7 เหตุ​ผลที่คนเราต้องตรวจ​เช็ค​สุขภาพ

แชร์ให้เพื่อน

7 เหตุ​ผลที่คนเราต้องตรวจ​เช็ค​สุขภาพ

มนุษย์​เราปกติทั่วไปเกิดมาพร้อมกับการมีอวัยวะในร่างกายครบ 79 ประการที่ปกติ โดยแบ่งแยกเป็นอวัยวะภายนอกที่สามารถ​มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเช่น ตา หู คอ จมูก ปาก หรือ แขน ขา เป็นต้น และส่วนที่เป็นอวัยวะภายในร่างกายเช่น ตับ ไต ใส้  หัวใจ สมอง เป็นต้น หากเกิดมาแล้วมีความพิการมาตั้งแต่กำเนิดแรกว่าโรคพิการมาแต่กำเนิดเช่น โรคหัวใจ​พิการแต่กำเนิด​ซึ่งได้กล่าวไว้​ในบทความก่อนหน้านี้แล้ว

การตรวจสุขภาพร่างกายเปรียบเสมือนการตรวจสภาพเครื่องยนต์​นั่นเองเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นขณะขับขี่รถยนต์​ที่เป็นอันตรายตามมาได้ ดังนั้นจะกล่าวถึงเหตุ​ผลที่ต้องตรวจสุขภาพ​นั้นมีอะไรบ้าง? มาดูต่อเลยคะ

7 เหตุผลหลักๆที่คนเราต้องตรวจสุขภาพ​มีดังต่อไปนี้คือ
1.เพื่อให้ทราบข้อมูลพื้นฐานของอวัยวะทั้งภายนอกและภายในร่างกายว่ามีการทำงานปกติหรือไม่เช่น การวัดสายตาเพื่อประเมินการมองเห็นสิ่งต่างๆว่าเป็นปกติหรือไม่เพื่อใช้อุปกรณ์​ช่วยในการแก้ปัญหาต่อไป การวัดการได้ยินเสียง การวัดความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ การหายใจ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการประเมินการมีชีวิตของมนุษย​์หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งต้องได้รับความช่วยเหลือเพื่อให้มีสัญญาณ​ชีพกลับมาซึ่งค่าปกติต่างๆนั้นจะขอกล่าวถึงในบทความถัดๆไป
2.เพื่อเป็นการตรวจประเมินด้านพฤติกรรม​การใช้ชีวิตที่อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในร่างกายต่างๆเช่น พฤติกรรม​การใช้ยารักษา​โรคต่างๆรวมถึงพฤติกรรม​การใช้ยาเสพติดอีกด้วย พฤติกรรม​การดื่ม​เครื่องดื่มแอลกอฮอล์​ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ พฤติกรรม​การสูบบุหรี่​ส่งผลกระทบต่อการทำงานของปอด พฤติกรรม​การรับประทานอาหารส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ต่อมไร้ท่อต่างๆ และการออกกำลังกายส่งผลกระทบต่อโรคอ้วน​ โรคไต โรคเบาหวานเป็นต้น
3.เพื่อตรวจประเมินลักษณะ​ที่ผิดปกติภายในร่างกายว่ามีความผิดปกติ ครบหรือไม่ ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่นบางคนอาจมีไตข้างเดียว มดลูก2อัน รังไข่ข้างเดียวเป็นต้น เพื่อจะได้วางแผนการใช้ชีวิตให้มีความเหมาะสมต่อไป
4.เพื่อเป็นการตรวจการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายว่ามีความปกติหรือผิดปกติหรือไม่เช่น การตรวจการทำงานของตับหากมีความผิดปกติเราจะได้ตระหนักว่าเราจะใช้ยารักษาโรคอย่างไร ต้องหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์​ เป็นต้น การตรวจการทำงานของไตเพื่อจะได้ระมัดระวังด้านการกิน การใช้ยาเพราะไตนั้นมีหน้าที่ในการขับของเสียออกจากร่างกาย หากเราไม่จำกัดหรือระมัดระวังอาจส่งผลให้เกิดภาวะไตวายตามมาได้
5.เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจสุขภาพมาวางแผนในการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆตามมาได้เช่น โรคตับแข็งเกิดจากพฤติกรรม​การดื่ม​แอลกอฮอล์​ การใช้ยาที่มีผลต่อตับเช่น ยาพาราเซตามอล​ หรือยารักษาโรคอื่นๆมากมายที่ส่งผลต่อการทำงานของตับและไตตามมา
6.เพื่อให้มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นกล่าวคือการดูแลสุขภาพเบื้องต้นก่อนเข้ารับบริการด้านสุขภาพต่างๆเช่น บางคนมีภาวะเครียดแทนที่จะเลือกการจัดการความเครียดที่ต้นตอของสาเหตุ​ของความเครียดกลับใช้ยากินหรือยาฉีด ยาด้านจิตเวชตามมา ซึ่งยารักษาโรค​โดยทั่วไปนั้นมักมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพทั้งสิ้น
7.เพื่อคัดกรองโรคเบื้องต้นหากตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรกก็สามารถวางแผนการรักษาได้ทันท่วงที ก่อนลุกลามไปอวัยวะอื่นๆ เป็นต้น เช่น คนบางกลุ่มมีความรู้ด้านสุขภาพเป็นอย่างดีกลับมีพฤติกรรม​การสูบบุหรี่​ ละเลยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมตรวจพบตอนมะเร็งลุกลามไปอวัยวะอื่นๆตามมาและสุดท้ายทำให้เสียชีวิตตามมาได้

ตัวอย่างการตรวจเช็คสุขภาพนั้นเน้นในประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้คือ
1.ตรวจวัดความดันโลหิต​ การเต้นของหัวใจ การหายใจ การมองเห็น การได้ยิน
2.ตรวจวัดความแข็งแรงของกระดูกหรือที่เรียกว่าการตรวจวัดดัชนีมวลกาย ตรวจวัด BMI เพื่อประเมินโรคอ้วน
3.การตรวจวัดค่าความผิดปกติของเม็ดเลือดเพื่อประเมินถึงปัญหาจากการผลิตเม็ดเลือด การเสียเลือด หรือภาวะขาดสารอาหารเป็นต้น
4.การตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อประเมินการทำงานของต่อมไร้ท่อหรือพฤติกรรมการรับประทานอาหารประเภท แป้ง น้ำตาลเป็นต้น
5.การตรวจวัดค่าระดับคอเลสเตอรอล​ในเลือดเพื่อประกอบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม​การรับประทานอาหารเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองตามมาซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะโรคอัมพฤกษ์​และอัมพาต​ที่เป็นการเจ็บป่วยเรื้อรังที่เป็นปัญหา​ระดับประเทศ
6.การตรวจวัดระดับค่าการทำงานของตับเพราะตับเป็นอวัยวะภายใน​ที่สำคัญทำหน้าที่ทั้งการผลิตเม็ดเลือดและล้างพิษออกจากร่างกายเป็นต้น
7.การตรวจวัดระดับค่าการทำงานของไตเพราะไตของคนเรานั้นทำหน้าที่กรองของเสียและขับของเสียออกจากร่างกายหากไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติและเกิดปัญหาไตวายอาจต้องรักษาโดยการล้างไตซึ่งต้องใช้เงินในการรักษาจำนวนมาก
8.การตรวจวัดมวลกระดูกและกรดยูริคในร่างกายซึ่งมีผลต่อโรคกระดูกและข้อหากค่ายูริคสูงเกินมาตรฐาน
9.การตรวจโดยเน้นเฉพาะทางเช่น คัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด เป็นต้น
10.การตรวจสุขภาพนั้นเน้นการตรวจเช็คตามวัยซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อมีอายุมากขึ้นจะมีการตรวจคัดกรองมากขึ้นตามมาทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจมากขึ้นตามมาได้เช่นกัน

คนเรานั้นการจะมีสุขภาพกายที่ดีนั้นต้องมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตด้วย เนื่องร่างกายและจิตใจไม่สามารถแยกออกจากกันได้ชัดเจน ดังคำกล่าวที่ว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ตัวอย่างที่พบบ่อยคนบางคนตรวจสุขภาพแล้วร่างกายปกติดีทุกอย่างแต่มีปัญหาสุขภาพ​จิตสุดท้ายร่างกายเจ็บป่วยตามมา ขณะที่บางคนตรวจสุขภาพ​อาจมีความผิดปกติแต่มีสุขภาพจิตที่ดีร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม​ต่างๆก็ทำให้คนๆนั้นหายจากโรคร้ายแรงได้เช่นกัน

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน