เมนูปิ้ง ย่าง พบสารก่อมะเร็ง ภัยร้ายในความอร่อย
อาหารที่ปรุงชนิดปิ้ง ย่าง และรมควัน พบสารก่อมะเร็งชื่อว่า สารพีเอเอช(Polycyclic Aromatic Hydrocarbon-PAH) ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับที่เกิดในควันไฟ ควันธูป ควันบุหรี่ ควันโรงงาน และควันอื่นๆที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์
จากรายงานการวิจัยของประเทศจีน เมืองกวางโจว พบว่าสารก่อมะเร็ง จากอาหารปิ้งย่างนั้น นอกจากจะเข้าสู่ร่างกายโดยการกินแล้ว ยังเข้าทางการสูดดมหรือหายใจขณะนั่งกินข้างเตาไฟ ทั้งนี้ยังสามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้ด้วย
เมนูอาหารปิ้งย่าง เกิดสารก่อมะเร็งได้อย่างไร?
.สารพิษที่ก่อมะเร็งจากการปิ้งย่างเกิดจากการย่างเนื้อสัตว์ที่มีไขมันหยดบนเตาถ่านขณะที่ให้ความร้อนต่ำ และเมื่อมีอากาศจำกัดทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดควันที่มีสาร
พีเอเอชลอยขึ้นมาเกาะติดที่ผิวของอาหาร โดยจะมีมากบริเวณที่ไหม้เกรียมของอาหารที่ปิ้งย่างนั้น
.สารพิษที่ก่อมะเร็งอยู่ในควันจากการปิ้ง ย่าง หากเราสูดดมควัน หรือการอยู่ใกล้เตาขณะปิ้ง ย่างอาหารอยู่เราก็สามารถรับสารก่อมะเร็งทางผิวหนังได้เช่นกัน
กินอาหารปิ้ง ย่าง อย่างไรให้ปลอดภัยจากสารก่อมะเร็ง?
ทางที่ดีที่สุดควรเลือกการปรุงอาหารแบบ ต้ม หรือ นิ่ง แต่ถ้าอยากกินอาหารปิ้ง ย่าง สามารถลดความเสี่ยงจากสารก่อมะเร็ง พีเอเอช ได้ดังนี้
- เลือกเนื้อสัตว์ที่มีไขมันติดน้อยที่สุดมาปรุงเมนูปิ้งย่าง
- ปรุงเนื้อสัตว์ให้สุกด้วยวิธีการต้ม ลวก ก่อนนำมา ปิ้ง ย่าง จะช่วยลดการเกิดสารพิษ พีเอเอช ขณะปิ้งย่าง
- หลีกเลี่ยงการใช้เตาถ่าน ควรใช้เตาไฟฟ้าไร้ควัน ในการปิ้ง ย่าง
- ใช้ใบตองหรือฟรอยห่อหุ้มอาหารก่อน ปิ้ง ย่างบนเตาไฟ ช่วยลดไขมันหยดลงบนถ่าน และลดสารพิษเอพีเอชได้
- ขณะปิ้ง ย่างควรอยู่ห่างจากเตาปิ้ง ย่างให้มากที่สุด
- การรับประทานอาหารปิ้ง ย่าง ไม่ควรกินเนื้อปิ้ง ย่างบริเวณที่ไหม้เกรียม
- หลังการปรุงอาหารชนิด ปิ้ง ย่าง ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าและทำความสะอาดร่างกายทันที
ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com