อย่าปล่อยความกลัว มาครอบงำจิตใจ

แชร์ให้เพื่อน

อย่าปล่อยความกลัว มาครอบงำจิตใจ
 
ความกลัวคืออารมณ์​ที่เกิดจากการรับรู้ถึงภัยคุกคามของสิ่งมีชีวิต เป็นสัญชาตญาณ​ของสัตว์เพื่อความอยู่รอดและคงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์​นั่นเอง  ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม เช่น การวิ่งหนี การหลบซ่อน  แต่ถ้ากลัวมากเกินไปหรือกลัวบางสิ่งบางอย่างที่คนทั่วไปไม่กลัวเรียกว่า โรคกลัว(Phobia)​

รูปแบบของความกลัว
1.กลัววัตถุเฉพาะเช่น กลัวงู กลัวแมงมุม กลัวไส้เดือน​
2.กลัวเหตุการณ์​ เช่น กลัวที่แคบ กลัวฝน พายุ กลัวที่สูง กลัวอุโมง เป็นต้น
3.กลัวความเจ็บป่วยเช่น กลัวความตาย
4.กลัวการรักษาทางการแพทย์เช่น กลัวเลือด กลัวเข็มฉีดยา กลัวการบาดเจ็บ
5.ความกลัวอื่นๆ เช่น กลัวเชื้อโควิด19

ความกลัวแบบมีเหตุผลหรือเหมาะสมนั้นเป็นวิสัยของสิ่งมีชีวิตพึงมีต่อภัยคุกคามที่กำลังมาถึงตัวเช่น ความกลัวของวัวกับเสือที่ดุร้าย(เขียนเสือให้วัวกลัวเป็นสำนวนไทยหมายถึง การทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม  แต่ถ้าตีความแบบตรงตัวแล้วผู้เขียนมิอาจทราบได้ว่าวัวกลัวหรือไม่  แต่เท่าที่เคยเห็นมาคือวัวยืนกินหญ้าข้างรูปปั้นเสือนั่นเอง)

เส้นทางการพัฒนาความกลัว

  • ประสบการณ์​ตรง เช่น เคยถูกสุนัขกัดมักจะมีภาพความทรงจำเรื่องบาดแผลและการฉีดวัคซีน
  • ประสบการณ์​จากการสังเกตุเช่น ดูสารคดีเรื่องฉลามกัดแขนขาด ได้รับความทุกข์ทรมาน​ แม้ไม่ได้มีประสบการณ์​ตรงก็ทำให้เกิดความกลัวได้
  • การได้รับข้อมูลทางลบ เช่นพ่อแม่ต้องการปกป้องลูกจากสัตว์เช่นจิ้งจกซึ่งแท้จริงแล้วจิ้งจกไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดแต่ก็ไม่ได้พิสูจน์​เป็นความกลัวที่สืบทอดมาจากพ่อแม่
  • ความกลัวที่มีมาแต่กำเนิดเช่นเด็กอายุ 0-2ปี กลัวเสียงดัง คนแปลกหน้า  เด็กอายุ 3-6ปี กลัวสิ่งที่คิดหรือจินตนาการเช่น กลัวผี ตัวประหลาด ความมืด กลัวการนอนคนเดียว อายุ 7-16ปีความกลัวที่สอดคล้องความเป็นจริงเช่น กลัวตาย กลัวการบาดเจ็บ กลัวผลการเรียนแย่ กลัวภัยธรรมชาติ จะเห็นได้ว่าความกลัวเริ่มลดลงเมื่อมีวุฒิภาวะ​มากขึ้น แต่ความกลัวบางอย่างฝังลึกในจิตใต้สำนึก ไม่สามารถอธิบายได้
    จะเห็นได้ว่าความกลัวนั้นเป็นเรื่องเฉพาะส่วนบุคคล
    สังคม ศาสนา หรือวัฒนธรรม

 

กลวิธีเพื่อเอาชนะความกลัว
1.หลีกเลี่ยงดูภาพที่สยดสยองเช่น เครื่องบินตก เพราะจะทำให้กลัวการขึ้นเครื่องบิน
2.การเผชิญกับความกลัวให้เร็วที่สุด เช่น ถ้าถูกสุนัขกัด  ควรรีบเจอสุนัขตัวอื่นๆโดยอยู่กับคนที่ไว้วางใจได้
3.ผู้ปกครองต้องเป็นแบบอย่างในวงจรของความกลัวไม่เช่นนั้นเด็กๆจะซึมซับความกลัวจากผู้ปกครอง
4.ผู้ปกครองหรือคนแวดล้อมให้คำแนะนำที่มีเหตุผล อย่าหลอกให้เด็กกลัว หรือนำความกลัวใส่ลงในความคิดเด็ก
5.เรียนรู้ที่จะเผชิญกับความกลัวถ้าปรารถนา​จะหายจากความกลัวนั้น เช่น การเผชิญกับความกลัวแบบค่อยเป็นค่อยไปและกระทำซ้ำๆ
โดยทำรายการความกลัวออกมาว่ามีอะไรบ้าง
ค่อยๆเผชิญกับความกลัวน้อยๆก่อนและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในระหว่างทางที่ทำสำเร็จ​ก็ให้รางวัลกับความกล้าหาญเพื่อจูงใจไปสู่เป้าหมายชนะความกลัวให้ได้
6.เรียนรู้เทคนิคผ่อนคลาย โดยปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เช่น

  • เปิดเพลงที่ทำให้คลื่นสมองต่ำเช่น Awakening
  • การนั่งในท่าที่สบายบนก้าวอี้
  • สูดหายใจเข้าออกลึกๆ
  • ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยเริ่มจากหน้า คอ แขน หลัง และขาผ่อนคลาย
  • จินตนาการไปในสถานทีที่สวยงามเช่น ทะเล ภูเขา สวนดอกไม้

การจัดการกับความกลัวนั้นไม่ได้ยากจนเกินไป เพียงแต่ใช้เทคนิค และสร้างกำลังใจเพื่อช่วยให้หายจากความกลัวสิ่งต่างๆได้ โดยใช้ขั้นตอนการประเมินความกลัว การวัดระดับความกลัวและใช้วิธีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

สัตว์เลี้ยง บำบัดความเหงาของเด็กปฐมวัย

แชร์ให้เพื่อน

สัตว์เลี้ยง บำบัดความเหงาของเด็กปฐมวัย

ในสังคมปัจจุบันนี้การอยู่แบบครอบครัวเดี่ยวมีมากขึ้น มีลูกคนเดียวเนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ​ ดังน้ันเด็กปฐมวัยจะไม่มีเพื่อนเล่นในการบ้าน พ่อแม่บางคนใช้วิธีเลี้ยงลูกด้วยโทรศัพท์ซึ่งมักจะมีปัญหาเด็กติดเกม ติดมือถือ สมาธิสั้น  การมีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยบำบัดความเหงาให้แก่ลูกน้อยได้
เนื่องจากเด็กปฐมวัยยังไม่เข้าเรียนหนังสือ มีกิจกรรมที่บ้านเป็นส่วนใหญ่การมืสัตว์เลี้ยงจะช่วยบำบัดความเหงาของเด็กปฐมวัยได้อย่างไร?

สัตว์เลี้ยง ช่วยบำบัดความเหงาของเด็กปฐมวัย

  • การเล่นกับสัตว์เลี้ยงจะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีความรู้สึกปลอดภัย  อุบอุ่น และเป็นมิตร
  • เด็กปฐมวัยได้รับความรักจากสัตว์เลี้ยงแบบไม่มีเงื่อนไข
  • เด็กปฐมวัยสามารถที่จะสื่อสารกับสัตว์เลี้ยงได้
  • สัตว์เลี้ยงจะช่วยให้เด็กปฐมวัยรับรู้สัมผัสเพื่อเสริมสร้างสมาธิ เนื่องจากวัยนี้จะไม่ค่อยอยู่นิ่ง
  • สัตว์เลี้ยงช่วยให้เด็กปฐมวัยก้าวออกจากโลกของตัวเอง
  • เด็กปฐมวัยเริ่มหัดพูด การมีสัตว์เลี้ยงช่วยกระตุ้นการสื่อสาร พูดคุย ของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
  • สัตว์เลี้ยงให้สัมผัสที่อบอุ่นกับเด็กปฐมวัยจากสัมผัส​ การกอด  การลูบคลำ
  • สัตว์เลี้ยงช่วยให้ชีวิตของเด็กปฐมวัยมีสีสัน​  มีความสุข และสนุกสนาน ในช่วงเวลาที่ไม่มีเพื่อนเล่น
  • สัตว์เลี้ยงช่วยให้เด็กปฐมวัยมีอารมณ์​ผ่อนคลาย
  • สัตว์เลี้ยงช่วยให้เด็กปฐมวัยมีเพื่อนวิ่งเล่นช่วยกระตุ้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่

สัตว์เลี้ยงที่นิยมเลี้ยงเพื่อบำบัดความเหงาของเด็กปฐมวัยเช่น หมา แมว กระต่าย

สิ่งที่ต้องระมัดระวังโรคหรืออุบัติเหตุที่มากับสัตว์เลี้ยง

  • การกัดหรือข่วน สัตว์เลี้ยงต้องได้รับการฉีดวัคซีน
  • โรคผิวหนัง กลาก หลังเล่นกับสัตว์เลี้ยงต้องได้รับการดูแลความสะอาดของร่างกาย

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน