การจัดที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้ป่วยสมองเสื่อมทำอย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

การจัดที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้ป่วยสมองเสื่อมทำอย่างไร?

ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมนับวันยิ่งมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น หลังจากโรคโควิด 19 ระบาดในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณะสุขเป็นอย่างมาก  ทั้งด้านงบประมาณในการดูแลรักษาภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิต  หลังปัญหาโควิด19 ชะลอการระบาดลงผู้ป่วยที่ได้รับการติดเชื้อได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพจิต  พร้อมๆกับปัญหาทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักลงแบบทันทีทันใด คนหยุดการเดินทางทั่วโลก ประเทศที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างเดียวเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงส่งผลให้ธุรกิจขนาดเล็กต้องปิดตัวลงอย่างเช่น เมืองท่องเที่ยวอย่างพัทยา เดิมทีเป็นเมืองไม่เคยหลับใหล แต่เมื่อเจอวิกฤติเศรษฐกิจจากโรคโควิด 19 ทำให้เมืองพัทยาเป็นเมืองเงียบสงบ โรงแรมหลายแห่งต้องปรับเปลี่ยนธุรกิจเป็นการรับดูแลผู้ป่วยโรคโควิด 19 เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้  ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงอย่างหนักแบบต่อเนื่องรวมถึงตลาดทองคำและตลาดเงิน แม้แต่ธุระด้านการแพทย์เองก็เกิดวิกฤติเช่นกัน  แต่ธุระกิจการผลิตหน้ากากอนามัยและถุงมือยางกลับเติบโตขึ้นเป็นร้อยเท่าตัว  หลังปัญหาโรคโควิด 19 สงบกลับเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตตามมา  ทั้งประชาชนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์

เรามาดูกันเลยว่าการจัดสถานที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมอย่างไร? ถึงจะเหมาะสมกับผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม

  1. ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมนั้นควรจัดในพื้นที่ชั้นล่างของบ้าน ลดการขึ้นบันไดบ้าน ควรมีหน้าต่างให้สามารถมองเห็นวิวภายนอก มีแสงสว่างที่เพียงพอเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเห็นสิ่งของต่างๆ รอบตัวได้ดี  ไม่เกิดความหวาดระแวง หรือเห็นภาพหลอน เพื่อช่วยลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ  ควรมีนาฬิกา ปฏิทิน หรือรูปถ่ายเก่าๆ เป็นต้น
  2. การจัดวางสิ่งของในห้องให้มีความเป็นระเบียบ ไม่เกะกะทางเดิน ไม่ควรเคลื่อนย้ายที่ในการจัดเก็บสิ่งของในบ้านบ่อยๆ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมเกิดความสับสน หาข้าวของไม่พบ เกิดความวิตกกังวลและเครียดได้
  3. การจัดแสงสว่างให้เพียงพอ โดยเฉพาะทางเดินเข้าห้องน้ำต่างๆ เพราะผู้ป่วยสมองเสื่อมอาจตื่นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกหากแสงไฟไม่เพียงอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย  แสงไฟสลัวทำให้เกิดหูแว่วหรือเห็นภาพหลอนได้
  4. ลักษณะของพื้นบ้าน ควรเป็นพื้นราบ พื้นไม่ลื่นหรือเป็นพื้นต่างระดับ หากพื้นลื่นควรใช้วัสดุกันพื้นลื่นเป็นต้น
  5. ควรจัดเก็บสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมให้พ้นสายตาเพราะผู้ป่วยอาจเข้าใจผิด นำมากินทำให้เกิดอันตรายตามมาได้ เช่น สารเคมี ของมีคม เตาแก๊ส เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ตัวอย่างอันตรายเช่น ผู้ป่วยสมองเสื่อมนำเม็ดปุ๋ยซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสาคูนำมาต้มใส่น้ำตาลรับประทาน เป็นต้น
  6. อุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย ควรมีความพร้อมในการใช้งาน เช่น ไม้เท้า คอกสี่ขาในการช่วยเดิน ไฟฉายช่วยในการส่องแสงสสว่างในทางเดินหากกรณีเกิดปัญหาไฟดับ ไม่ควรใช้เทียนหรือตะเกียงเพราะอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้
  7. มีสิ่งช่วยเตือนด้าน วัน เวลาให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม เช่น นาฬิกาที่มีตัวเลขชัดเจน ปฏิทิน รูปถ่ายเก่าๆ  ติดสัญลักษณ์บอกตำแหน่งห้องน้ำ  ห้องนอนเป็นต้น
  8. ลดสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงเช่น เสียงดังรบกวนต่างๆ เป็นต้น

การจัดการด้านที่อยู่อาศัยอาจเป็นปัญหาใหญ่สำหรับครอบครัวที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ การขอความช่วยเหลือจากแหล่งภายในชุมชน อาจได้รับการช่วยเหลือด้านนี้ได้


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ผู้ป่วยสมองเสื่อม(Dementia)​กับปัญหาการขาดสารอาหาร

แชร์ให้เพื่อน

ผู้ป่วยสมองเสื่อม(Dementia)​กับปัญหาการขาดสารอาหาร

สังคมไทยอยู่แบบครอบครัวใหญ่ที่มีทั้งผู้สูงอายุและเด็กทำให้เกิดความยุ่งยากในการจัดเตรียมอาหารที่หลากหลายแต่การดูแลผู้สูงอายุก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องตระหนักเพื่อให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยสมองเสื่อม​มีคุณภาพชีวิต​ที่ดีขึ้น

ภาวะสมองเสื่อม​(Dementia)​เป็นภาวะการสูญเสียของเซลล์​สมองและการทำงานของสมองที่เสื่อมถอยลง ทำให้การรับรู้​ ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล พฤติกรรม​ อารมณ์​ การตัดสินใจ​ การใช้ภาษา และความบกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน​รวมถึงปัญหา​ด้านการขาดสารอาหาร เนื่องจากผู้ป่วยสมองเสื่อม(Dementia)​ มีปัญหา​ด้านการรับรู้และความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยสมองเสื่อม​(Dementia)​ ได้รับสารอาหารลดลง น้ำหนักตัวลดลง ขณะที่ร่างกายมีความต้องการสารอาหารเพิ่มมากขึ้น หากไม่ได้รับการดูแลจะส่งผลต่อปัญหาสุขภาพตามมาได้ ดังจะกล่าวดังต่อไปนี้

ปัญหาด้านการรับประทานอาหารของผู้ป่วยสมองเสื่อม(Dementia)​มีดังนี้คือ

1.ผู้ป่วยสมองเสื่อม​(Dementia)​ รับประทานอาหารได้น้อยลง กลืนอาหารได้ยากลำบาก ความอยากในการรับประทานอาหารลดลง ปัญหา​อาจเกิดมาจาก ฟันหลุดร่วงตามวัย การบดเคี้ยวอาหารลำบากมากขึ้น ไม่ชินการใส่ฟันปลอม หรืออายในการใส่ฟันปลอม การรับรู้รสชาติ​อาหาร และกลิ่นของอาหารลดลง ลืมวิธีการรับประทานอาหาร การกลืนอาหารซึ่งเป็นความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของ​ลิ้นหรือกราม ทำให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมไม่เคี้ยว ไม่กลืนอาหารหรือกลืนอาหารได้ช้า ส่งผลให้เกิดการสำลักอาหารหรืออาหารติดคอได้ เป็นต้น
2. ผู้ป่วยสมองเสื่อม(Dementia)​ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละมื้อหรือแต่ละวัน เช่นอาหารที่ให้พลังงานหลักๆเช่น โปรตีน​และคาร์โบไฮเดรต​ สาเหตุ​ที่ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเช่น ลืมรับประทานอาหาร ขาดความสนใจในการรับประทานอาหาร หรือไม่สามารถจัดเตรียมอาหารได้เอง ลืมวิธี​การปรุงอาหาร​เป็นต้น
3.ผู้ป่วยสมองเสื่อม​(Dementia)​ มีน้ำหนักตัวลดลง จากการรับประทานได้น้อย ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ที่เกิดจากสาเหตุปัญหาด้าน การกลืนลำบาก ปฏิเสธการกลืนอาหารหรือโรค​สมองเสื่อม​มีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้มวลกล้ามเนื้อของร่างกายลดลงการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน​ได้น้อยลงตามมาด้วย

แนวทางการแก้ปัญหาภาวะ​ขาดสารอาหาร​ในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม(Dementia)​มีดังต่อไปนี้คือ
1.การประเมินด้านสภาพร่างกายของผู้ป่วยเช่น ติดตามการชั่งน้ำหนักเป็นประจำ การใส่ฟันปลอม​กรณีไม่มีฟันช่วยในการบดเคี้ยวอาหาร การดูแลสุขภาพ​ของฟันและช่องปากเพื่อช่วยการรับรู้​รสชาติ​และความอยากอาหารของผู้ป่วยสมองเสื่อม​(Dementia)​
2.การดูแลด้านอาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม(Dementia)​ เช่น เตรียมอาหารให้เพียงพอและยืดหยุ่นตามความชอบของผู้ป่วย หรือเพิ่มเวลาในการรับประทานอาหารโดยรับประทานครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้งในแต่ละวัน โดยไม่ควรรับประทานเกินหกโมงเย็นเพราะอาจทำให้เกิดปัญหาการย่อยอาหาร​หรือเกิดกรดไหลย้อนตามมาได้ เป็นต้น
3.จัดเตรียมอาหารอ่อนหรืออาหารที่ย่อยง่าย การเสริมอาหารระหว่างมื้ออาหาร สารอาหารแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่าย เช่นอาหารประเภทปลา ไข่ตุ๋น​ น้ำผักหรือผลไม้ปั่น หลีกเลี่ยงการใช้ยาเพื่อกระตุ้นความอยากอาหารในผู้ป่วย​ที่มีภาวะสมองเสื่อม(Dementia)​เป็นต้น
4.เน้นการจัดอาหารตามความชอบของผู้ป่วย ให้มีความสมดุล​และมีความหลากหลาย​โดยเน้นให้ผู้ป่วยสมองเสื่อม​(Dementia)​รับประทานอาหารมื้อเช้าเพื่อให้สมองมีน้ำตาลไปเลี้ยง และเสริมอาหารประเภท​นมที่มีไขมันต่ำ พืชตระกูล​ถั่ว เพิ่มอาหารที่มีกากใยสูงช่วยระบบการขับถ่ายเป็นต้น
5.จัดปรุงอาหารจำพวกไข่แดง ผักใบเขียว ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง กะหล่ำปลี ผลไม้รสเปรี้ยว ผักโขม กวางตุ้ง​ ผักบุ้ง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารการสื่อประสาทสมองและการหดตัวของกล้ามเนื้อ
6.จำกัดอาหารจำพวก ครีมเทียม มาการีน น้ำตาลทราย อาหารแปรรูป​ อาหารที่มีโซเดียม​สูง
7.เพิ่มอาหารที่อุดม​ไปด้วยวิตามิน​ต่างๆ ช่วยด้านความจำ เช่น สารสกัดจากใบแปะก๊วย​ ธัญพืช​ ข้าวไม่ขัดสี ไข่ ปลา เนื้อไม่ติดมัน
8.การจัดอาหารให้เหมาะสมกับโรคประจำตัวเช่น ผู้ป่วยสมองเสื่อม​มีโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตอาจต้องปรึกษาสหวิชาชีพ​เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่เหมาะสมไม่เกิดปัญหาตามมาเป็นต้น
9.จัดสิ่งแวดล้อมหรือสร้างบรรยากาศ​ในการรับ​ประทาน​อาหารเช่น รับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัวตามวิถีชีวิต​ของผู้ป่วย งดการดูทีวี และหลีกเลี่ยงการวางสิ่งของ​บนโต้ะ​อาหารที่ทำให้เกิดความสับสนเช่น ผลไม้พลาสติก​เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการดูแลเรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม​(Dementia)​นั้นไม่ได้ยุ่งยากเกินความสามารถ​ของผู้ดูแลเพียงแต่ต้องให้ความสนใจและใส่ใจในภาวะสุขภาพ​ของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมแค่นั้นเอง


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน