5 กิจกรรมการเล่นของไทยช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

แชร์ให้เพื่อน

5 กิจกรรมการเล่นของไทยช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

กิจกรรมการเล่นของเด็กสมัยก่อนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการ เป็นการเล่นของเด็กๆที่เล่นเป็นกลุ่มในวัยใกล้เคียง​กัน โดยใช้วัสดุอุปกรณ์​ที่หาง่ายและอยู่ใกล้​ตัว เล่นเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน

กิจกรรมการเล่นที่พบบ่อยและช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการมีดังต่อไปนี้

1.กระโดดเชือก   เป็นการเล่นได้ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงเล่นด้วยกันเป็นกลุ่ม อุปกรณ์ที่ใช้คือเชือก โดยเด็ก 2 คนจับเชือกฝั่งล่ะคนปรับระดับสูงขึ้นตามร่างกายของเด็ก มีผู้เล่น 3-5คนเปลี่ยนกันกระโดดข้ามเชือก ถ้าใครกระโดดไม่ผ่านจะต้องสลับมายืนจับเชือกแทน 

ประโยชนที่ได้รับในการเล่นกระโดดเชือกของเด็กคือ

  • กระตุ้นให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรง
  • ช่วยในการทรงตัวขณะกระโดด
  • เน้นให้เข้าใจกฎกติกาการเล่นเป็นกลุ่ม
  • สนุกสนาน เพลิดเพลิน


2.เล่นซ่อนแอบ  เป็นการเล่นเป็นกลุุ่มประมาณ 3-5คนโดยเริ่มต้นด้วยการเสี่ยงทายใครแพ้จะเป็นคนตามหาขณะที่ผู้ชนะพากันไปแอบในสถานที่ต่างๆห้ามเกินแนวเขตที่กำหนด

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเล่นซ่อนแอบของเด็กคือ

  • เข้าใจกฏกติกาการเล่นเป็นกลุ่ม
  • ช่วยให้มีสมาธิขณะแอบกำหนดลมหายใจให้เบาที่สุด  ช่วยสงบสติอารมณ์​
  • ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
  • ช่วยให้มีพัฒนาการการนับเลข 1-10

 


3.เล่นขายของ เป็นการเล่นสมมุติ​บทบาทระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยเลือกขายสินค้าที่ไม่ซ้ำกันใช้อุปกรณ์ เปลือกหอย กระดาษ หรือใบไม้ เป็นเงินตราในการซื้อขายสินค้าและมีจำนวนที่จำกัด

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเล่นขายของของเด็กคือ

  • ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบจับ
  • เด็กเข้าใจเรื่องการจ่ายเงินรับเงินและทอนเงินในบทบาทสมมุตินั้น
  • กระตุ้นด้านสติปัญญาด้านจำนวนและตัวเลข
  • เกิดความสามัคคีในกลุ่มผู้เล่น
  • มีความคิดสร้างสรรค์ในการกำหนดเมนูสินค้า อาหารที่ขาย
  • ส่งเสริมด้านภาษา การสื่อสาร โดยผู้ขายจะนำเสนอสินค้าให้น่าสนใจแก่ผู้ซื้อ และมีทักษะเป็นผู้ให้บริการ

4.เล่นดีดลูกแก้ว  เล่นครั้งล่ะ 2คนโดยผู้เล่นต้องพยายามดีดลูกแก้วให้ลงหลุมที่กำหนดไว้และการดีดให้ชนลูกแก้วของคู่แข็งขันให้ไกลออกจากหลุม
ถ้าใครดีดลูกแก้วลงหลุมได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะได้ลูกแก้วของอีกฝ่ายไป

ประโยชน์ที่ได้จากการเล่นดีดลูกแก้วคือ

  • เข้าใจกฏกติกาในการเล่น
  • เกิดการแข็งขันเพื่อได้ผลประโยชน์
  • ช่วยให้มีสมาธิ
  • ฝึกคำนวนระยะทางให้สัมพันธ์​กับการออกแรง
  • ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็ก
  • ยอมรับในการเป็นผู้แพ้ชนะในการแข็งขันระหว่างคน2คน

5.ชักเย่อ​ การเล่นชักเย่อเป็นการแบ่งผู้เล่นเป็น2กลุ่มออกแรงในการดึงเชือกให้ฝ่ายตรงข้ามเข้ามาในเขตแดนของตนเองถึงจะเป็นฝ่ายชนะ
โดยจะมีผู้ที่คอยควบคุมในการส่งเสียงให้ออกแรงพร้อมๆกัน

ประโยชน์ที่ได้จากการเล่นชักเย่อ​คือ

  • เข้าใจบทบาทของหัวหน้าทีมและลูกทีม
  • มีความสามัคคีในทีม
  • ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
  • เข้าใจบทบาทการแข่งขันและยอมรับการแพ้ชนะในการเล่นเป็นทีม
  • เข้าใจกฏกติกาการเล่นเป็นทีม

จากกิจกรรมการเล่นทั้ง 5 แบบ เป็นการช่วยกระตุ้นพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์​ และสังคม ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวในการเข้าสังคมได้ดีในอนาคต

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

เทคนิค​การเลี้ยงลูกให้มีความเฉลียวฉลาด

แชร์ให้เพื่อน

เทคนิค​การเลี้ยงลูกให้มีความเฉลียวฉลาด

การเลี้ยงลูกเป็นกระตุ้น การส่งเสริมพัฒนาการให้เหมาะสมตามวัยโดยแบ่งเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและพัฒนาการด้านการเรียนรู้และสติปัญญา

ปัจจัยที่ส่งเสริมพัฒนาการมีดังต่อไปนี้คือ

1.เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน  เนื้อสัตว์นอกจากมีโปรตีนที่ช่วยการเจริญเติบโตแล้ว ยังประกอบด้วยสังกะสี( Zinc)​ที่ช่วยให้จดจำได้ดีขึ้นด้วย

2.นมและผลิตภัณฑ์​จากนมเช่น นม ชีส และโยเกิร์ต​  อุดมไปด้วยแคลเซียมที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบสัญญานไฟฟ้าในสมอง​และวิตามินดีซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ช่วยบำรุงสมองของเด็กวัยเรียน

3.ไข่ไก่ เป็นอาหารโปรดของเด็กๆ เป็นแหล่งโปรตีนที่หาง่าย  ย่อยง่าย  มีสารตั้งต้นที่ช่วยกระตุ้นสมองส่งผลต่อการเรียนรู้ และการจดจำของเด็ก

4.เนื้อปลาทะเล เป็นแหล่งอาหารที่มีโอเมก้า3 มีทั้ง DHA และEPA ที่ช่วยสร้างเซลล์​สมอง  ช่วยในการมองเด็ก บำรุงสายตา

5.ธัญพืชไม่ขัดสี  เป็นแหล่งอาหารที่มีเส้นใยสูงช่วยควบคุมการปล่อยกลูโคส​เข้าสู่ร่างกายและสมอง ช่วยให้สมองได้รับกลูโคส​อย่างต่อเนื่อง  ช่วยให้เด็กตื่นตัว ไม่เหงาหงอย กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

6.ถั่วและเมล็ดพืช เป็นแหล่งอาหารที่มีโปรตีนและไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย  เหมาะสำหรับการกินเล่นระหว่างมื้ออาหาร  ประกอบไปด้วย วิตามินอี  วิตามินบีรวม ธาตุเหล็ก สังกะสี ที่ช่วยในเรื่องของความจำ

7.ผักใบเขียว ผักสีเหลือง เช่นผักคะน้า ผักโขม ฟักทอง ที่อุดมไปด้วยวิตามิน และโฟเลต มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์​สมอง  กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และความจำ

8.ข้าวโอ๊ต จัดเป็นอาหารที่มีเส้นใยสูง  เหมาะสำหรับอาหารเช้าของเด็กวัยเรียนที่มีความรีบเร่งช่วยให้เด็กมีความจำระยะสั้นได้ดี และมีสมาธิในการตั้งใจฟัง เกิดกระบวนการเรียนรู้  เนื่องจากงานวิจัยพบมาอาหารที่เส้นใยสูงจะช่วยให้ระบบการย่อยอาหารช้าลง ส่งผลให้สมองได้รับพลังงานมากขึ้น

กิจกรรมพัฒนาทักษะสร้างความฉลาดในวัยเด็ก

1.การเล่านิทาน  โดยสลับการเล่านิทานให้ฟังเพื่อช่วยกระตุ้นให้ลูกมีความจำและคิดสร้างสรรค์

2.ชวนคุยโดยหมั่นตั้งคำถามปลายเปิด  ช่วยให้เด็กจดจำ กระตุ้นการคิด สร้างคลังคำศัพท์​ที่ถูกต้อง

3.การวาดรูป  เป็นการกระตุ้นจินตนาการของเด็กที่ออกมาเป็นภาพ และยังช่วยกล้ามเนื้อมัดเล็ก  ทำให้เด็กคลายความเครียด  มีสมาธิจดจ่อมากขึ้น สามารถใช้ภาพประเมินทางจิตวิทยาได้ด้วย

4.ส่งเสริมให้เด็กมีกิจกรรมต่างๆร่วมกับเพื่อนวัยเดียวกันเพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการตามวัย
โดยปล่อยให้เด็กได้เล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน

5.เล่นเกมปริศนา​คำทาย นอกจากจะช่วยให้เกิดความสนุกสนานแล้ว ยังช่วยส่งเสริมด้านความจำ คิดแบบมีตรรกะ​   มีไหวพริบ  เรียนรู้ความศัพท์ใหม่ๆ  คิดแบบมีเหตุมีผลมากขึ้น

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

อันตราย ที่พบบ่อยกับวัยเด็กตอนปลาย ช่วงปิดเทอม

แชร์ให้เพื่อน

อันตราย ที่พบบ่อยกับวัยเด็กตอนปลาย ช่วงปิดเทอม

ช่วงนี้ปิดเทอมแล้ว เด็กจะอยู่บ้านตามลำพัง
ผู้ปกครองต้องประกอบออาชีพ ประกอบกับวัยเด็กตอนปลาย เป็นระยะที่การพัฒนาทางสังคมแบบในบ้านไปสู่สังคมนอกบ้าน  ศูนย์กลางของชีวิตทางสังคมคือโรงเรียน  กลุ่มเพื่อนเริ่มมีบทบาทต่อชีวิตเด็กมากขี้น  เด็กวัยนี้จึงรวมกลุ่มเพื่อนออกไปสถานที่ต่างๆช่วงที่ผู้ปกครองไปทำงาน ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุที่มักจะเกิดกับวัยเด็กตอนปลาย ที่พบบ่อยๆ ได้แก่

1.อุบัติเหตุจมน้ำ ข้อมูลจากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคพบว่า การจมน้ำพบส่วนใหญ่ในวัยเด็กตอนปลายเกิดที่แหล่งน้ำธรรมชาติมากสุด และพบในช่วงเวลาการปิดเทอมฤดูร้อน เด็กๆมักชวนกันไปเล่นน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ตกน้ำและจมน้ำเสียชีวิตได้

การเฝ้าระวังและการป้องกันอุบัติเหตุ
1.เตือนผู้ปกครอง ประกาศเสียงตามสายเพื่อแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองเฝ้าระวังและดูแลไกล้ชิด อย่าปล่อยให้ไปเล่นน้ำตามลำพัง

2.ให้ความรู้เด็กให้รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง หากพบคนตกน้ำ ห้ามกระโดดลงไปช่วย เพราะอาจจมน้ำพร้อมกันได้ถึงแม้จะว่ายน้ำเป็นก็ตาม ให้ช่วยด้วยมาตรการ ตะโกน โยน ยื่น ได้แก่
1.1ตะโกนขอความช่วยเหลือ
1.2โยนอุปกรณ์ไกล้ตัวที่ลอยน้ำได้ เช่น ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า
1.3ยื่นอุปกรณ์ไกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ผ้า ไม้

2.อุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ ควรให้เด็กสวมหมวกกันน๊อคที่ได้มาตรฐานทุกครั้งที่เด็กซ้อนท้าย

3.อุบัติเหตุจากการพลัดตกจากที่สูง พื้นที่เสี่ยงเช่น สนามเด็กเล่น บันได ต้นไม้ ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด​ หรือสอนให้เด็กรู้จักการระมัดระวังอันตราย ในการเล่นช่วงปิดเทอม

4.อุบัติเหตุจากถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย พบช่วงหน้าร้อนที่ผู้ปกครองพาไปเที่ยวทะเล เช่น โดยแมงกะพรุน หอยเม่นทะเล

5.อุบัติเหตุจากไฟดูด เนื่องจากเด็กใช้นิ้วแหย่ปลั๊กไฟ ตัวเปียกน้ำไปดึงปลั๊กโดยขาดความระมัดระวังถ้าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดให้ใช้วัสดุไม่นำไฟฟ้าดึงตัวออกจากกระแสไฟฟ้าเช่น ไม้ เชือก ผ้าแห้ง

6.อุบัติเหตุทั่วไป เช่น วิ่งเล่นกับเพื่อนๆที่รู้จักกันนอกบ้านโดยมิจฉาชีพ​หลอกลวงลักพาตัว ผู้ใหญ่ควรระมัดระวังไม่ปล่อยให้วิ่งเล่นโดยไม่มีผู้ใหญ่ดูแล

7.อุบัติเหตุจากรถจักรยาน เด็กปั่นจักรยานเล่นตามถนนในซอยอาจโดนรถชนได้ หรือล้ม ตกลงข้างทาง หรือบางครั้งปั่นแข่งขันกับเพื่อนทำให้รถเกี่ยวกันล้มได้ ผู้ปกครองควรสอนลูกเรื่องกฏจลาจรในการใช้รถใช้ถนนขับขี่เลนซ้ายขอบทาง ระมัดระวังในการขี่รถ

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิดแต่การให้ความรู้ในการ เฝ้าระวังในชุมชนช่วยสอดส่องดูแลจุดเสี่ยงต่างๆเช่นแหล่งน้ำธรรมชาติมีการกั้นรั้วและติดป้ายเตือนแหล่งน้ำลึกให้ระวังอันตราย

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน