ต้มยำกุ้ง  อุดมไปด้วยสมุนไพรไทยช่วยรักษาโรค

แชร์ให้เพื่อน

ต้มยำกุ้ง  อุดมไปด้วยสมุนไพรไทยช่วยรักษาโรค

ต้มยำกุ้งเป็นเมนูอาหารไทยที่อยู่คู่ครัวของคนไทยมาช้านานและเป็นเมนูอาหารที่ได้รับความนิยมมากทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ
เมนูอาหารประเภทต้มยำกุ้งจัดเป็นกลุ่มอาหารที่ออกฤทธิ์ร้อนอุดมไปด้วยสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ  มีเทคนิคในการปรุงอาหารประเภทต้มยำให้มีรสชาติ​อร่อย หอมสมุนไพรไทยและไม่มีกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์เลยโดยการตั้งไฟให้เดือดก่อนแล้วค่อยใส่ส่วนผสมต่างๆลงไป
เรามาดูกันเลยว่าต้มยำหนึ่งถ้วยมีสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอะไรบ้าง

ประโยชน์ของสมุนไพรไทยที่ใส่ในต้มยำกุ้งได้แก่
1.ตะไคร้
ตะไคร้​เป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่น เป็นพืชล้มลุกขยายออกเป็นกอใหญ่ นิยมปลูกตามบ้านเพื่อนำมาปรุงอาหารมีประโยชน์มากมายเช่น

  • อุดมไปด้วยแร่ธาตุ​และวิตามินที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย คือ วิตามินเอช่วยบำรุงสายตา วิตามินซีบำรุงผิวพรรณ​ วิตามินบีรวมช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ทั้งยังมีแร่ธาตุ​ แมกนีเซียม​ โฟเลต สังกะสี แคลเซียม โพแทสเซียม​ ช่วยบำรุงกระดูก​และฟันอีกด้วย
  • ต้มยำกุ้งหรือน้ำตะไคร้ ออกฤทธิ์ขับปัสสาวะ ช่วยล้างพิษในร่างกาย
  • ตะไคร้ช่วยระบบย่อยอาหาร การดื่มชาตะไคร้ช่วยย่อยอาหาร ลดแก๊สในกระเพาะและลำไส้อีกด้วย
  • ตะไคร้อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูล​อิสระ​ มีกลิ่นหอมระเหยอ่อนๆช่วยให้หายใจโล่ง สดชื่น ทั้งยังช่วยบำรุงผิวพรรณ​อีกด้วย นอกจากนี้ยังออกฤทธิ์ลดปวดและลดการอักเสบได้ด้วย

2.ข่าขาวหรือข่าเหลือง
ข่าเป็นส่วนผสมของต้มยำที่ขาดไม่ได้ ข่าเป็นพืช
ลุ้มลุกนิยมปลูกตามบ้านใช้เหง้าเพื่อนำมาปรุงอาหารและมีประโยชน์หลากหลายดังนี้

  • ข่ามีสารชนิดหนึ่งช่วยยับยั้งและรักษาโรคมะเร็ง โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์​มะเร็ง ทำให้หายจากโรคมะเร็งในที่สุด
  • ข่ามีกลิ่นหอมและให้น้ำมันหอมระเหยเมื่อรับประทานต้มยำกุ้ง ช่วยแก้หวัด หายใจโล่งขึ้น แก้ไอและเจ็บคอ ช่วยขับเสมะ
  • ข่าช่วยระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้ย่อยอาหารดีขึ้น เป็นยาระบายอ่อนๆ ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดหรือแน่นท้อง ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร
  • ข่าช่วยคลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามตัว และบรรเทาอาการปวดข้อ

3.ใบมะกรูดหรือเปลือกมะกรูด
มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีหนามตามกิ่งและลำต้น การใช้ใบมะกรูดหรือผิวมะกรูดใส่ปรุงในต้มยำกุ้ง มีประโยชน์ดังนี้

  • แก้อาการเป็นลมหน้ามืดหรือแก้อาการวิงเวียนศรีษะ ช่วยบำรุงหัวใจ และช่วยให้นอนหลับสบาย
  • ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลมะเร็งและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งทางเดินอาหารได้้ด้วย
  • ช่วยบำรุงเส้นผมให้มีความเงางาม นุ่มลื่นสลวย เส้นผมแข็งแรง ไม่หลุดร่วงง่าย ไม่แตกปลาย กำจัดรังแคได้ดีอีกด้วย

4.พริกชี้ฟ้า
พริกเป็นพืชล้มลุก มักติดผลช่วงหน้าหนาว มีรสชาติ​เผ็ดร้อนเป็นผักที่จำเป็นในการปรุงอาหารต้มยำกุ้ง ช่วยให้รสจัด และมีสาร แคปไซซิน(Capsaicin) ช่วยควบคุมน้ำหนักและลดความอ้วน นอกจากนี้ยังช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร โดยสารแคปไซซิน ช่วยยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้แผลหายเร็วขึ้นด้วยการรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ

5.กระเทียม
กระเทียมเป็นส่วนผสมที่จำเป็นในต้มยำกุ้ง มีประโยชน์บรรเทาและรักษาอาการไข้หวัดเนื่องจากในกระเทียมมีสารหอมระเหยแอนตี้ออกซิแดนท์ช่วยในระบบภูมิคุ้มกันโรคหวัดและภูมิแพ้ การรับประทานกระเทียมช่วยลดความดันและช่วยลดน้ำหนักได้ เนื่องจากช่วยการสลายตัวของไขมันในร่างกายลดการสะสมไขมันส่วนเกิน

6.มะเขือเทศ
มะเขือเทศ มีรสเปรี้ยวเมื่อใส่ในต้มยำกุ้งออกรสชาติ​เปรี้ยวเล็กน้อย มะเขือเทศอุดมไปด้วยวิตามินซี ช่วยบำรุงผิวพรรณ​ให้เนียนใส และลดการเกิดสิว ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น ทั้งยังเป็นยาระบายอ่อนๆ ลดการแน่นอึดอัดหรือบรรเทาอาการจุกเสียดแน่นท้อง


7.น้ำมะขามเปียก
มะขามเปียกมีรสเปรี้ยวช่วยให้ตื่นตัว อุดมไปด้วยวิตามินซีและแคลเซียมช่วยป้องกันและรักษาเลือดออกตามไรฟัน ทั้งยังช่วยบำรุงกระดูกและฟันอีกด้วย ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้เป็นยาระบายได้ดีสำหรับคนที่มีปัญหาท้องผูกอีกด้วย

8.มะนาว
มะนาวจัดเป็นผักคู่ครัวของคนไทย อุดมไปด้วยวิตามินซีและแร่ธาตุ​เช่นแคลเซียม​โพแทสเซียม​และฟอสฟอรัส​ การรับประทานต้มยำกุ้งมีมะนาวเป็นส่วนผสมช่วยในการย่อยอาหารได้ดี และช่วยดีทอกซ์​โดยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ช่วยขับสารพิษออกมาทางอุจจาระ ลดอาการท้องอืด และยังช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีความกระจ่างใส และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันไข้หวัด

จะเห็นได้ว่าสมุนไพรในต้มยำกุ้งทั้งแปดชนิดอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ​ต่างๆมากมาย มีกลิ่นหอมของสมุนไพร รสชาติจัดจ้าน ทำให้ร่างกายตื่นตัว ช่วยขับล้างสารพิษในลำไล้ เป็นยาระบาย ลดอาการท้องอืดแน่นท้องเป็นเมนูอาหารที่เหมาะสำหรับคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ได้รับความนิยมไปทั่วทุกมุมโลก

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ยาน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก เสี่ยงอันตราย

แชร์ให้เพื่อน

ยาน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก เสี่ยงอันตราย

เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบเมื่อเจ็บไข้ ได้ป่วยมักจะได้ยาชนิดน้ำเชื่อมมารับประทาน  จากข้อมูลต่างประเทศพบว่า ยาน้ำเชื่อมแก้ไอ และยาน้ำเชื่อมแก้ไข้ มีสารเจือปนในตัวทำละลายในกระบวนการผลิตยา มีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้ต่อการเสียชีวิต จากภาวะไตวายเฉียบพลัน ในต่างประเทศ
ยาน้ำเชื่อม มีส่วนผสมของ เอทิลีนไกลคอล และไดเอทิลีนไกลคอล เกิดจากปัญหา การใช้วัตถุดิบที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีการรายงานถึงการเปลี่ยนแปลงในส่วนผสมและใช้วัตถุดิบบางอย่างเกินหลักเกณฑ์​ที่กำหนด
ข้อมูลจากต่างประเทศ​ พบการใช้ยาน้ำเชื่อมในเด็กอายุต่ำกว่า 5ขวบมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้ต่อการเสียชีวิตจากภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งพบข้อมูลการเสียชีวิตแล้ว 150 คนตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

 

ฉะนั้นการใช้ยาชนิดน้ำเชื่อมแก้ไอ หรือ ยาชนิดน้ำเชื่อมแก้ไข้ควรใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ใช้ยาพร่ำเพรื่อใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ ​ควรเน้นการดูแลเบื้องต้นเป็นหลักเช่นกรณีมีไข้ ตัวร้อนให้เช็ดตัวลดไข้ ให้กินน้ำอย่างเพียงพอ ลดระคายเคืองในลำคอ เพื่อลดการรับประทานยาน้ำเชื่อมแก้ไข้และยาน้ำเชื่อมแก้ไอในเด็ก

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

8 วิธีฝึกปฏิบัติเพื่อขจัดความกลัว

แชร์ให้เพื่อน

8 วิธีฝึกปฏิบัติเพื่อขจัดความกลัว

1.อยู่กับความเป็นจริง ฝึกจิต กำหนดจิตว่าไม่มีอะไรที่ต้องกลัว ความกลัวเกิดจากสาเหตุใด
2.เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรากลัว ว่าความกลัวนั้นมีเหตุผลประกอบความกลัวหรือไม่ ทำไมต้องกลัว
3.สร้างความคุ้นเคยกับสิ่งที่กลัวโดยเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆก่อน
4.การใช้เวลาอยู่กับคนที่เค้าไม่กลัวสิ่งที่เรากลัวให้มากขึ้นเพื่อจะได้ลดความกลัวลงเรื่อยๆ
5.การสื่อสารหรือการพูดบ่อยๆถึงสิ่งที่กลัวจะช่วยลดความกลัวลงได้
6. การจินตนาการ ถ้ากลัวในการพูดต่อหน้ากลุ่มคนจำนวนมาก ให้ใช้วิธีฝึกพูดและจินตนาการว่ากำลังพูดในห้องประชุมเป็นต้น
7.ถ้ากลัวความสูง ห้ามมองลงมาข้างล่าง ใช้เทคนิคการหลอกจิตว่ายืนอยู่บนพื้นดิน ไม่ใช่ตึกสูง
8.แสวงหาความช่วยเหลือเช่น จิตแพทย์ การบำบัดโดยกลุ่ม นักพฤติกรรม​บำบัด การฝึกจิตวิญญาณ​การใช้ยา

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

กฎ7ข้อ ศาสตร์​แห่งการควบคุมอารมณ์

แชร์ให้เพื่อน

กฎ7ข้อ ศาสตร์​แห่งการควบคุมอารมณ์

การควบคุมอารมณ์(Emotional Control) คือทักษะในการจัดการกับสิ่งเร้าต่างๆที่ทำให้เกิดการตื่นตัวและแสดงพฤติกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย​ที่กำหนดไว้

องค์ประกอบของอารมณ์​มี 3 ประการคือ
1.องค์​ประกอบด้านสรีระ(Physical dimension) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดขึ้นควบคู่กับอารมณ์​เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกตามร่างกาย อารมณ์​ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมากที่สุดคือ อารมณ์​กลัว  ซึ่งอารมณ์กลัวทำให้หลั่งฮอร์โมน​แอดรีนาลีนจากต่อมแอดรีนัล(Adrenal gland) และอารมณ์​โกรธ  ซึ่งอารมณ์โกรธจะหลั่งฮอร์โมน​นอร์แอดรีนาลีน(Noradrenalin)​

2.องค์​ประกอบทางด้านการนึกคิด(Cognitive dimension) เป็นปฏิกิริยาด้านจิตใจต่อสิ่งเร้าและเกิดเป็นอารมณ์​ขึ้นมา เช่น ชอบ-ไม่ชอบ  ถูกใจ-ไม่ถูกใจ

3.องค์​ประกอบด้านประสบการณ์​(Experiential dimention) เป็นการเรียนรู้ภายในจิตใจของแต่ละบุคคลในอดีต ซึ่งมีความแตกต่างกันไป 

การแสดงออกของอารมณ์นั้นสามารถแสดงออกมาโดยคำพูดและสีหน้า  ท่าทาง  อาจเกิดความสับสนในการตีความได้เนื่องจากสังคมและวัฒนธรรม เช่น การแลบลิ้น บางกลุ่มชนเป็นการทักทาย  ในสังคมจีนแสดงถึงความประหลาดใจ


นักจิตวิทยาพบว่าอารมณ์​แรกของมนุษย์ คืออารมณ์​ตื่นเต้น ขณะที่ทารก 3 เดือน มีเพียง อารมณ์​เศร้า และอารมณ์​ดีใจ สำหรับอารมณ์​ที่มีความสลับซับซ้อนจะปรากฏ​ขึ้นตามวุฒิภาวะ เช่น อารมณ์​ก้าวร้าว​และรุนแรงเป็นผลมาจากความคับข้องใจ หรือถูกกดขี่ตลอดเวลา

ดังนั้นมนุษย์​ทุกคนจึงต้องเรียนรู้วิธีการควบคุมอารมณ์​ของตนเองให้สามารถปรับตัวและดำรงชีพอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

กฏ 7 ข้อศาสตร์​แห่งการควบคุมอารมณ์​มีดังต่อไปนี้

1.การรู้เท่าทันอารมณ์  โดยการมีสติอยู่เสมอ เพื่อควบคุมอารมณ์​ให้คลายลงได้ เช่น การขับรถใกล้วัด บริเวณ​ที่เผาศพ มองเห็นเงาตะคุ่ม ก่อให้เกิดอารมณ์​กลัวทำให้เร่งขับเร็วขึ้นทำให้เกิดอุบัติเหตุได้  ทั้งที่เงานั้นเป็นเงาต้นไม้ ถ้าใช้สติมากขึ้นก็ไม่ทำให้เกิดความสูญเสีย

2.การมีความอดทน การขาดความอดทนทำให้ใจร้อน รอคอยไม่เป็น ไม่อดกลั้น ก่อให้เกิดปัญหาหลากหลายเช่นการเกิดอุบัติเหตุ​ตามท้องถนน  ทะเลาะเบาะแว้ง ลงไม้ลงมือ การฝึกความอดทนอดกลั้นจะช่วยลดปัญหาต่างๆลงได้ และเกิดผลลัพธ์​ที่ดีในอนาคต

3.การมีกลยุทธ์​ที่ยืดหยุ่นได้ เป็นการผ่อนปรน การรู้จักผ่อนสั้น ผ่อนยาว ความไม่เคร่งครัดในบางโอกาส  ถ้าเคร่งครัดมากเกินไปเกิดผลเสียมากกว่าผลดีก็ต้องมีความยืดหยุ่นลงบ้าง เช่นความเคร่งเครียดกับการทำงานหามรุ่งหามค่ำซึ่งส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ เราควรแบ่งช่วงเวลา ผ่อนคลาย อารมณ์​ ใช้วันหยุดพักร้อนเพื่อพักผ่อน

4.ควรหยุดพักก่อน  เมื่อสังเกตุว่าเราแสดงอารมณ์​ที่ไม่เหมาะสม เราควรต้องหยุดพักเพื่อจะได้คิดทบทวนย้อนกลับว่าเหตุใดเราถึงแสดงอารมณ์​นั้นออกมา

5.การให้รางวัลกับตัวเอง  เป็นการเสริมแรง  สร้างพลังทางบวกแก่จิตใจ เช่น การไปเที่ยว  การซื้อทรัพย์​สินให้ตัวเอง  รวมถึงการฝึกสมาธิเป็นการเสริมพลังทางจิตด้วย

6.การบันทึกชนิดของสิ่งเร้าที่กระตุ้นอารมณ์(Mood Tracker) โดยจดบันทึกระดับความรู้สึกอารมณ์​ด้วยสีต่างๆที่บ่งบอกความรู้สึกเศร้า โกรธ เฉยๆ หรือมีความสุขมากๆ และต้องเป็นการบันทึกอย่างซื่อตรงกับความรู้สึกตัวเอง ทำให้เราเข้าใจและสามารถควบคุมอารมณ์​ได้ดีขึ้น

7.พัฒนาการด้านอารมณ์​เป็นความสามารถในการแยกแยะความรู้สึก และการควบคุมการแสดงออกของอารมณ์​อย่างเหมาะสมเมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์​ต่างๆตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและนับถือตัวเอง

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

กิจกรรมสันทนาการ​ช่วยกระตุ้นสมองผู้สูงอายุ

แชร์ให้เพื่อน

กิจกรรมสันทนาการ​ช่วยกระตุ้นสมองผู้สูงอายุ ตอนที่2

อ่านตอนที่ 1 ภาวะสมองเสื่อม การเขียนหนังสือช่วยได้ !!!! ตอนที่ 1 

กิจกรรมสันทนาการ​ ช่วยกระตุ้นสมองของผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืม ความจำเสื่อม โดยจัดกิจกรรมสันทนาการ​อย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยกระตุ้นสมอง ลด หรือบรรเทาอาการความจำเสื่อม หลงลืม ได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้สูงอายุมีร่างกายแข็งแรง และสุขภาพจิตดีอีกด้วย เรามาดูกันเลยว่ามีกิจกรรมสันทนาการ​อะไรบ้าง?

1.กิจกรรมสันทนาการ​ การออกกำลังกาย
เนื่องจากผู้สูงอายุมีความเสื่อมของร่างกาย เช่น กระดูกพรุน หรือบางรายอาจมีโรคประจำตัวร่วมด้วยเช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น ควรเลือกประเภทในการออกกำลังเบาๆ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง จิตใจแจ่มใส การทรงตัวดีขึ้น และช่วยให้การสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น

หลักการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

  • ควรออกกำลังกายสัปดาห์​ละ 4-5ครั้ง หรือออกกำลังกายวันเว้นวัน ตามสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ
  • ระยะเวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้งไม่ควรเกิน20-30นาที รวมช่วงการอบอุ่นร่างกายแล้ว
  • ชนิดของการออกกำลังควรงดการใช้แรงปะทะ ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ เน้นการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่เช่น การวิ่งเหยาะๆ ควรหลีกเลี่ยงกรณีเข่าเสื่อม การเดิน รำมวยจีน เต้นแอโรบิค
  • ควรงดออกกำลังกายถ้ามีอาการดังนี้คือ เวียนศรีษะ​ หลังกินอาหารมื้อหลัก หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
    หรือหลังรับประทานอาหารมื้อหลัก

2.กิจกรรม​สันทนาการ​ การเขียน การอ่าน หนังสือ และการวาดรูป การ์ดอวยพร
กิจกรรมการอ่านหนังสือเปิดโอกาสให้สมองผู้สูงอายุได้คิด วิเคราะห์ รวบรวมเนื้อหาและนำมาเขียนเป็นบทความ สรุปเนื้อหาสั้นๆ โดยมีการวาดภาพประกอบบทความ ช่วยกระตุ้นด้านความคิดสร้างสรรค์ และความสุขทางใจ
กิจกรรมการวาดรูป การ์ดคำอวยพรในเทศกาลต่างๆ เช่น การ์ดอวยพรวันเกิด วันปีใหม่ วันแต่ง


 

 

3.กิจกรรม​สันทนาการ​ การเล่นเกมฝึกสมองลดความจำเสื่อม
การเล่นเกมนอกจากจะช่วยให้สนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังช่วยฝึกสมาธิ มีเพื่อนเช่นการเล่นหมากรุกกับเพื่อนวัยเดียวกัน ช่วยกระตุ้นสมองด้านการวางแผนการเดินหมากรุกแต่ละตัว ช่วยกระบวนการตัดสินใจด้วยว่าเลือกที่จะเสียหรือเก็บหมากตัวไหนไว้
เกม​ออนไลน์​เช่น Candy Crush Saga

4.การดูยูทูป การฟังเพลง ร้องเพลง ช่วยลดความจำเสื่อม
ดนตรี หรือสื่อออนไลน์​ที่ให้ความบันเทิง​ช่วยกระตุ้นอารมณ์​เชื่อมโยงไปสู่การคิด วิเคราะห์และความจำของผู้สูงอายุ ช่วยลดความเสื่อมของสมอง ถึงแม้ว่าในรายที่มีภาวะความจำเสื่อม การรับรู้ด้านเสียงเพลง และร้องเพลง ถือเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ควรจัดให้มีกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดความจำด้านกิจวัตรประจำวัน​ได้ดีขึ้นด้วย
กิจกรรม​สันทนาการ​เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริม กระตุ้นสมองของผู้สูงอายุ ร่วมกับการมีสัมพันธภาพ​ที่ดีภายในครอบครัว ช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

อ่านตอนที่ 1 ภาวะสมองเสื่อม การเขียนหนังสือช่วยได้ !!!! ตอนที่ 1 

แชร์ให้เพื่อน

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

แชร์ให้เพื่อน

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

โรคนอนไม่หลับ(Insomnia) หมายถึงภาวะที่เกี่ยวข้องกับวงจรของการนอนหลับ ประกอบด้วยความยากลำบากในการเข้านอน  การหลับต่อเนื่อง และการตื่นนอนก่อนเวลา ทำให้ตื่นตอนเช้าไม่สดชื่น ส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เบื่อหน่าย  ไม่มีสมาธิ
ภาวะการนอนไม่หลับจะมีความเกี่ยวข้องกับอายุกล่าวคือ ยิ่งมีอายุมากขึ้น จะทำให้นอนหลับยากขึ้น

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ(Insomnia)​

  • ร่างกายได้รับการกระตุ้น หรือตื่นตัวมากเกินไป
  • ปัญหาด้านความเจ็บป่วยร่วมด้วย

ภาวะนอนไม่หลับเกิดผลกระทบดังต่อไปนี้

  • ด้านความรู้สึกนึกคิด เกิดความบกพร่องด้านความรู้สึกนึกคิด มีความวิตกกังวล คิดวนเวียนอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
  • ด้านร่างกาย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด  การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง
  • ด้านจิตใจ ซึมเศร้า วิตกกังวล  อาจมีปัญหาติดเหล้า ยาเสพติดตามมาได้
  • ด้านเศรษฐกิจ​  พบว่าการบำบัดโรคนอนไม่หลับมีค่าใช้จ่ายสูงมากในต่างประเทศ

แนวทางการปฏิบัติเพื่อช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น

  • หลีกเลี่ยงการงีบหลับกลางวัน เพราะการงีบหลับกลางวันจะทำให้วงจรการนอนหลับแปรปรวน
  • เข้านอนเมื่อรู้สึกง่วงนอนจริงๆ เท่านั้น
  • ไม่ทำกิจกรรมอื่นๆบนเตียงนอน เช่น อ่านหนังสือ เล่นโทรศัพท์​ ดูทีวี
  • ถ้าขึ้นเตียงนอน 10 นาทีผ่านไปแล้วยังไม่หลับให้ลุกออกจากเตียงนอน ไปที่อื่นและกลับมานอนอีกครั้งเมื่อง่วงนอนจริงๆเท่านั้น
  • ตั้งนาฬิกาปลุก​เพื่อจะได้ตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุกวัน จะทำให้วงจรการนอนหลับและตื่นคงที่
  • จัดสภาพแวดล้อมห้องนอนที่้เอื้อต่อการนอน เช่น เตียงนอนไม่แข็งเกินไป มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป ไม่สว่างจนเกินไป ไม่มีเสียงดังรบกวน
  • การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยเริ่มจากการสูดหายใจเข้าลึกๆ และผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่คอ แขน หลัง ขา และผ่อนคลายทั่วร่างกาย
  • การฝึกผ่อนคลาย​จิตใจเช่น การทำสมาธิ

ภาวะการนอนไม่หลับเป็นปัญหาด้านจิตเวช​ ถ้าใช้วิธีการที่กล่าวมาแล้วไม่ได้ผลอาจต้องปรึกษาจิตแพทย์​เพื่อวินิจฉัย​และหาแนวทางการรักษาวิธีอื่นต่อไป

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

5 กิจกรรม​คลายเครียดของวัยทำงาน (ภาค2)

แชร์ให้เพื่อน

5 กิจกรรม​คลายเครียดของวัยทำงาน (ภาค2)
ต่อจากบทความที่แล้ว

5 กิจกรรม​คลายเครียดของวัยทำงาน (ภาค1)

3.กิจกรรม​งานอดิเรก
กิจกรรมงานอดิเรกเป็นการทำในสิ่งที่ตนเองรักและชื่นชอบซึ่งแต่ละคนจะชอบไม่เหมือนกันแต่ประโยชน์เพื่อผ่อนคลายความเครียด สนุกสนานเพลิดเพลินและสุขใจ

งานอดิเรกที่นิยมทำบ่อยๆเช่น

  • การทำอาหาร ทำขนม หรือทำน้ำปั่นเพื่อสุขภาพ กิจกรรมนี้นอกจากจะช่วยผ่อนคลายแล้ว ยังอิ่มท้องด้วย
  • การจัดดอกไม้ เช่นการจัดดอกไม้ในแจกัน การจัดดอกไม้เป็นช่อ มีความสุขผ่อนคลายตั้งแต่การเดินเลือกซื้อดอกไม้ที่สวยงาม โดยจัดในห้องพระ ห้องรับแขก โต๊ะอาหาร หรือมอบดอกไม้ให้คนที่เรารัก
  • การทำ DIY เช่นการนำเสื้อผ้าที่ไม่เคยใส่หรือใส่ไม่บ่อยเรานำมาตกแต่ง เย็บปะถักร้อยเข้าไปใหม่เพื่อให้มีความสวยงามน่าใส่
  • การปลูกต้นไม้และจัดสวน
    เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบต้นไม้ ดอกไม้ เช่นต้นไม้ด่างที่ได้รับความนิยม การจัดสวนที่ตกแต่งด้วยไม้นานาชนิด มีน้ำตก บ่อเลี้ยงปลาสวยงาม ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
  • การถ่ายรูป หรือถ่ายวีดีโอในปัจจุบันมีสมาร์ทโฟน ทำให้ง่ายในการถ่ายภาพหรือวีดีโอลง tiktok หรือ youtube ยูทูบ ช่วยสร้างรายได้ได้ด้วย
  • การวาดรูป ระบายสีการวาดรูประบายสีช่วยผ่อนคลาย และสร้างจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ มีสติและสมาธิมากขึ้น


4.กิจกรรม​ทางสังคม
เป็นกิจกรรมที่คนในสังคมร่วมกันจัดขึ้น  เน้นการรวมตัวกันของบุคคล ทำให้เกิดสัมพันธภาพ​อันดีต่อกัน เช่น  กิจกรรมงานแต่งงาน  งานบวช  งานทอดกฐิน​ ทอดผ้าป่า  งานเลี้ยงวันเกิด  ซึ่งมีประโยชน์หลายอย่างได้แก่

  • ได้รับความสนุกสนาน  เกิดความสุขในชีวิ
  • ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • สร้างความรัก สามัคคี​  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน ในชุมชน
  • ช่วยให้มีสุขภาพจิตดี
  • ช่วยผ่อนคลายความเครียดจากกิจวัตรประจำวันและการทำงาน


5.กิจกรรม​การพัฒนาจิตและนั่งสมาธิ
การฟังธรรมและนั่งสมาธิ ถือว่าเป็นมงคลของชีวิต
ช่วยส่งเสริมให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า

หลักการพัฒนาจิตของพุทธศาสนิก​ชนมี 5 ท่า
1.การไหว้พระสวดมนต์ การไหว้พระสวดมนต์ส่วนใหญ่แล้วจะทำก่อนนอน  หรือเข้าวัดทำบุญในวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ เช่น วันพระ  วันเข้าพรรษา
วันออกพรรษา​  เป็นต้น ช่วยผ่อนคลายจิตใจ
มีสมาธิ 

2.ปฏิบัติ​ตามศีล 5 เป็นประจำ

  • ห้ามฆ่าสัตว์
  • ห้ามลักทรัพย์
  • ห้ามพูดปด
  • ห้ามประพฤติ​ผิดในกาม
  • ห้ามดื่มสุราเมรัย และเล่นการพนัน

3.การนั่งสมาธิ
เป็นการฝึกปฏิบัติใช้ความตั้งมั่น  จดจ่อและแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง​ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  ทำให้รู้สึกตัว สงบและมีสติตลอดเวลา

4.การเดินจงกรม
เป็นการเดืนอย่างมีสติเริ่มตั้งแต่การยกเท้า ก้าวย่าง และเหยียบลงพื้นเดินกลับไปกลับมา เป็นการปฏิติให้รู้ว่าการทำกิจกรรมอะไรต้องมีสติตลอดเวลา

5.การใช้อุปกรณ์ลูกปะคำเพื่อพัฒนาจิต
การนับปะคำเป็นการฝึกสมาธิแบบหนึ่ง การนับปะคำเป็นการน้อมใจเพื่อรำลึกคุณของพระพุทธ​  พระธรรม และพระสงฆ์​ ใช้ลูกปะคำจำนวน 108 ลูก พร้อมกับการสวดมนต์

5 กิจกรรม​คลายเครียดของวัยทำงาน (ภาค1)

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

การวาดภาพกระตุ้นพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก

แชร์ให้เพื่อน

การวาดภาพกระตุ้นพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก

การวาดภาพคือการถ่ายทอดอารมณ์​ส่วนตัวของบุคคลออกมาบนวัตถุ​ชนิดต่างๆเช่น กระดาษ  ผ้า อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้  ตึกรามบ้านช่อง​ ไม่ว่าจะเป็น การ์ตูน ภาพเหมือนคน  ภูเขา ธรรมชาติ  ภาพลายเส้น เป็นต้น
การวาดภาพเป็นกิจกรรมเดี่ยว หรือกลุ่ม เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย กระตุ้นจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์​
ขอยกตัวอย่างภาพวาดที่โด่งดังชิ้นโบว์แดง​เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วโลกคือ Mona Lisa ซึ่งลีโอนาโด ดาวิน​ชี​เป็นผู้วาด เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์​ลูฟร์ ในกรุงปารีส​
ซึ่งคนแห่มาเยี่ยมชมปีละ 6 ล้านคนเลยทีเดียว

การวาดภาพกระตุ้นพัฒนาและการเรียนรู้ได้อย่างไร?

  • กระตุ้นพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แข็งแรง
  • ช่วยพัฒนาสมองซีกขวา
  • ฝึกสมาธิ  อารมณ์สงบ ไม่วอกแวก​จดจ่อกับภาพที่วาด
  • สร้างจินตนาการแสดงออกมาเป็นภาพวาด
  • ฝึกให้มีความคิดสร้างสรรค์
  • ส่งเสริมทักษะด้านภาษาและคลังคำศัพท์ภาษาไทยและอังกฤษ
  • ช่วยให้ระบายอารมณ์​และความรู้สึกออกมาผ่านทางรูปภาพ 
  • ใช้ภาพวาดในการวิเคราห์ทางจิตวิทยาได้
  • ส่งเสริมกระบวนการคิดและตัดสินใจโดยใช้อารมณ์​  จินตาการ  และความคิดสร้างสรรค์ ร่วมกัน
  • มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
  • เป็นการส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัว หรือเพื่อนๆ
  • เบื่ยงเบนความสนใจจากการเล่นโทรศัพท์​ สื่อออนไลน์​
  • ส่งเสริมทักษะ​ด้านการสื่อสารโดยให้เด็กเล่า  บรรยาย อธิบาย ภาพวาดจากจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์​ มาเป็นคำพูด  หรือการเขียน
  • สร้างรายได้ เช่น อิโมจิ น่ารักๆ ที่ส่งในไลน์ต่างๆ
  • การ​วาดภาพ​บนวัตถุเช่น แก้ว แจกัน เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ ช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้ด้วย

จะเห็นได้ว่ากิจกรรม​การวาดภาพนั้นมีประโยชน์มากมาย นอกจากจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้แล้วยังสร้างรายได้ได้ด้วย และสามารถยึดเป็นอาชีพหลักได้เลย ไม่แน่นะลูกๆอาจเป็นศิลปินที่โด่งดัง​ในอนาคต

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

การรักษาเบาหวานด้วยการควบคุมอาหาร

แชร์ให้เพื่อน

การรักษาโรคเบาหวานด้วยการควบคุมอาหาร

การควบคุมอาหารในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2นั้น มีเป้าหมายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล และไขมันให้อยู่ในเกณฑ์​ปกติ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งในการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานนั้น จำเป็นต้องควบคุมทั้งปริมาณ​และชนิดของอาหารให้เหมาะสมกับพลังงานที่ใช้ในแต่ละวันของผู้ป่วยเบาหวาน

พฤติกรรมการบริโภค​อาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2

  • การบริโภคอาหารที่มีปริมาณ​มากเกินไป ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสู
  • การบริโภค​อาหารที่น้อยเกินไปร่วมกับการใช้ยารักษาเบาหวาน ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
    ฉะนั้นผู้ป่วยเบาจะต้องเรียนรู้ คำนวณปริมาณ​อาหารที่รับประทานแต่ละวัน โดยแบ่งมื้ออาหาร รับประทานตรงเวลา และเลือกรับประทานอาหารตามหมวดหมู่ โดยแบ่งออกเป็น

