรากันจ้าละหวั่น ติดต่อไม่ได้ หลานมาตามที่ห้องเพราะคิดว่าเราเสียชีวิตในห้อง (เราทำงานต่อมาได้สองหรือสามเดือนจึงลาออกจากงานและกลับไปที่บ้านต่างจังหวัดอีกครั้ง) สุดท้ายแล้วเราเลือกที่จะให้ร่างกายกลับมาสู่ภาวะสมดุลได้โดยธรรมชาติ เราหยุดยาด้านจิตเวช ไม่ได้ไปรับการรักษาทางจิตเวชเพราะเรามองประเด็นการเกิดจิตหลอน และหวาดระแวง  นอนไม่หลับ เกิดจากการกินยา Klasid  หากเมื่อเราหยุดกินแล้วเดี่ยวก็หายเองได้ (สามารถหาอ่านบทความเพิ่มเติมเรื่องการระมัดระวังการใช้ยาฆ่าเชื้อเพื่อรักษาโรคที่เกินความจำเป็นได้)

บทความหลังออกจากออกจากงานประจำเราต้องเตรียมตัวและเตรียมพร้อมอย่างไร  เราต้องดูแลตนเองอย่างไร อาการทางจิตเวชดีขึ้นได้อย่างไร?  ติดตามบทความตอนต่อไปได้ที่ healthybestcare.com

 

แชร์ให้เพื่อน

9 สัญญาณเตือน ว่าคุณได้เวลาต้องตรวจเช็คสุขภาพประจำปีแล้วหรือยัง?

แชร์ให้เพื่อน

9 สัญญาณเตือน ว่าคุณได้เวลาต้องตรวจเช็คสุขภาพประจำปีแล้วหรือยัง?

การตรวจสุขภาพประจำปีนั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างไร?  และทำไมคนเราถึงจำเป็นต้องตรวจเช็คสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง?

เหตุผลเพราะว่า การตรวจเช็คสุขภาพประจำปีจะช่วยให้เรารับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบการทำงานของร่างกายตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ปล่อยให้เกิดปัญหาที่เกินการรักษาหรือเยียวยาได้ เช่น หากตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติในช่วงเริ่มต้น การตรวจพบระดับไขมันสูงในร่างกายสูงเกินกว่าปกติ  ช่วยให้เราสามารถปรับแนวทางการดูแลตนเองเบื้องต้นได้ คือ คุณสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ด้านการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การออกกำลังกายเป็นประจำ  การพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ โดยการตรวจสุขภาพประจำปีจะเน้นด้าน ระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ความสมดุลกรดด่างของร่างกาย ความหนาแน่นของมวลกระดูก  การตรวจประสิทธิภาพของปอด การตรวจความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอื่นๆ เป็นต้น หากเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์แล้ว การตรวจเช็คสภาพของรถยนต์เพื่อช่วยป้องกัน ไม่ให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหาย หยุดทำงานในระหว่างการใช้งาน หรือเกิดปัญหาในระหว่างการขับขี่เครื่องยนต์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต และทรัพย์สินได้ 

 9 สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าคุณต้องตรวจเช็คสุขภาพประจำปีได้แก่

  1. การมีพฤติกรรมด้านการใช้ชีวิตที่มีภาวะเสี่ยง หรือเกิดผลกระทบด้านสุขภาพโดยตรงเช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การสูบบุหรี่เป็นประจำ เพราะพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นมีผลต่อการทำงานของตับ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่มีผลกระทบต่อระบบการทำงานของปอด หรือการทำงาน และพักอยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีทั้งทางน้ำหรือทางอากาศเช่น แหล่งของนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ การอาศัยอยู่ในแหล่งที่มีมลภาวะทางอากาศ เช่น การเผาป่า ชมชนแออัด การอาศัยอยู่ในเมืองที่มีปัญหามลพิษทางอากาศเป็นต้น
  2. การมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ การรับประทานอาหารจานด่วน บุปเฟ่ต์  หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ชา กาแฟ  น้ำหวาน น้ำอัดลม เป็นต้น
  3. การมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ขาดการออกกำลังกาย เช่น การนั่งทำงานในออฟิตนานๆ  หากเราไม่ออกกำลังกายเลย จะทำให้เกิดการสะสมอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ส่งผลให้เกิดภาวะโรคอ้วนตามมาได้
  4. การมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือโรคอ้วน ซึ่งเป็นสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่ขาดความสมดุล หรือบางรายอาจเกิดจากภาวะความผิดปกติ หรือความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายเป็นต้น
  5. คุณมีอาการเหนื่อยหอบ อ่อนเพลียบ่อยๆ  หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ หรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้น้อยลงกว่าเดิม  อาจเป็นสาเหตุจากการภาวะความไม่สมดุลของกรดด่างในร่างกาย หรือเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ภาวะการขาดสารอาหาร หากเราทราบผลการตรวจสุขภาพแล้วจะช่วยให้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  การออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นต้น โดยเน้นการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองมากขึ้นก่อนที่คนอื่นจะเข้ามาดูแลหรือควบคุมแทน
  6. คุณทำงานหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด หรือทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับสารกัมมันตภาพรังสี เป็นต้น
  7. คุณมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว หรือ กินยาสมุนไพรบางชนิดต่อเนื่อง เช่น โรคเบาหวาน หากใครที่มีปัญหาของโรคเบาหวาน หากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ จะส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ปัญหาของเบาหวานขึ้นตา การคั่งของของเสียในร่างกาย เกิดโรคไตตามมาในที่สุด  และพฤติกรรมการกินยาแก้ปวดเป็นประจำ เป็นต้น
  8. คุณมีโรคประจำตัวเรื้อรังอื่นๆ ที่พบได้บ่อยๆ หรือหลังจากที่มีปัญหาภาวะวิกฤติของร่างกาย เช่น โรคอัมพฤตอัมพาต โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
  9. ข้อสุดท้ายและท้ายสุดคือ คุณมีอายุมากขึ้นนั่นเอง  หรือคุณไม่เคยมีประวัติการเจ็บป่วยที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล อาจเป็นเพราะว่าคุณอาจมีความอดทนต่อภาวะการเจ็บป่วยสูง หรือ คุณมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่แล้ว แต่การตรวจคัดกรองเบื้องต้นนั้น จะช่วยให้เราสามารถนำข้อมูลด้านสุขภาพมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น งดสูบบุหรี่ งดกินเหล้า งดอาหารมัน อาหารหวาน เลือกรับประทานอาหารที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย พืชผักปลอดสารพิษ หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษ เป็นต้น

 

แม้ว่าการตรวจสุขภาพไม่ได้เป็นตัวการันตีว่าเราจะไม่เป็นโรคหรือเกิดปัญหาโรคเรื้อรังแต่อย่างน้อยการตรวจสุขภาพประจำปีจะช่วยให้เรารู้ว่าสุขภาพของตนเองเป็นอย่างไร ได้เวลาที่เราต้องดูแลรักษาสุขภาพของตนเองแล้วหรือยัง หากคุณรักตนเอง และคนรอบข้าง อย่างลืมพาเค้ามาตรวจเช็คสุขภาพประจำปีนะคะ

สนใจเนื้อหาหรือบทความด้านสุขภาพเพิ่มเติมอื่นๆได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน