Episodes 4 การเดินทางท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตในต่างแดนของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

แชร์ให้เพื่อน

Episodes 4 การเดินทางท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตในต่างแดนของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

ตอน. การเดินทางไปประเทศฟิลิปปินส์ (ภารกิจของ Rommy and Jack)

       การเดินทางท่องเที่ยว เยี่ยมญาติต่างประเทศนั้นจะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมีการวางแผนชีวิต เกี่ยวกับด้านต่างๆ เช่น การจัดเตรียมกระเป๋าเดินทาง (สัมภาระโหลดใต้เครื่องบิน สัมภาระบนเครื่องบิน) การวางแผนกิจวัตรประจำวัน การจดจำสถานที่ต่างๆ ที่เคยไปมาแล้วหรือเป็นสถานที่ใหม่ๆ โดยการเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนเรื่องของการจองตั๋วเครื่องบิน (สำหรับผู้เขียนนั้นยังไม่เคยเดินทางบ่อย การจองตั๋วเครื่องบินจึงต้องพึ่งพาผู้ที่มีประสบการณ์ที่เดินทางบ่อยๆ ช่วยจองตั๋วเครื่องบิน จองที่พักตามโรงแรมต่าง การเช็คอินในระบบออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น

      สำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึงเรื่องราวของ Rommy ให้ทราบพอสังเขป Rommy นั้นเป็นฉายาของผู้เขียนเกิดและเติบโตในภาคอีสานตอนล่าง ตอนเด็กๆ มักจะชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นชีวิตจิตใจในวัยประถมศึกษา และได้เป็นตัวแทนของโรงเรียนในการสอบแข่งขัน ตอบปัญหาต่างๆ ซึ่งมีแพ้บ้าง ชนะบ้าง แต่เราก็ยอมรับในเรื่องของกฎกติกาของการแข่งขัน จนกระทั่งเรียนจบมัธยมปลาย จึงหันเหอาชีพด้านการพยาบาล จบมาด้วยเกรดที่ไม่สู้ดีนัก ทำงานมาได้ระยะหนึ่งจึงหันเหเปลี่ยนสายงานอาชีพมาเรื่อยๆ สุดท้ายก็มาจบลงด้วยการเป็นนักเขียนแบบจำเป็นนั่นเอง

       การใช้ชีวิตและการทำงานของ Rommy อาจไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีนัก แต่ก็เป็นสิ่งที่เราชื่นชอบ พร้อมๆกับการเกิดปัญหาด้านสุขภาพทำให้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตโดยเริ่มต้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยทองแล้วนั่นเอง มีอาการหลงๆ ลืมๆ จดจำสถานที่ต่างไม่ได้ และหลงทางบ่อยๆ จำชื่อคนไม่ค่อยได้

       เรามาดูกันเลยคะว่าหาก Rommy ต้องเดินทางไปเยี่ยมญาติซึ่งต้องขึ้นเครื่องบินจะต้องเตรียมตัวและจัดการแก้ไขปัญหาอย่างไร ภายใต้ภาวะสมองที่หลงๆ ลืมๆ

  1. การจัดการเรื่องการจองตั๋วเครื่องบิน เป็นหน้าที่ของญาติในการช่วยดำเนินการให้ รวมถึงการลงทะเบียนต่างๆ ในระบบออนไลน์ ตั๋วเครื่องบินเป็นของการบินไทย มีการซื้อเพื่อขนสัมภาระเพิ่ม 30 กิโลกรัม เพื่อนำไปประกอบอาหารที่ต่างประเทศนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังสามารถเรียนรู้วิธีการประกอบอาหาร และได้รับประทานอาหารที่ถูกปากอีกด้วย (การจองตั๋วแบบฉุกเฉินและเร่งรับ 2 วันก่อนการเดินทางจึงต้องซื้อตั๋วในราคาค่อนข้างแพง)
  2. การซื้ออาหารแห้งและอาหารสด ก็มีผู้ที่มีประสบการณ์ในการเดินทางต่างประเทศช่วยเลือกซื้อและแพคใส่กระเป๋าตามคำสั่งซื้อของเด็กๆสองคน ได้มาแบบเต็มกระเป๋าถูกอก ถูกใจเด็กไทยในต่างแดนเลยก็ว่าได้
  3. การจองรถแทกซี่เพื่อเดินทางไปสนามบิน เป็นการจองแบบโทรเข้าไปจองกับนครชัยแอร์แต่สุดท้ายก็พลาดโอกาศเสียเวลาเกือบสามสิบนาที เกือบเช็คอินไม่ทัน ต้องเดินทางแบบเร่งรีบ
  4. การเช็คอิน เนื่องจากไม่สามารถเช็คอินออนไลน์ได้ จึงเช็คอินผ่านเจ้าหน้าที่พร้อมโหลดกระเป๋าสัมภาระ และผ่านขั้นตอนการตรวจสัมภาระ การตรวจพาสปอร์ต จนขึ้นเครื่องบินแต่ก็มีความสับสนเรื่องการหาที่นั่ง เนื่องจากไม่ได้เดินทางต่างประเทศเป็นเวลาหลายปีมาก จึงต้องขอความช่วยเหลือจากผู้โดยสารท่านอื่นและลูกเรือ
  5. การใช้อุปกรณ์บนเครื่องบิน  เพื่อดูหนังฟังเพลง โดยการสังเกตจากผู้โดยสารท่านอื่นว่าใช้อย่างไรบ้าง ทดลองกดไปเรื่อย สุดท้ายก็จบลงด้วยการดูหนังฝรั่งจบไปหนึ่งเรื่องแบบงงๆ เอ๋อๆ และหยิบงานขึ้นมาเขียนบทเครื่องบินได้สองบทความนั่นเอง
  6. การสั่งอาหารบนเครื่องบิน หลังจากบริกรสาว สอบถามเมนูอาหาร จบลงด้วยข้าวผัดกุ้งแม้จะมีคอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากไม่มีเมนูอื่นอีกแล้วที่ตรงกับโรค
  7. การเข้าห้องน้ำ เนื่องจากกินน้ำน้อยและการเดินทางเพียงแค่ 3 ชั่วโมงกว่านิดหน่อยจึงไม่ปวด แต่ก็เดินไปสำรวจดูสัญลักษณ์ สีแดงคือมีคนใช้อยู่ สีเขียวคือว่าง สามารถเข้าใช้งานได้
  8. การเดินทางเข้าเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ มีการลงทะเบียนออนไลน์ที่ต้องลงเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด 19 (ผู้เขียนก็มีน้องสาวช่วยลงทะเบียนให้และแสกนคิวอาร์โคดผ่านขั้นตอนมาได้ด้วยดี หลังจากนั้นผ่านตม.ขอวีซ่าสำหรับผู้เขียนเดินทางครั้งนี้พักอาศัยในเมืองมะนิลาเขตมาคาตินั่นเองเป็นระยะเวลา 1 เดือนเต็ม
  9. การรับกระเป๋าเดินทางที่โหลดสัมภาระ เนื่องจากสนามบินนินอยนั้นเล็กมากจึงเดินทางหาที่รับประเป๋าเดินทางได้ไม่ยากมากนัก
  10. การประสานงานกับญาติที่เดินทางมารอรับ เนื่องจากผู้เขียนขอเปิดโรมมิ่งของทรูมาด้วยแพคเกต 999 บาทต่อเดือนความเร็ว 10 กิ๊กกะไบท์เมื่อหมดแล้วความเร็วจะลดลง จึงไม่ได้มีปัญหาทำให้เจอญาติได้อย่างรวดเร็ว
  11. การเดินทางเข้าที่พัก โดยมีน้องสาวรอรับและขับรถเข้าไปส่งที่พักได้อย่างปลอดภัย
  12. การสำรวจสถานที่ในเมืองมาคาติ มีเด็กอายุ 8 ปี และ 9 ปีเป็นคนแนะนำสถานที่พาข้ามถนน เดินทางไปกลับระหว่างบ้านพักของเค้าและที่พักของผู้เขียนซึ่งอยู่ไม่ได้ไกลกันมากนัก พร้อมแนะนำเรื่องร้านอาหารที่พวกนางเข้าซื้อกินบ่อยเช่นกัน
  13. เรื่องของเวลานั้นประเทศฟิลิปปินส์เร็วกว่าไทยประมาณ 1 ชั่วโมง
  14. สุดท้ายจบลงด้วยหลงทางอีกครั้งเนื่องจากน้องสาวพามาส่งที่พัก แต่ไม่สามารถส่งถึงที่ได้เนื่องจากทางเดินรถทางเดิน ปล่อยให้ลงเดินเข้ามาเนื่องจากที่พักมี 3 ตึกและชื่อคล้ายกันหาตึกไม่เจอ การแก้ไขโดยเปิดการใช้โรมมิ่งโทรหาญาติส่งให้ดูข้างทางเพื่อบอกเส้นทางเข้าตึกได้อย่างปลอดภัยนั่นเอง

                 

สำหรับเรื่องที่พักอาศัย จะเขียนในบทความต่อไป หากสนใจบทความเกี่ยวการใช้ชีวิตหรือการเดินทางสำหรับผู้ที่มีอาการสมองเสื่อม หลงลืมบ่อยสามารถอ่านได้เพิ่มเติมที่ healthybestcare.com

      

แชร์ให้เพื่อน

9 ขั้นตอนการเตรียมตัวเดินทางต่างประเทศสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม

แชร์ให้เพื่อน

9 ขั้นตอนการเตรียมตัวเดินทางต่างประเทศสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม

Episodes 3 การใช้ชีวิตในเมืองหลวงหลังป่วยโควิด 19 (ปี 2566)

        สำหรับบทความนี้ ต่อเนื่องจากบทความที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม (สามารถหาอ่านได้เพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com )  เนื่องจากมนุษย์เราหลังจากอายุล่วงเลยเกินกว่า 50 ปี การเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการเข้าสู่ภาวะความเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ เช่น ฮอร์โมนเพศ สมอง ความแข็งแรงของร่างกายต่างๆ เริ่มลดลง (เริ่มเข้าสู่วัยทอง มีภาวะหลงๆ ลืมๆ หรือสมองเสื่อม) หากแต่ชีวิตของคนทั่วไป (มนุษย์เดินดินอย่างเราๆ) ยังต้องดำเนินต่อไปอีก 50 ปีเป็นอย่างมาก เราจะเตรียมตัวสำหรับการเดินทางไกลหรือเดินทางต่างประเทศอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการหลงทางและใช้ชีวิตให้มีความสุข โดยลดภาระการดูแลน้อยลงให้มากที่สุด

       สำหรับการดูตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมในการเตรียมตัวเพื่อเดินทางต่างประเทศนั้นเราต้องเริ่มฝึกและทดลองเดินทางหรือใช้ชีวิตในต่างจังหวัดหรือเมืองหลวงก่อนเพราะในเมืองหลวงของแต่ละประเทศหรือเมืองท่องเที่ยว(พัทยา จะจำลองสิ่งแวดล้อมการใช้ชีวิตคล้ายในต่างประเทศมีประชาชนต่างชาติหลากหลายภาษาอาศัยอยู่ร่วมกัน การติดต่อสื่อสารหลากหลายภาษา การข้ามถนนหนทาง จะมีสัญญาณไฟให้รอเพื่อข้ามถนน หากเราอยู่ในเมืองที่มีรถวิ่งอย่างคับคั่ง หากในกรุงเทพเราสมารถเดินข้ามสะพานลอยจะปลอดภัยกว่า แต่สำหรับเมืองที่ไม่มีสะพานลอยหรือมีน้อยเราต้องรอสัญญาณไฟในการข้ามถนน เรามาดูกันเลยคะว่า 9 ขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อเดินทางไกลไปต่างประเทศ เพื่อท่องเที่ยวหรือพักอาศัยในต่างประเทศเราต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

  1. การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพและการซื้อประกันการเดินทาง เนื่องจากความเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่เราสามารถบริหารความเสี่ยงโดยการลงทุนน้อยเมื่อเทียบกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น จะมีบริษัทประกันรับความเสี่ยงในการชดเชยค่าสินไหมตามวงเงินและเงื่อนไขการซื้อประกัน เราเตรียมตัวด้านการตรวจสุขภาพประจำปี (สามารถหาอ่านได้ในบทความอื่นๆ ใน healthybestcare.com ) ว่าเราต้องตรวจรายการใหนบ้างเป็นต้น (สำหรับผู้เขียนเองนั้นมีอาการสมองเริ่มเสื่อม อาการวัยทอง โรคประจำตัวไขมันในเลือดสูง ตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี) จึงต้องเตรียมยาให้เพียงพอสำหรับการเดินทางและนำผลการตรวจสุขภาพติดตัวไปทั้งหมด รวมถึงการเตรียมยาพื้นฐานต่างๆ สามารถหาอ่านได้เพิ่มเติมใน healthybestcare.com
  2. การทดลองการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศก่อนโดยใช้วิธีการเดินทางโดย เครื่องบินในประเทศ  รถไฟ รถเมย์ รถโดยสารสองแถว รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อให้เกิดความเคยชิน จะช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตในต่างแดนได้คล่องตัวมากขึ้นนั่นเอง
  3. การใช้เครื่องมือสื่อสารให้เกิดประโยชน์ หากเราหลงลืมเส้นทางบ่อยๆ เราสามารถใช้มือถือถ่ายภาพลงในสตอรี่หรือฟีดข่าวของเฟสบุ๊ค โดยในวันนั้นให้เริ่มต้นฟีดข่าวครั้งแรกในจุดที่เราเริ่มต้นออกเดินทาง หลังจากนั้น ถ่ายภาพจุดที่สำคัญๆ ที่เราเดินทางผ่านหรือเราเคยไปมาก่อนลงให้เกิดความต่อเนื่อง ให้เป็นสตอรี่เรียงกันไปตามลำดับหากเราหลงทางการติดตามตัวเราจะได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น (อย่านำรูปเดิมมาลง อาจทำให้เกิดความสับสนได้)
  4. การเตรียมความพร้อมด้านอาหารการกินบางอย่างให้พร้อม เพราะอาหารที่ต่างประเทศอาจไม่ถูกปากหรือไม่ถูกโรค ดังนั้นการเตรียมอาหารบางส่วนนอกจากช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเป็นการกินอาหารที่เราชอบและถูกปาก ถูกโรคไม่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยในต่างแดน ชีวิตเราก็มีความสุขเพิ่มขึ้นตลอดการพักอาศัย และท่องเที่ยวอีกด้วย (เรายอมจ่ายค่าสัมภาระในการเดินทางเพิ่มขึ้นเช่นอาจต้องจ่าย 1000 บาทต่อการขนสัมภาระ 30 กิโลกรัมในการเดินทางไปประเทศฟิลิปปินส์ของสายการบินไทย) เป็นต้น
  5. การสอบถามเพื่อนๆ ที่เคยเดินทางหรือการอ่านรีวิวการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวในประเทศนั้นๆ เช่น กระทู้ในพันทิป บทความการท่องเที่ยวต่างๆ จะช่วยเราได้อย่างมากเลยทีเดียว
  6. การจัดเตรียมสิ่งของ อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัวจะช่วยลดค่าใช้จ่ายถ้าหากเราต้องซื้อที่ต่างประเทศอาจมีราคาแพงกว่านั่นเอง (เสื้อผ้ากันหนาว รองเท้าแตะ รองเท้าผ้าใบ ชุดว่ายน้ำ สำรองแบตเตอรี่ สายชาร์ตต่างๆ ให้พร้อม (อาจเตรียมโน๊ตบุ๊คไปด้วยหากจำเป็นต้องใช้เพื่อถ่ายโอนภาพหรือทำงานไปด้วยนั่นเอง
  7. การหาเพื่อนในประเทศที่เรากำลังเดินทางไปผ่านทางออนไลน์โดยเป็นคนสัญชาติเดียวกันหรือการตรวจสอบที่ตั้งของสถานทูตไทยในประเทศนั้นๆ หากเรามีความจำเป็นต้องขอความช่วยหลือเป็นต้น (สำหรับผู้เขียนเองนั้นการเดินทางไปประเทศที่มีน้องสาวและเด็กวัยเรียนสองคนรอรับอยู่ที่ต่างประเทศซึ่งมีการกล่าวถึงเรื่องราวความรักของเด็กวัยอนุบาลในบทความก่อนหน้านี้แล้ว สามารถอ่านได้เพิ่มเติมที่ healthybestcare.com
  8. การโหลดแอฟพลิเคชั่นอื่นๆ เช่น ไลน์ ไวเบอร์ อิโม่ แชทในแมสเสทเจอร์ การใช้แอฟพลิเคชั่นในการแปลภาษาจะช่วยเราได้เป็นอย่างมาก ทำให้การสื่อสารมีความราบรื่นมากยิ่งขึ้นเป็นต้น
  9. ข้อสุดท้ายและท้ายสุดคือการดูแลทรัพย์สินส่วนตัวเช่น หนังสือเดินทาง เงินทอง ที่สำคัญมากที่สุดคือมือถือจะช่วยให้เราใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็นนั่นเอง

แม้ว่าการเดินทางสำหรับเราอาจไม่ได้เป็นคนที่ได้เดินทางบ่อยๆในประเทศและต่างประเทศ แต่การที่เราได้เตรียมความพร้อมก่อนการเดินทางจริงหรือที่เรียกว่าการฝึกซ้อมก่อนจะช่วยให้เราใช้ชีวิตได้ง่าย ลดความเครียดและความวิตกกังวลในการเดินทางไปอาศัยอยู่ ญาติที่อยู่ทางบ้านจะลดความเป็นห่วงลงได้ในระดับหนึ่งอีกด้วย

หากใครที่กำลังมองหาสถานที่ในการท่องเที่ยวหรือย้ายที่อยู่อาศัย สำหรับบทความนี้อาจช่วยสำหรับการเตรียมความพร้อมกรณีมีอาการสมองเสื่อมร่วมด้วย สนใจบทความอื่นๆ หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

พบกันใหม่สำหรับบทความการใช้ชีวิตในต่างแดนสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมคะ

 

แชร์ให้เพื่อน

ภาวะสมองเสื่อมกับทะเลบำบัดช่วยได้อย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

ภาวะสมองเสื่อมกับทะเลบำบัดช่วยได้อย่างไร?

ถึงแม้ว่าการรักษาภาวะสมองเสื่อมยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้  แต่การดูแลสุขภาพของตนเองและการบำบัดด้วยธรรมชาติจะช่วยคงระดับของภาวะสมองเสื่อมไม่ให้มีความเสื่อมถอยลง   เนื่องจากภาวะสมองเสื่อมนั้นเป็นความผิดปกติด้านความจำ การรับรู้ อารมณ์ สังคมและพฤติกรรม การเดินทางท่องเที่ยวทะเลก็สามารถช่วยบำบัดภาวะสมองเสื่อมได้ ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นสมอง ปล่อยอารมณ์ตามคลื่นทะเล พบปะผู้คน เป็นต้น

เริ่มต้นกิจกรรมยามเช้าด้วยการดูแลตัวเองด้านกิจวัตรประจำวัน  นั่งสมาธิหรือนับลูกปะคำ (นับเงินตามความชื่นชอบ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจและมีทัศนคติที่ดีต่อเงิน) รับประทานอาหารมื้อเช้า จัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อเที่ยวทะเลและชายหาด อธิเช่น ชุดว่ายน้ำ  มือถือ อาหารกินเล่น เม็ดทานตะวันแทะคลายอารมณ์  ผลไม้อบแห้ง หรือตามแต่ความชอบของบุคคล

เมื่อเดินทางมาถึงทะเล  ให้ถ่ายรูปตำแหน่งที่นั่งลงในสตอรี่  หากหลงทางญาติจะได้ติดตามได้ มองหาที่นั่งริมชายหาดถอดรองเท้าให้ฝ่าเท้าสัมผัสเม็ดทรายเดินเล่นริมน้ำทะเลมีคลื่นน้ำซัดมากระทบชายฝั่ง  มองดูซากเปลือกหอย สัตว์น้ำต่างๆ หรือสิ่งของชนิดอื่นๆเพื่อช่วยรื้อฟื้นความจำ และคิดชื่อในรูปแบบของภาษาเช่น เขมร  ไทย ลาว อังกฤษ หรือตามความชอบโดยในแอปแปลภาษาช่วย

เรามาดูกันเลยคะว่า  ภาวะเสื่อมสมองสามารถใช้ทะเลบำบัดช่วยได้จริงหรือไม่?

  1. ท้องฟ้าสีคราม คลื่นลมทะเลกระทบชายฝั่ง หาดทรายสีขาว  ช่วยบำบัดภาวะสมองเสื่อม การมองท้องฟ้าสีคราม มีเมฆหมอกเป็นรูปสัตว์ สิ่งของตามจินตนาการ  ช่วยให้สมองคิดเชื่อมโยงชื่อสัตว์ สิ่งของที่เคยเห็นตั้งแต่ในอดีต  เกิดการรื้อฟื้นความทรงจำต่างๆ  ฝ่าเท้าสัมผัสเม็ดทรายสีขาวเนียนหยาบสลับกันไปตามจังหวะการเคลื่อนไหวของร่ายตามชายฝั่งทะเล สายตามองคลื่นน้ำกระทบแสงแดดระยิบระยับดั่งเกล็ดเพชรเหนือผืนน้ำทะเลอันกว้างใหญ่ เปรียบเสมือนอารมณ์ของคนที่มีบางช่วงเวลามีความรุนแรง บ้าคลั่งดั่งคลื่นซึนนามิ ที่ทำลายล้างสิ่งแวดล้อมริมทะเล ขณะที่บางช่วงของอารมณ์เกิดความเงียบสงบ สยบความเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งรอบกาย  การอยู่ในสถานการณ์นี้จะทำให้ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมเข้าใจโลกและสิ่งแวดล้อมตามความเป็นจริงมากขึ้น   เข้าใจอารมณ์ เพราะการระบายอารมณ์ออกมาในรูปแบบที่เหมาะสมจะช่วยให้เกิดความผ่อนคลายไม่เก็บกด หลีกเลี่ยงการระบายอารมณ์ใส่ผู้อื่นที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีและยาวนาน
  2. ท้องฟ้าสีคราม  คลื่นลมทะเลกระทบชายฝั่ง  หาดทรายสีขาว ช่วยบำบัดภาวะสมองเสื่อมด้านอารมณ์  ความรู้สึก การมองท้องฟ้าช่วยให้สมองได้รับการพัก   หยุดคิดไปชั่วขณะเกิดอารมณ์สงบ  การมองคลื่นทะเลกระทบเรือที่จอดอยู่ริมชายฝั่ง เรือลำน้อยหรือจะสู้คลื่นลมทะเลได้ฉันใด  เปรียบเสมือนการใส่อารมณ์กับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องฉันนั้น  เรือลำน้อยจอดริมชายฝั่งหากคลื่นลมทะเลเกิดอารมณ์บ้าคลั่ง เรือก็จมหายไปในน้ำทะเลได้ฉันนั้น เปรียบเสมือนชีวิตคนเราหากคลื่นลมทะเลเป็นอารมณ์ที่สาดใส่กัน ย่อมทำให้ความสัมพันธ์ขาดสะบั้น เว้นแต่การรู้จักให้อภัย การเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ช่วยให้รักษาความสัมพันธ์ที่ยืนยาวอยู่ได้
  3. ท้องฟ้าสีคราม คลื่นลมทะเลกระทบชายฝั่ง หาดทรายสีขาว ช่วยบำบัดภาวะสมองเสื่อมด้านสังคม  การนั่งเล่นบนเก้าอี้ผ้าใบริมหาดทรายสีขาว ได้พบปะ เจอเพื่อนใหม่ พูดคุย แลกเปลี่ยนด้านความคิด การเดินทาง ประสบการณ์ชีวิต แม้ต่างกันด้วยเชื้อชาติ ต่างภาษา สีผิว เพศ และวัยที่แตกต่างทั้งเด็กเล็กมีจำนวนไม่มากนัก วัยทำงานมีในระดับปานกลาง วัยเกษียร มีมากที่สุดบนชายหาดริมชายทะเล แสดงให้เห็นว่าการท่องเที่ยวริมชายหาด  ช่วยลดความก้าวหน้าของภาวะสมองเสื่อมได้จริง  การได้พูดคุยกับกลุ่มคนวัยเกษียรทำให้เกิดมุมมองด้านการใช้ชีวิตที่มีความหลากหลาย บางคนเกษียรจากการทำงานประจำ ขณะที่บางคนเกษียรจากการทำธุระกิจส่วนตัวมีมุมมองที่จะดำเนินชีวิตท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ขณะที่ตัวเรานั้นเกษียรจากภาวะสุขภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานแบบเต็มเวลา  การเดินทางท่องเที่ยวร่วมกับการทำงานก็เป็นทางเลือกหนึ่ง  (แต่ไม่มีรายได้ประจำ)
  4. ท้องฟ้าสีคราม คลื่นลมทะเลกระทบชายฝั่ง หาดทราย ช่วยบำบัดภาวะสมองเสื่อม ด้านพฤติกรรม การลงเล่นน้ำทะเลเป็นการแสดงออกด้านพฤติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อผิวกายสัมผัสความเย็นของน้ำเราจะแสดงพฤติกรรมการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายอบอุ่น หากเรามุดน้ำทะเลโดยการลืมตาทำให้แสบตาพฤติกรรมที่เหมาะสมคือขณะมุดน้ำต้องหลับตาพร้อมกับหุบปากเพื่อไม่ให้น้ำทะเลเข้าตาและเข้าปากเป็นการแสดงพฤติกรรมที่ป้องกันอันตรายโดยใช้สัญชาตญาณ  การใช้ชีวิตของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมหรือคนทั่วไป  ในบางช่วงเวลาก็ต้องปิดปากพูดให้น้อยลง หรือปิดตามองบางอย่างในสภาวะที่เป็นจริง ไม่มีใครมีชีวิตแบบสุขตลอดกาลหรือทุกข์ตลอดกาลเพียงแต่เราไม่ได้รับรู้ถึงปัญหาในบางช่วงเวลาของเค้า  ดังนั้นจงใช้ชีวิตในแบบฉบับที่เราชอบ และถนัด ไม่จำเป็นต้องเหมือนคนอื่น  แค่เรารู้ว่าใช้ชีวิตแบบนี้  เรามีความสุขและผ่อนคลายมากที่สุด หากเรามีความสุขแล้วสิ่งอื่นๆจะตามมาเอง

การใชเทคนิคบำบัดภาวะสมองเสื่อมโดยอาศัยธรรมชาติบำบัด  ในรูปแบบของท้องฟ้าสีคราม คลื่นลมทะเล ชาดหาดสีขาว  ช่วยให้รื้อฟื้นทั้งด้านความจำ การรับรู้ด้านสิ่งแวดล้อม  การปรับด้านอารมณ์และทัศนคติ   สังคม และพฤติกรรม รวมถึงคนที่ไม่มีภาวะสมองเสื่อมก็ลองมองหาแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ในรูปแบบนี้เช่น เขื่อน แม่น้ำลำคลอง หรือลำธาร เพื่อช่วยให้ร่างกายและจิตใจพร้อมที่จะก้าวเดินต่อไปในเส้นทางของอนาคตที่ดีขึ้น


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

การดูแลผู้ป่วย สมองเสื่อม (ตอนที่ 1)

แชร์ให้เพื่อน

การดูแลผู้ป่วย สมองเสื่อม (ตอนที่ 1)

การจัดกิจกรรมดูแลพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ตอนที่1

ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์​(Age Society) และคาดการณ์​ว่าในปี พ.ศ 2568 จะมีประชากรสูงอายุถึงร้อยละ 20 รวมถึงผู้เขียนเองก็ใกล้เข้ามาทุกขณะและกลุ่มผู้สูงอายุมีความเสื่อมถอยของอวัยวะเนื่องจากความชรา ก่อให้เกิดความผิดปกติด้านสุขภาพ​โดยเฉพาะกลุ่มโรคในผู้สูงอายุ (Geriatric syndrome) ฉะนั้นผู้ดูแลต้องเข้าใจถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันความเจ็บป่วย และความพิการ เพื่อ ดูแล รักษา  ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุให้สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้ยาวนานที่สุดและมีคุณภาพชีวิตที่ดีแม้จะมีโรคเรื้อรัง

ภาวะสมองเสื่อม(Dementia)​ เป็นโรคในกลุ่มเฉพาะของผู้สูงอายุ​ ( Geriatric syndrome) ที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่  ถึงแม้ว่าช่วงการระบาดของโควิด 19 ก่อให้เกิดความสูญเสียในคนกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก  ภาวะสมองเสื่อม​เป็นกลุ่มอาการที่สมองมีการเสื่อมถอยของหน้าที่ในหลายๆด้านแบบค่อยเป็นค่อยไป​ (Cognitive decline) ในด้านต่างๆดังต่อไปนี้คือ
1.ผู้ป่วยจะสูญเสีย​ความจำระยะสั้น (Short term memory)
2.ผู้ป่วยสูญเสียด้านการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ( Learning)
3.การเรียนรู้ด้านภาษาช้าลง(Language)​
4.การรับรู้​ด้าน บุคคล เวลาและสถานที่​(Perceptual)​
5.การแก้ไขปัญหา​และการบริหารจัดการ (Executive functions)
6.การมีสมาธิจดจ่อ (Complex attention)
7.ความสามารถในการเข้าสังคม​หรือมีปฏิสัมพันธ์​กับผู้อื่น (Social cognition)

จาก​ปัญหา​ความบกพร่อง​ดังกล่าวนี้ทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมีผลกระทบต่อการดูแลตนเองและเกิดภาวะพึ่งพาผู้อื่น​ ผู้ป่วยบางรายอาจมีพฤติกรรม​และอารมณ์​ที่เปลี่ยนแปลง​ไปร่วมด้วย (Behavior​al and phycological symptoms of Dementia : BPSD)​ ส่งผลให้การดูแลมีความซับซ้อน ยากลำบากมากกว่าการดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังอื่นๆ เพราะพฤติกรรม​และอารมณ์​ที่เปลี่ยนแปลง​นั้นมีความแปรปรวนทำให้ผู้ดูแลเกิดภาวะเครียด  ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล ฉะนั้นผู้ดูแลจึงต้องวางแผน และมีเทคนิค ใน​การให้การดูแลพื้นฐานในชีวิตประจำวัน​ของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมเมื่อผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ

กิจกรรมในชีวิตประจำวัน​ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมีดังต่อไปนี้คือ
1.เริ่มการดูแล​ตั้งแต่​ตื่นนอนตอนเช้า  การรับประทาน​อาหาร​ การดื่มน้ำ  การอาบน้ำ  การดูแลทำความสะอาดร่างกาย การขับถ่าย  การแต่งกาย     บางรายอาจไม่ต้องการความช่วยเหลือใดๆ แค่ต้องการคอยเตือนให้กระทำสิ่งต่างๆเท่านั้น
2.หากในกลุ่มผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมลุกลามมากขึ้น จะต้องการการช่วยเหลือในการทำกิจกรรม​ต่างๆมากขึ้นเรื่อยๆ
3.ในกลุ่มผู้ป่วยสมองเสื่อมในระยะสุดท้าย​จะอยู่ในภาวะพึ่งพา ผู้ดูแลหรือญาติต้องเป็นคนทำกิจวัตรประจำวัน​ทุกอย่างให้ผู้ป่วย


คำแนะนำ​สำหรับการดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม สามารถปรับเปลี่ยน​วิธี​การดูแลให้เหมาะสมกับสถานการณ์​ในแต่ละวันในด้านต่างๆดังนี้

1.การ​รับประทาน​อาหารและน้ำดื่ม  ปัญหาที่พบในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมคือ ได้รับสารอาหารและน้ำไม่ได้สัดส่วน ไม่ครบถ้วน อาจทำให้เกิดภาวะอ้วน ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ประเด็นที่พบบ่อยคือ

  • รับประทานแล้วคิดว่าไม่ได้รับประทาน
  • ไม่ยอมรับประทานหรือรับประทานเลอะเทอะ​
  • รับประทานสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อาหารเช่น สบู่  น้ำยาล้างจาน ดอกไม้ เป็นต้น
  • ไม่ยอมดื่มน้ำเปล่า

แนวทางการแก้ไขปัญหา​

  • จัดตารางการรับประทานอาหารให้ตรงเวลาทุกวันและในสถานที่เดิมโดยยืดหยุ่นตามสถานการณ์​เพื่อหลีกเลี่ยงการทะเลาะระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วย
  • ควรให้เวลากับผู้ป่วยไม่เร่งรีบในการรับประทานอาหาร
  • แบ่งอาหารในการรับประทานทีละน้อยแต่บ่อยครั้งหรือมีผักเช่น แตงกวา
  • เก็บสิ่งที่รับประทานไม่ได้ ให้มิดชิด พ้นสายตาผู้ป่วย
  • กระตุ้นการใช้อุปกรณ์​ในการรับประทานเพื่อไม่ให้เกิดความหลงลืมวิธีการใช้
  • ผู้ดูแลต้องระมัดระวัง​อาหารที่ร้อนจัดเนื่องจากผู้ป่วยขาดความระมัดระวัง​อาจเกิดอันตรายได้
  • จำกัดอาหารโดยจัดเป็นอาหารจานเดียวและได้รับสารอาหารให้ครบถ้วน​


2. การอาบน้ำ​และการดูแลความสะอาดของร่างกาย
      

ผู้ดูแลคอยเตือนให้ผู้ป่วยอาบน้ำ แปรงฟัน​สระผม ล้างมือ​  โกนหนวด ตัดเล็บ เป็นต้น
       ประเด็นที่พบบ่อยๆคือ

  • ลืมอาบน้ำหรือไม่ยอมอาบน้ำ หรือลืมวิธีอาบน้ำ
  • ไม่ดูเเล​ความสะอาดหน้า ผม ช่องปากและฟัน
  • ไม่ยอมให้ช่วยอาบน้ำเนื่องจากอาย เป็นต้น
  • หาห้องน้ำไม่พบเนื่องจากสับสน หรือหลงลืมทางในบ้าน

   แนวทางแก้ไขปัญหา

  • จัดตารางอาบน้ำในเวลาเดิมของทุกวัน อย่าเป็นเวลาค่ำเกินไปเพราะผู้สูงอายุขี้หนาว ใช้น้ำอุ่นอาบเสมอ
  • ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์​ให้สะดวกใช้ เนื่องจากความหลงลืม
  • ต้องระวังอุบัติเหตุ​การลื่นล้มในห้องน้ำ มีราวเกาะ หรือพรมที่ลื่นเป็นต้น
  • แนะนำ​ขั้นตอนการอาบน้ำด้วยเสียงที่นุ่มนวล สั้นกระชับ​  เข้าใจง่าย
  • ช่วยเหลือในสิ่งที่ทำเองลำบากเช่น การติดกระดุม การช่วยเช็ดตัวหลังอาบน้ำในบริเวณหลัง ราวนม เพราะความชื้นทำให้เป็นเชื้อราได้ เป็นต้น
  • แนะนำขั้นตอนการดูแลตนเองอย่างเป็นขั้นตอนเช่น การสระผม ล้างหน้า โกนหนวด ตัดเล็บ เป็นต้น

ติดตามเนื้อหาในบทความต่อไปได้เลยค่ะ


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ภาวะสมองเสื่อม การเขียนหนังสือช่วยได้ !!!! ตอนที่ 1 

แชร์ให้เพื่อน

ภาวะสมองเสื่อม การเขียนหนังสือช่วยได้ !!!!

ตอนที่ 1 

เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ความเสื่อมของร่างกายและสมองเริ่มตามมา เราสามารถใช้เทคนิค​การเขียนหนังสือช่วยกระตุ้นเซลล์​สมองเพื่อช่วยลดภาวะสมองเสื่อมได้
กิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นสมองมีมากมายหลากหลายวิธี เช่น การเล่นเกมปริศนาคำทาย  การเล่นไพ่   การเขียนหนังสือ บทความ บันทึกประจำวัน

ภาวะสมองเสื่อมคืออะไร?
เป็นภาวะความบกพร่องของการทำหน้าที่ของสมอง ส่งผลให้สมองของผู้ป่วยเสื่อมถอยโดยเฉพาะในเรื่องความคิด ความจำ ความรอบรู้ การใช้ภาษา การตัดสินใจ และการใช้เหตุผล ตลอดจนบุคลิก​ภาพและพฤติกรรม​ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างชัดเจน 

สัญญาณ​เตือนว่าท่านเริ่มมีภาวะสมองเสื่อม

  • มีปัญหาเรื่องความจำ หลงลืมบ่อย
  • ของหายบ่อยๆ หรือวางผิดที่ผิดทาง เกิดระแวงว่าคนอื่นขโมย
  • ติดขัดการใช้ภาษา เรียกชื่อสิ่งของหรือคนคุ้นเคยไม่ถูก
  • รู้สึกยากลำบากในการทำงานที่ซับซ้อนที่เคยทำอยู่ประจำ เช่น การวางแผนในการทำงาน  การวางแผนค่าใช้จ่าย
  • ตัดสินใจเรื่องต่างๆได้ช้า หรือไม่เหมือนเดิม
  • มีปัญหาด้านทิศทาง ด้านสิ่งแวดล้อม  หลงทางบ่อยแม้ทางที่คุ้นเคย
  • สับสนป้ายสัญญาณที่เป็นอยู่ประจำ เช่น ไฟจราจร
  • สับสนในการลำดับเหตุการณ์  เรื่องราวต่างๆ เวลา สถานที่
  • สมาธิสั้น เปลี่ยนเรื่องที่ทำหรือกำลังสนใจได้ง่าย
  • บุคลิก​เปลี่ยนไปจากเดิมเช่น ซึมเศร้า แยกตัว เหนื่อยหน่ายการเข้าสังคม ก้าวร้าวหรือเห็นภาพหลอน

อ่านมาถึงตอนนี้ลองประเมินตัวท่านเองว่าเข้าข่ายกี่ข้อแล้วแต่คงไม่ใช่ทุกข้อเพราะอย่างน้อยท่านก็มีสมาธิอ่านหนังสือได้

การเขียนหนังสือ/บทความ/บันทึกประจำวันช่วยลดภาวะสมองเสื่อมได้อย่างไร?
1.การเขียนหนังสือ บทความ บันทึกประจำวันช่วยความจำด้านตัวเลข อักษร​ภาษา  และสัญลักษณ์​ต่างๆได้ดี  เพราะในแป้นพิมพ์มีสัญญลักษณ์​ต่างๆมากมายที่ใช้เพื่อประกอบในการเขียนหนังสือ
2.การเขียนหนังสือ บทความ บันทึกประจำวันช่วยในการวางแผนว่าจะเขียนเนื้อหาอย่างไร   ใช้ความคิดในการจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหาที่เขียน
3.การเขียนหนังสือ  บทความ บันทึกประจำวันช่วยให้มีสมาธิจดจ่อในการเขียน ไม่วอกแวก
4.การเขียนหนังสือ บทความ บันทึกประจำวันช่วยกระตุ้นสมองในการตรวจสอบเนื้อหาที่เขียนโดยใช้ทักษะการอ่านซ้ำ
5.การเขียนหนังสือ บทความ ช่วยกระตุ้นสมองในการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม  สร้างจิตนาการ ความคิดสร้างสรรค์   เพื่อให้หนังสือหรือบทความมีความน่าสนใจ
6.การเขียนบันทึกประจำวันช่วยในการรื้อฟื้นความจำในระยะสั้นคือภายใน 24 ชั่วโมง

ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ภาวะสมองเสื่อมมีแนวโน้มพบบ่อยเมื่ออายุมากกว่า65ปีแต่การใช้ทักษะด้านการเขียนหนังสือ บทความ บันทึกประจำวันสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ โดยเริ่มกระตุ้นสมองตั้งแต่อายุเกิน50ปีไปแล้ว  ใครไม่อยากมีภาวะสมองเสื่อมลองใช้เทคนิค​นี้ดูค่ะ

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

 

แชร์ให้เพื่อน