7 วิธีการสร้างแรงบันดาลใจและการปรับตัวในการทำงาน หลังผลกระทบจากโรคโควิด 19

7 วิธีการสร้างแรงบันดาลใจและการปรับตัวในการทำงาน หลังผลกระทบจากโรคโควิด 19 การเริ่มต้นทำงานใหม่ในสิ่งที่เรายังไม่คุ้นเคยนั้นเป็นเรื่องที่เราต้องปรับตัว  และเรียนรู้ในการเลือกงานให้เหมาะสมกับความรู้และความสามารถที่ตัวเรามี  และประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา  หลังเหตุการณ์โรคโควิด19 ระบาดในช่วง 3 ปีที่ผ่าน  การใช้ชีวิตในการทำงานของเราต้องเปลี่ยนแปลงไป  เริ่มจากการเปลี่ยนสถานที่ในการทำงานจากที่ทำงานมาเป็นทำงานที่บ้าน  สำหรับบางอาชีพนั้นไม่สามารถเลือกสถานที่ในการทำงานได้  เนื่องจากต้องทำงานในสถานที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยอย่างอาชีพพยาบาล ...

10 อาการหรือพฤติกรรมของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม

10 อาการที่แสดงว่าคุณอาจจะสมองเสื่อม 10 อาการหรือพฤติกรรมของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม (คุณเข้าข่ายสมองเสื่อมหรือไม่?) ภาวะสมองเสื่อมนั้นเป็นความผิดปกติทั้งด้านร่างกาย อารมณ์  สังคม วิญญาณ  และพฤติกรรม รวมถึงอาการทางจิตบางอย่าง  ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน  เช่น การทำกิจวัตรประจำวัน ...

ปัญหาท้องผูกแก้ไขได้ด้วยตนเองไม่ต้องพึ่งยาระบายทำอย่างไร?

ปัญหาท้องผูกแก้ไขได้ด้วยตนเองไม่ต้องพึ่งยาระบายทำอย่างไร? มนุษย์มีความต้องการอาหารในชีวิตประจำวัน  นอกจากความต้องการด้านอาหารแล้วสิ่งที่จำเป็นที่ขาดไม่ได้คือเรื่องการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย หากมนุษย์ไม่มีการขับของเสียออกจากร่างกายจะทำให้เกิดของเสียสะสม คั่ง และเป็นพิษต่อร่างกายได้ ภาวะท้องผูกคือ ภาวะที่มีการขับถ่ายออกได้ยากลำบาก อุจจาระจับตัวกันเป็นก้อนแข็ง ต้องใช้แรงเบ่งในการขับถ่ายอุจจาระ เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย  ดื่มน้ำน้อย หรือมีปัญหาของลำไส้ใหญ่ เช่นลำไส้ใหญ่ทำงานผิดปกติ มีก้อนในบริเวณช่องเชิงกรานกดทับลำไส้ใหญ่...

การดูแลสุขภาพของตนเองเมื่อเจ็บป่วย

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพของตนเองเมื่อเจ็บป่วย ทำไมเราถึงต้องดูแลสุขภาพของตนเอง? เพราะมนุษย์เรานั้นเกิดมาและใช้ชีวิตบนโลกใบนี้ในระยะเวลาที่มีอย่างจำกัด การดูแลรักษาสุขภาพด้วยตนเองจะช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น จากบทเรียนการระบาดของโรคโควิด 19 ในรอบสามปีที่ผ่านมา  ทำให้มนุษย์มีความตื่นตัวในการดูแลภาวะสุขภาพของตนเองมากขึ้น  โดยเน้นการดูแลสุขภาพของตนเองที่บ้าน การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  การใช้สมุนไพรพื้นบ้านช่วยในการรักษาอาการเจ็บมากขึ้น ใช้ชีวิตแบบมีระยะห่างระหว่างบุคคลอื่น เป็นต้น หากเราต้องการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ดีเราต้องกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการใช้ชีวิตดังต่อไปนี้คือ การประเมินภาวะสุขภาพของตนเองเบื้องต้น...

มาลดความอ้วนกันเถอะ!

มาลดความอ้วนกันเถอะ! การเสริมสร้างแรงจูงใจในการลดความอ้วนกันเถอะ มนุษย์เรานั้นมีพลังความสามารถในการดูแลสุขภาพของตนเอง พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันมีผลโดยตรงต่อภาวะสุขภาพในประเด็นการเกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนซึ่งเกิดจากพฤติกรรมหรือวิธีการใช้ชีวิตที่มีผลต่อภาวะสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพเช่น การสูบบุหรี่  ดื่มสุรา หรือการใช้ยาเสพติดเป็นต้น  จะเห็นได้ว่ามนุษย์มีความต้องการตามลำดับขั้นได้แก่  ความต้องการด้านร่างกายนั่นรวมถึงความต้องการอาหารเพื่อขจัดความหิวและเป็นชนิดของอาหารที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตเป็นต้น  ความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความรู้สึกมีคุณค่าในชีวิต การสร้างแรงจูงใจในการลดน้ำหนักในกลุ่มผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนนั้นผู้ป่วยต้องได้รับการเสริมแรงจูงใจในการลดน้ำหนักเพื่อให้ผลการปฏิบัติมีผลลัพธ์ที่ชัดเจนและสมารถวัดได้เช่น ความยาวรอบเอวลดลง น้ำหนักตัวลดลง...

ผู้ป่วยสมองเสื่อม(Dementia)​กับปัญหาการขาดสารอาหาร

ผู้ป่วยสมองเสื่อม(Dementia)​กับปัญหาการขาดสารอาหาร สังคมไทยอยู่แบบครอบครัวใหญ่ที่มีทั้งผู้สูงอายุและเด็กทำให้เกิดความยุ่งยากในการจัดเตรียมอาหารที่หลากหลายแต่การดูแลผู้สูงอายุก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องตระหนักเพื่อให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยสมองเสื่อม​มีคุณภาพชีวิต​ที่ดีขึ้น ภาวะสมองเสื่อม​(Dementia)​เป็นภาวะการสูญเสียของเซลล์​สมองและการทำงานของสมองที่เสื่อมถอยลง ทำให้การรับรู้​ ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล พฤติกรรม​ อารมณ์​ การตัดสินใจ​ การใช้ภาษา และความบกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน​รวมถึงปัญหา​ด้านการขาดสารอาหาร เนื่องจากผู้ป่วยสมองเสื่อม(Dementia)​ มีปัญหา​ด้านการรับรู้และความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยสมองเสื่อม​(Dementia)​ ได้รับสารอาหารลดลง...

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน  (Diabetes)

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน  (Diabetes) โรคเบาหวาน(Diabetes)​ มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม​และพฤติกรรม เช่น การบริโภค​อาหาร​  การออกกำลังกาย หากเกิดจากพันธุกรรม​แล้วนับเป็นเรื่องยากที่จะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ แต่ในบทความนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงการเสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยน     บุคลิกภาพ   พฤติกรรม​สุขภาพ​ในชีวิตประจำวัน​เพื่อลดอุบัติการณ์​และควบคุมให้เกิดภาวะแทรกน้อยลง  การปรับพฤติกรรม​ได้แก่ การสูบบุหรี่  การรับประทาน​อาหาร​  การออกกำลังกาย​  ...

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะสมองเสื่อม (Dementia)​

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะสมองเสื่อม (Dementia)​ ภาวะสมองเสื่อมเป็นความเสื่อมถอยของสมองอย่างผิดปกติในด้าน ความจำบกพร่อง(Memory Impairment)  ความสามารถ​ทางสติปัญญา​(Cognition)​ ความผิดปกติ​ด้านพฤติกรรม​ โดยความผิดปกติดังกล่าวมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ​และการดำเนินชีวิต ซึ่งผู้ดูแลต้องตระหนักเพราะเป็นปัญหาที่ซับซ้อน​ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์​ในระยะสั้นและระยะยาว​ตลอดจนพัฒนาคุณภาพ​ชีวิตของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม​ ครอบครัวและผู้ดูแลต่อไป ผู้สูงอายุส่วนใหญ่​มักมีปัญหา​ภาวะสมองเสื่อม โดยพบเมื่ออายุมากกว่า...

ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม  (Dementia)​  ต้องวางแผนชีวิตอย่างไร?

ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม  (Dementia)​  ต้องวางแผนชีวิตอย่างไร? ประเมินด้วยตนเองได้ไหม? เมื่อฉันเริ่มหลงลืมเป็นการชั่วคราวช่วงป่วยโรคโควิด19 พูดๆอยู่ก็ลืมว่าพูดอะไรต้องรีบจดขั้นตอนต่างๆ ไม่อย่างนั้นฉันจะจำไม่ได้  แม้ความจำในระยะสั้นๆ  หากได้รับวินิจฉัย​ว่าเป็นภาวะสมองเสื่อม ต้องรีบทำความเข้าใจ ยอมรับ และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง​เกี่ยวกับการดำเนินไปของโรคซึ่งเกิดการเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ  เพื่อให้สามารถวางแผนชีวิตของตนให้เหมาะกับภาวะเสื่อมถอยของสมองในด้านต่างๆเช่น การบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สิน​มีอยู่ที่ใหนบ้าง? (กรณีเก็บใส่ไหฝังดินก็ต้องจดบันทึกหรือแจ้งลูกหลาน...

การดูแลผู้ป่วย สมองเสื่อม (ตอนที่ 2)

การจัดกิจกรรม​ดูแลพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม(Dementia)​  ตอนที่ 2. จากบทความก่อนหน้านี้ทำให้ผู้เขียนเริ่มตระหนักและย้อนกลับมาดูตัวเองพบว่าเริ่มมีบางข้อที่ตนเองเริ่มเข้าสู่ปัญหาสมองเสื่อมทั้งที่อายุก็ยังอยู่ที่ 50 ปีต้นๆ พอได้เขียนและอ่านบทความนี้แล้วยังสามารถนำมาใช้ในการดูแลตัวเองและนำเนื้อหาไปปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยอื่นๆที่มีภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย เช่น นำไปปรับใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ​ในบ้านหรือญาติพี่น้องตามความเหมาะสม​กับปัญหา​แต่ละข้อที่พบเจอได้ 3. กิจกรรมการดูแลด้านการรักษาความสะอาดของช่องปาก และฟันปลอม เนื่องจากผู้ป่วยสมองเสื่อมโดยส่วนใหญ่อาจต้องใส่ฟันปลอมจากการร่วงของฟันตามวัยฉะนั้นการดูแลช่องปากและฟันปลอมช่วยลดปัญหา​การติดเชื้อทางเดินอาหารและช่วยกระตุ้นการอยากและเจริญ​อาหารได้ในระดับหนึ่งอีกด้วย ประเด็น​ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไขมีดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยไม่แปรงฟัน​...

การดูแลผู้ป่วย สมองเสื่อม (ตอนที่ 1)

การดูแลผู้ป่วย สมองเสื่อม (ตอนที่ 1) การจัดกิจกรรมดูแลพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ตอนที่1 ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์​(Age Society) และคาดการณ์​ว่าในปี พ.ศ 2568 จะมีประชากรสูงอายุถึงร้อยละ 20 รวมถึงผู้เขียนเองก็ใกล้เข้ามาทุกขณะและกลุ่มผู้สูงอายุมีความเสื่อมถอยของอวัยวะเนื่องจากความชรา...

ภาวะเลือดออกหรือเลือดคั่งในสมองและอุณหภูมิของร่างกายที่ลดลงมีผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างไร?

ภาวะเลือดออกหรือเลือดคั่งในสมองและอุณหภูมิของร่างกายที่ลดลงมีผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างไร? ปัญหาของโรคหลอดเลือดสมองที่พบได้บ่อยๆในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงนั่นคือเส้นเลือดในสมองแตกส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีเลือดออกหรือเลือดคั่งในสมองมีการเปลี่ยนแปลง​ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้บ่อยๆโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีเลือดออกของชั้นเยื่อหุ้มสมอง (Subarashniod​  hemorrhage) โดยไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ​  แต่เกิดจากการแตกของหลอดเลือด​ในสมองที่เกิดจากการโป่งพอง (Intracranial aneurysm)  และเกิดจากปัญหา​การสร้างหลอดเลือดที่ผิดปกติ (Vascular malformation) รวมถึงเลือดออกในสมองจากอุบัติเหตุ​ต่อศีรษะ​( Head injury)  เนื้องอกในสมองและการอักเสบ​ในสมองก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้เช่นกัน...

ภาวะหัวใจห้อง​ล่าง​เต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ

ภาวะหัวใจห้อง​ล่าง​เต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ(Ventricular Fibrillation:VF) เกิดขึ้นจากอะไร? เหตุการณ์​นี้เกิดขึ้นกับหลานชายคนที่สองเมื่อครั้งสมัยเป็นเด็กชายตัวเล็กๆเนื่องจากความอยากรู้อยากเห็นชอบเอานิ้วแหย่ตามรูต่างๆ บังเอิญ​ว่าวันนั้นเอานิ้วไปแหย่ปลั๊กไฟ ดีที่พ่อช่วยไว้ทันจึงรอดชีวิตมาจนปัจจุบัน​นี้  และปัญหาหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้วนั้นเกิดจากการถูกไฟฟ้าดูด ซึ่งเป็นสาเหตุ​หนึ่งเป็นต้น ปัญหาของหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ (Ventricular​ Fibrillation)​นั้นเป็นสาเหตุ​หลักของหัวใจหยุดเต้น(Cardiac arrest) ที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุ​ของหัวใจหยุดเต้นที่พบบ่อยที่สุดของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ​ขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจ​ตายเมื่อเกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว...

หัวใจเต้นเร็วและหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว(Tachycardia and Tachyarrhythmia)

หัวใจเต้นเร็วและหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว (Tachycardia and Tachyarrhythmia) เมื่อฉันป่วยโรคโควิด 19 มีอาการไข้สูง ท้องเสีย ขาดน้ำ มีความรู้สึกตื่นเต้นกลัวตายเนื่องจากได้รับผลข้างเคียงของยา klacid​ ร่วมด้วย ทำให้มีภาวะหัวใจเต้น​เร็วผิดปกติและภายหลังจากรักษาโควิดหายเป็นปกติและอยู่ในช่วงพักฟื้นมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ(ตรวจวัดจากการจับชีพจรเนื่องจากจังหวะการเต้นที่ไม่สมำเสมอขาดหายเป็นช่วงๆ)​ การตรวจคลื่นไฟฟ้า​หัวใจนั้นเป็นเครื่องมือในการช่วยวินิจฉัย​โรคต่างๆ โดยใช้ร่วมกับการซักประวัติ​หรือตรวจร่างกาย...

4 วิตามินช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นในผู้ป่วยอุบัติเหตุ​ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

4 วิตามินช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นในผู้ป่วยอุบัติเหตุ​ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก การเกิดอุบัติเหตุ​จากโดนความร้อน ไฟไหม้ น้ำร้อนลวกนั้นสร้างความเจ็บปวดทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากระดับบาดแผลที่รุนแรงจะเกิดความพิการและสูญเสียภาพลักษณ์​อย่างรุนแรงบางรายอาจยอมรับสภาพไม่ได้ การให้วิตามินเพื่อช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้นได้แต่ก็ไม่ทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับปัจจัย​อื่นๆอีกด้วย ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บและมีบาดแผลจากความร้อนและอุบัติเหตุ​นั้นจะพบปัญหาภาวะพร่องวิตามินหรือขาดวิตามินนั่นเอง ยิ่งการบาดเจ็บรุนแรงก็จะยิ่งขาดวิตามินมากขึ้นตามมาด้วย พบว่าระดับวิตามินในเลือดจะลดต่ำลง และปริมาณ​การขับถ่ายทางปัสสาวะ​ก็น้อยลงตามมา แม้จะได้ให้ทดแทนหรือเสริมให้แล้วก็ตาม มาดูกันเลยว่ามีวิตามินอะไรบ้าง? 1.กลุ่มของวิตามิน...

คาร์บอนเครดิต​  สารมลพิษหลักทางอากาศ เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินหายใจอย่างไร?

คาร์บอนเครดิต​  สารมลพิษหลักทางอากาศ เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินหายใจอย่างไร? โรคทางเดินหายใจที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ​เป็นอันตรายคุกคามต่อปอดและทางเดินหายใจ ซึ่งมลพิษทางอากาศ​เป็นสาเหตุ​และปัจจัย​สำคัญทำให้เกิดอาการกำเริบได้ในผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไซนัส​อักเสบ  ภูมิแพ้  และโรคมะเร็งปอด ส่งผลให้เสียชีวิตตามมาได้ มลพิษทางอากาศ​เป็นภัยคุกคามในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็ก สตรีมีครรภ์​ ผู้สูงอายุ ...

การพยาบาลแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกในเด็ก(Burn in children)

การพยาบาลแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกในเด็ก(Burn in children) การเกิดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกในเด็กเล็กมักพบได้บ่อยเช่น อันตรายจากนมที่ร้อนจัด ทำให้เกิดการบาดเจ็บในช่องคอ ทางเดินหายใจ สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองควรต้องให้ความสำคัญในการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดตามมา สำหรับแนวทางในการรักษา​ผู้ป่วยเด็กที่เกิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกก็มีความแตกต่างอย่างมากกับผู้ป่วยผู้ใหญ่โดยเฉพาะในเรื่องของสัดส่วนของร่างกาย ความหนาและแข็งแรงของผิวหนัง ระยะเวลาการหายของแผล(wound healing) ระบบการเผาผลาญ​อาหาร(metabolism)​...

ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในโรคของต่อมธัยรอยด์

ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในโรคของต่อมธัยรอยด์ ภาวะการ​เจ็บป่วย​เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ปรารถนา​บางครั้งความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจตรวจพบโดยบังเอิญ​จากการตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานได้ ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีความสัมพันธ์​กับโรคต่อมธัยรอยด์​ทำงานน้อยกว่าปกติ (Hypothyroid) และโรคต่อมธัยรอยด์​ทำงานมากกว่าปกติ(Hyperthyroidism)...

มนุษย์กับต้นไม้ ต่างกันตรงใหนในเชิงชีววิทยา?

มนุษย์กับต้นไม้ ต่างกันตรงใหนในเชิงชีววิทยา? มนุษย์​หรือสัตว์และต้นไม้หรือพืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันบนโลกใบนี้  มีความต้องการอากาศ​ในการหายใจ สารอาหารและแร่ธาตุ​เพื่อให้เจริญเติบโต  ต้องการที่อยู่อาศัย  ต้องการยารักษาโรค และต้องการแพร่เผ่าพันธุ์...

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในขณะออกแรง (Angina Pectoris)

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในขณะออกแรง (Angina Pectoris) เมื่อฉันรู้สึกแน่น ปวด อึดอัด หายใจไม่ออก ปวดร้าวขึ้นตามลำคอแล้วหยุดอยู่ที่ขากรรไกรทั้ง2ข้าง ร้าวมาที่ไหล่ แขน ข้อมือ ลงมาที่ปลายนิ้ว เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 3-5นาทีหลังจากนั้นปวดมากขึ้นจนต้องนั่งพักหรือนอนพักอาการดังกล่าวจึงจะดีขึ้น อาการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในขณะออกแรงเป็นภาวะหนึ่งของโรค...

คลื่นไฟฟ้าหัวใจคืออะไร?

คลื่นไฟฟ้าหัวใจคืออะไร? ระดับโพแทสเซียม​มีผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างไร? คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่จะกล่าวถึงดังต่อไปนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับความรักแต่ประการใด แต่คลื่นไฟฟ้าหัวใจใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ร่วมกับการซักประวัติ​ ตรวจร่างกายและข้อมูลอื่นๆ เพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติบางครั้งก็ไม่ได้มีพยาธิสภาพหรือเป็นโรคหัวใจแต่อย่างใด เนื่องจากพยาธิสภาพของโรคดังกล่าวไม่รุนแรง เช่น ผู้ป่วยมีโรคหัวใจพิการมาแต่กำเนิดชนิด Ventricular Septal Defect) ที่รูไม่ใหญ่มากหรือโรคหัวใจรูมาติคทั้งชนิดลิ้นตีบหรือลิ้นรั่ว...

หัวใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ

หัวใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ หัวใจเป็นอวัยวะ​ที่มีพลังอย่างมากและมหัศจรรย์​ที่สุดของร่างกายมนุษย์​เพราะว่าหัวใจมีหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายประมาณ 5 ลิตรต่อนาที  หัวใจเป็นอวัยวะ​ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ตั้งอยู่ในทรวงอกด้านซ้าย มีโครงสร้างกระดูกซี่โครง​ครอบคลุมไว้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับหัวใจ  หัวใจของ มนุษย์ ประกอบด้วย ห้องทั้งหมด 4 ห้องคือ 1.เอเทรียม 2...

7 เหตุ​ผลที่คนเราต้องตรวจ​เช็ค​สุขภาพ

7 เหตุ​ผลที่คนเราต้องตรวจ​เช็ค​สุขภาพ มนุษย์​เราปกติทั่วไปเกิดมาพร้อมกับการมีอวัยวะในร่างกายครบ 79 ประการที่ปกติ โดยแบ่งแยกเป็นอวัยวะภายนอกที่สามารถ​มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเช่น ตา หู คอ จมูก ปาก หรือ แขน ขา เป็นต้น...

โรคหัวใจ​พิการแต่กำเนิด

โรคหัวใจ​พิการแต่กำเนิด ที่พบบ่อย (Common Congenital Heart Disease) โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital​ Heart Disease :CHD) หมายถึง ความผิดปกติของหัวใจและหรือหลอดเลือด​  ทำให้การทำหน้าที่หรือการไหลเวียนเลือดมีความผิดปกติตั้งแต่หลังคลอด  โดยความผิดปกตินั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ในครรภ์มารดาโดยไม่ได้แสดงความผิดปกติ​ให้เห็น...

การดูแลตัวเองเมื่อเจ็บป่วยเรื้อรัง

การดูแลตัวเองเมื่อเจ็บป่วยเรื้อรัง ภาวะการเจ็บป่วยเรื้อรังนั้นเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญอันดับแรกของเกือบทุกประเทศ ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง คือ ความบกพร่องที่เบี่ยงเบนจากปกติอาจมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างต่อไปนี้ 1.มีการเปลี่ยนแปลง​อย่างถาวร 2.มีความพิการหลง​เหลืออยู่​ 3.พยาธิสภาพ​ที่เกิดขึ้นไม่กลับคืนสู่ปกติ 4.ต้องอาศัยการฟื้นฟู​สภาพเป็นพิเศษ 5.ต้องมีการดูแลหรือช่วยเหลือแนะนำในระยะยาว ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังต้องใช้เวลายาวนานเป็นเดือน เป็นปี หรือตลอดชีวิต ผลของโรคทำให้เกิดความไม่สุขสบาย ความเจ็บ​ปวด...

ทักษะการจัดการความเครียดด้วยตนเอง

ทักษะการจัดการความเครียดด้วยตนเอง ชีวิตของมนุษย​์เรานั้นต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆในชีวิตจากเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม​ต่างๆเช่นการตกงาน ภาวะสงคราม​ การเมือง สิ่งแวดล้อม​เป็นพิษ ภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุ​  การหย่าร้าง และความเจ็บป่วยเป็นต้น ซึ่งความเครียดเหล่านี้ส่งผลต่อภาวะด้านสุขภาพ ดังนั้นความสามารถในการจัดการกับความเครียดของคนแต่ละคนได้ไม่เท่ากัน บางคนปรับตัวกับเหตุการณ์​ต่างๆที่เลวร้ายได้ดีโดยไม่เกิดผลกระทบสุขภาพ ขณะที่บางคนอาจไม่สามารถปรับตัวได้ เกิดความเจ็บป่วย​และสูญเสีย​การทำหน้าที่ของตนเอง มนุษย์​เราเมื่อมีความเครียดเกิดขึ้นจะตอบสนองต่อภาวะเครียดตามระยะต่างๆได้แก่...

เมื่อฉันต้องรับมือกับลูกสาวย่างเข้าสู่เด็กหญิงวัยรุ่นยุคใหม่ก้าวไกลสู่อนาคต

เมื่อฉันต้องรับมือกับลูกสาวย่างเข้าสู่เด็กหญิงวัยรุ่นยุคใหม่ก้าวไกลสู่อนาคต วัยรุ่นนั้นเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ  ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าตัวเองไม่ได้ผ่านวัยรุ่นมาก่อนเพราะวัยรุ่นนั้นเป็นพัฒนาการตามวัยของมนุษย​์  ขณะที่พ่อแม่บางคนมักจะพูดว่าอาบน้ำร้อนมาก่อนซึ่งเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องครึ่งหนึ่งแต่ไม่ทั้งหมดเพราะสมัยนั้นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี่ไม่ได้รวดเร็วขนาดนี้ดังนั้นการเลี้ยงลูกสาวเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นในยุคสมัยปัจจุบัน​อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมด้วย พัฒนาการของเด็กหญิงวัยรุ่น เด็กหญิงวัยรุ่นเริ่มเข้าสู่พัฒนาการทางเพศเมื่ออายุ 8-13 ปีและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่ออายุ 10-14ปี โดยมีความเปลี่ยนแปลงด้าน ส่วนสูงของร่างกายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เริ่มมีนมตั้งเต้า สะโพกมีส่วนเว้าส่วนโค้ง เริ่มมีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ​และมีประจำเดือน เมื่อลูกสาวย่างเข้าสู่วัยรุ่นมีพ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่ต้องเดือนร้อนวุ่นวายใจกับการรับมือกับเด็กสาววัยรุ่นในครอบครัว...