1.หมวดหมู่อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน ซึ่งให้พลังงานต่ำ ช่วยการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายได้ช้าลง เช่น ผักใบเขียวทุกชนิด  ได้แก่ คะน้า ผักบุ้ง ผักกาด ถั่วฝีกยาว ถั่วงอก กวางตุ้ง เป็นต้น

2.หมวดหมู่อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานได้แต่ต้องจำกัดจำนวน เช่น อาหารประเภทแป้ง ข้าว ซึ่งควบคุมได้ จึงแนะนำให้เลือกรับประทาน เส้นหมี่ มะกะโรนี วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ สำหรับการรับประทานข้าวเหนียวให้ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่งของข้าวจ้าว
สำหรับไขมันให้เลือกรับประทานน้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง

3.หมวด​หมู่อาหาร​ที่ผู้ป่วย​เบาหวานไม่สามารถรับประทานได้ คือกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูง มีส่วนประกอบของน้ำตาลในปริมาณ​ที่มาก เช่น น้ำตาล ขนมหวาน ทองหยิบ ทองหยอด นมข้นหวาน หากต้องการอาหารที่มีรสหวานสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์​สารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลและให้พลังงานต่ำ เช่น  อีควล

ฉะนั้นการเลือกบริโภคอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 อย่างเหมาะสม ควรต้องได้รับความรู้และคำแนะนำเรื่องชนิดและปริมาณของอาหาร เพื่อให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับค่าปกติมากที่สุดเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ลดความสูญเสียด้านค่าใช้จ่ายสูง และเสียชีวิตได้

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานสำคัญอย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานสำคัญอย่างไร?

จากปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในกลุ่มผู้ที่มีอาการชาที่ปลายมือปลายเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ส่งผลให้เกิดแผลเรื้อรังที่นิ้วเท้า ขา นำไปสู่การตัดนิ้วเท้า หรือขาตามมาได้ ซึ่งจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงและเสียภาพลักษณ์​ ในประเทศไทยพบได้บ่อย
ร้อยละ 20-30 สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ระบบประสาทส่วนปลายเสื่อม ร่วมกับการมีแผลเรื้อรัง และยังพบอัตราการตายสูงขึ้นด้วย

ฉะนั้นการส่งเสริมพฤติกรรม​การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้า เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องตระหนักและปฎิบัติ​ตามอย่างเคร่งครัด

ข้อปฎิบัติ​ในการดูแลเท้าของผู้เบาหวานเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนมีดังต่อไปนี้

  • ทำความสะอาดเท้าด้วยน้ำสะอาด ใช้สบู่ฟอกตามซอกนิ้วเท้า เช็ดให้แห้งด้วยผ้านุ่มและสะอา
  • ตัดเล็บหลังทำความสะอาดเท้าใหม่ๆ โดยใช้กรรไกร​ตัดเล็บแบบตรงไม่ควรตัดสั้น ติดเนื้อเกินไป
  • ถ้าพบผิวหนังแห้ง หรือมีส้นเท้าแตกให้ใช้ครีม หรือโลชั่นทาบางๆ
  • ตรวจเท้าทุกวันเพื่อดูว่ามีแผล อักเสบ หรือไม่ ถ้ามีแผลให้รีบปรึกษาแพทย์
  • ห้ามใช้วัตถุมีคมแคะซอกเล็บ
  • ก่อนใส่รองเท้า ตรวจสอบภายในรองเท้าก่อนว่ามีสิ่งแปลกปลอมหรือไม่ เลือกใส่รองเท้าที่หุ้มเท้า พอดี ไม่อับชื้น และสวมถุงเท้า
  • สวมรองเท้าทุกครั้งที่เดินออกนอกบ้าน ไม่เดินเท้าเปล่า
  • ขณะอยู่ในบ้านควรสวมถุงเท้าเพื่อปกปิดนิ้วเท้า
  • บริหารเท้าวันล่ะ 20-30 นาที โดยการนวดนิ้วเท้า ฝ่าเท้า และขา
  • สังเกตุอาการถ้ามีชาที่เท้า หรือมีความรู้สึกลดลงควรปรึกษาแพทย์
  • ถ้าพบบาดแผลถลอกควรรีบทำความสะอาดแผลด้วยน้ำต้มสุกหรือน้ำเกลือทันที
  • ควรได้รับการตรวจเท้าเพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าเป็นประจำทุกปี

จะเห็นได้ว่าการดูแลเท้าที่ถูกต้องและการนวดเท้าเบาๆเพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ร่วมกับเข้ารับการตรวจเท้าเพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลที่เท้าเป็นประจำทุกปี ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนทางเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน