6 ประเด็นความเครียดกับการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
การลงทุนในสถานการณ์ปัจจุบันของนักลงทุนรายย่อยในประเทศไทยนั้นมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากประเด็นความร้อนแรงการเก็บภาษีการขายหุ้นไทยหลังมีข่าวกระทรวงการคลังเสนอ ครม. จัดเก็บภาษีการขายหุ้น หรือ Financial Translation Tax นั่นเองซึ่งภาษีดังกล่าวได้รับการยกเว้นมาตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน โดยเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะ(Specific Business Tax) เป็นภาษีจากธุรกรรมการขายหุ้น(Transaction Tax) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งคำนวนจากรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆทั้งสิ้นโดยจะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.10%แม้ว่านักลงทุนจะทำรายการขายที่กำไรหรือขาดทุนก็ต้องเสียภาษีทั้งสิ้นถึงแม้จะยังไม่ได้ประกาศออกมาอย่างแน่ชัดก็ตาม
ความเครียด(Stress)หมายถึงสภาวะของอารมณ์ความรู้สึกที่ถูกบีบคั้นหรือกดดันซึ่งแต่ละคนจะปรับตัวให้ผ่านพ้นไปได้ ขณะที่ความเครียดที่จัดการไม่ได้จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจเปลี่ยนเป็นภาวะซึมเศร้า(Depressive disorder) หรือโรควิตกกังวล(Anxiety) ตามมาได้
ในการลงทุนซื้อขายหุ้นนั้นเทรดเดอร์จะต้องติดตามราคาหุ้น คิดและตัดสินใจในแต่ละครั้งเพื่อทำรายการซื้อขายแต่เมื่อมีประเด็นการต้องเสียภาษีในการขายหุ้นเข้ามาทำให้นักลงทุนมีความเครียดเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในภาวะตลาดที่มีความผันผวนสูง พฤติกรรมราคาไม่มีความแน่นอน โมเดลการเทรดที่เคยใช้อาจไม่ได้ผล มีความผิดพลาดได้ง่าย เกิดการขาดทุนร่วมด้วย ทำให้ตัดสินใจขายหุ้นออกมาทั้งที่ขาดทุนแถมยังต้องมีภาระทางภาษีเพิ่มเข้ามาอีกด้วย
นักลงทุนสามารถสังเกตตนเองว่าเกิดความเครียดได้อย่างไร?
- นอนไม่หลับ เมื่อเกิดความเครียดขึ้นจะส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับพัผ่อนหากนอนไม่หลับเป็นระยะเวลานานจะส่งผลต่อสุขภาพตามมาเกิดภาวะซึมเศร้าหรือมีความเครียดรุนแรงตามมาได้
- มีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธ หงุดหงิด สับสน มีโทสะ ไม่พอใจ ต้องการแก้เกมเพื่อให้ชนะตลาดถ้ามีอาการแบบนี้ให้หยุดเทรดเพื่อตั้งสติแล้วหันมาพิจารณาตนเองก่อน
- มีความวิตกกังวลหรือเศร้าหมอง ทำให้นักลงทุนไม่มีความสุข เศร้าหรือวิตกกังวลกับเรื่องการจัดเก็บภาษีการขายหุ้นที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้
- พฤติกรรมเปลี่ยนไป จากการรวมตัวของรายย่อยในพันทิปไม่ซื้อขายหุ้นในวันที่8ธันวาคม2565ที่ผ่านมาเพื่อประท้วงหลักการเก็บภาษีขายหุ้นส่งผลให้การซื้อขายในวันนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัดซึ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมการเบื่อยหน่ายและปิดกั้นตนเอง ไม่ร่าเริง ไม่พูดหรือนิ่งเงียบ
- ความเครียดดังกล่าวอาจแสดงออกทางกายโดยการหายใจถี่ขึ้นหรือการกลั้นหายใจโดยไม่รู้ตัวปวดท้อง อาเจียน หรือปวดศีรษะได้
- หากเป็นความเครียดที่รุนแรงทำให้เกิดการฆ่าตัวตายตามมาได้
การดูแลตนเองและการจัดการกับความเครียดของนักลงทุนมีดังนี้
- วิเคราะห์หาสาเหตุของความเครียดหากเกิดจากประเด็นการเสียภาษีจากการขายหุ้นนักลงทุนแก้ปัญหาได้โดยลดการขายหุ้นลงหรือลงทุนทุนให้ยาวนานขึ้นโดยกำหนดว่าจะขายหุ้นออกมาเมื่อมีผลกำไรเท่านั้น
- วางแผนล่วงหน้าแบบหลักการเบื้องต้นคือการสร้างระบบเทรดของตนเอง(Trading System) มีการบริหารความเสี่ยง และกำหนดจุดเข้าซื้อหรือการขายทำกำไรหรือจุดขาดทุนที่ชัดเจน
- การทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นโดยนักลงทุนใช้ทักษะการรับมือในสถานการณ์ที่คับขันหรือเผชิญในตลาดผันผวนสูง โดยการจดบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งช่วงที่ทำกำไรได้และการขาดทุนเพื่อนำมาพัฒนาระบบการเทรดและวางแผนการลงทุนในอนาคต
- ออกกำลังกายครั้งละ30นาทีหลังการเทรดในแต่ละวันหรือหากิจกรรมอื่นแทนเพื่อเป็นการระบายความเครียดเช่นการทำกิจกรรมสันทนาการดูหนัง ฟังเพลง ท่องเที่ยวเป็นต้น
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน นักลงทุนบางคนลงทุนในต่างประเทศด้วยซึ่งทำให้มีเวลานอนหลับพักผ่อนไม่เพียงอาจส่งผลต่อสุขภาพได้
- พบปะกับเพื่อนฝูงเพื่อเป็นการระบายปัญหาต่างๆ(หากเพื่อนรับฟังปัญหาเราได้)
- หากพบว่าไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้ด้วยตนเองควรปรึกษาจิตแพทย์อาจจำเป็นต้องรับยามารับประทานเพื่อบรรเทาอาการเครียดหรือวิตกกังวล
แม้ว่าปัญหาทางการเงินจะเป็นปัญหาโลกแตกที่แก้ไขยากแต่การจัดการทางการเงินโดย การหาเงิน การเก็บเงิน และการใช้จ่ายเงินเพื่อให้เกิดความสมดุลทางการเงินก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกันแต่เหนือสิ่งอื่นใดมนุษย์เราไม่สามารถที่จะทำงานหาเงินตลอดได้ทั้งชีวิตดังนั้นการเลือกวิธีการลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงยมีไว้ใช้จ่ายในยามแก่ชราก็จำเป็นเช่นกัน