โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในขณะออกแรง (Angina Pectoris)

แชร์ให้เพื่อน

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในขณะออกแรง (Angina Pectoris)

เมื่อฉันรู้สึกแน่น ปวด อึดอัด หายใจไม่ออก ปวดร้าวขึ้นตามลำคอแล้วหยุดอยู่ที่ขากรรไกรทั้ง2ข้าง ร้าวมาที่ไหล่ แขน ข้อมือ ลงมาที่ปลายนิ้ว เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 3-5นาทีหลังจากนั้นปวดมากขึ้นจนต้องนั่งพักหรือนอนพักอาการดังกล่าวจึงจะดีขึ้น
อาการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในขณะออกแรงเป็นภาวะหนึ่งของโรค Ischemic​ heart disease (coronary heart disease) ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction) เกิดจากในขณะออกแรง​นั้นหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอกับความต้องการของหัวใจแต่ในขณะที่ร่างกายพักผ่อนอยู่กับที่หรือไม่มีการออกกำลังกาย​เลือดจะไปเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ  การวินิจโรคอาศัยการซักประวัติสำคัญมากที่สุด การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค

อาการที่สำคัญที่สุดคือ ปวด แน่นหน้าอก ซึ่งมีลักษณะ​เฉพาะดังต่อไปนี้
1.มีอาการแน่นหรือปวดกลางอกและใต้กระดูกอกรู้สึกเกิดขึ้นลึกๆ ตำแหน่งที่พบบ่อยบริเวณด้านหน้าของหัวใจ( precordium)​
2.เหตุที่ทำให้มีอาการแน่นหรือปวดเกิดจากการออกกำลังกาย​หรือการออกแรงมากเกินไป
3.ระยะเวลาเกิดอาการประมาณ​3-5นาที และรุนแรงจนต้องนั่งหรือนอนพัก
4.อาการดีขึ้นหรือหายไปเมื่อได้พักอยู่กับที่หลังจากนั้นถึงออกแรงได้อีกครั้ง
5.อาการส่วนใหญ่มักบ่นว่า แน่น ปวด อึดอัด หายใจไม่ออก
6.มีอาการปวดร้าวไปที่อวัยวะอื่นๆเช่นแขน ร้าวไปคอ ขากรรไกร หรือแก้ม ไหล่ ข้อมูล และปลายนิ้ว หรือบางรายอาจไม่มีอาการดังกล่าวก็ได้

การทดสอบด้วยการออกกำลังกาย(Exercise test)

โดยให้ผู้ป่วยหรือคนปกติออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานที่หมุนอยู่ตลอดเวลาโดยการเพิ่มความความชันและอัตราความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆแล้วบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนการออกกำลังกาย ขณะออกกำลังกายและหลังการออกกำลังกาย​  เพื่อหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งช่วยบ่งชี้ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

ข้อห้ามของการทดสอบด้วยการออกกำลังกาย​ หากมีอาการหรือสภาวะดังต่อไปนี้ต้องงดเว้นการทดสอบด้วยการออกกำลังกาย​
1.ผู้ป่วยที่กำลังจะเป็นหรือเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลัน(Acute myocardial infarction)
2.ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรค​  unstable angina
3.ผู้ป่วยที่มีเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบอย่างเฉียบพลัน​หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ​อย่างเฉียบพลัน
4.ผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบอย่างรุนแรง
5.ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวายอย่างชัดเจน
6.ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิต​สูงอย่างรุนแรง
7.ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่สามารถควบคุมได้
8.ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ
9.ผู้ที่ไม่สมัครใจทำการทดสอบ

ข้อบ่งชี้ในการทำ
1.เมื่อผู้ป่วยมีอาการแน่นหรือเจ็บหน้าอก  แต่ไม่แน่นพอที่จะวินิจฉัย​ว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
2.ทำเพื่อวิเคราะห์โรคหัวใจขาดเลือดในขณะที่​ยังไม่เกิดอาการใดๆทั้งสิ้น เช่น นักบิน เป็นต้น
3.ทำเพื่อดูหรือเปรียบเทียบผลของการรักษา

ข้อห้าม
1.คนที่กำลังเป็นและจะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลัน​
2.คนที่กำลังอยู่ในภาวะหัวใจวาย
การทดสอบด้วยการออกกำลังกายช่วยในการพยากรณ์โรคหัวใจขาดเลือดได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะทำได้ทั้งหมด


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน​ อันตรายมากกว่าที่คิด!!!

แชร์ให้เพื่อน

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน​ อันตรายมากกว่าที่คิด!!!

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน​เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของไทยและของโลก คิดเป็น 16 เปอร์เซ็นต์​และมีอัตราเพิ่มขึ้น 4 เท่า
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ทำให้ตายภายในหนึ่งชั่วโมงหลังมีอาการ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาด​เลือด​เฉียบพลัน​คือ ภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือด​ไม่สามารถ​ไป​เลี้ยง​กล้ามเนื้อ​หัวใจ หัวใจขาดเลือดและออกซิเจน​ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน​มักเกิดขึ้นทันทีทันใด​ขณะทำกิจวัตรประจำวัน​ ทำงาน ออกกำลังกาย สาเหตุเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวและเลือดตกตะกอนเป็นตะกรัน​และมีการหลุดของตะกรันเข้าสู่กระแสเลือดที่หัวใจ เกิดการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้เสียชีวิตเฉียบพลันภายในหนึ่งชั่วโมง ซึ่งครึ่งหนึ่งของการเสียชีวิตไม่เคยแสดงอาการมาก่อน

อาการและอาการแสดงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

  • อาการจุกแน่นหน้าอก
  • เหงื่อออก ใจสั่น
  • ปวดร้าวไปที่กราม สะบักหลัง แขนซ้าย จุกคอหอย
  • มีอาการจุกใต้ลิ้นปี่ คล้ายกรดไหลย้อนหรือโรคกระเพาะอาหาร
    หากมีอาการดังกล่าวต้องรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย​และรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด​เฉียบพลัน​

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันคือ

  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันสัตว์ เนย ผลิตภัณฑ์​จากนมที่ไม่พร่องมันเนย การรับประทานอาหารกลุ่ม​นี้ทำให้เกิดการสะสมของไขมันที่ผนังของหลอดเลือดได้
  • ภาวะอ้วน หรือน้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้หัวใจทำงานหนัก เพื่อบีบตัวส่งเลือดและออกซิเจน​ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
  • ความเครียด
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • พฤติกรรม​การสูบบุหรี และดื่มแอลกอฮอล​์ เป็นประจำ
  • มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อ​หัวใจ​ขาดเลือด​เฉียบพลัน​มีดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง หรือรับประทานปริมาณ​น้อยลง ควรรับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นในแต่ละมื้อ
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐานร่วมกับการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายเป็นประจำ สัปดาห์​ละ 3-5 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้หัวใจสูบฉีดโลหิตได้ดี ลดความเสี่ยงการเกิดโรคอื่นๆด้วย
  • หลีกเลี่ยงอารมณ์​เครียด ควบคุมอารมณ์​ ทำจิตใจให้แจ่มใส​ ผ่อนคลายอารมณ์​เครียดด้วยกิจกรรมนันทนาการ​เช่น ดูหนัง ฟังเพลง วาดภาพ ปลูกต้นไม้ เล่นกีฬา
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่​และดื่มแอลกอฮอล​์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล​์เป็นเวลานานทำให้มีไขมันสะสมในเลือดสูง
  • กลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ต้องควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด ให้อยู่ในช่วงปกติ
  • ตรวจสุขภาพ​ประจำปี​ ควรเลือกโปรแกรมการตรวจสุขภาพให้เหมาะสมกับช่วงวัยเพื่อคัดกรองได้เร็วขึ้น

ถึงแม้ว่าโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด​เฉียบพลัน​มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงแต่ก็สามารถป้องกันด้วยการปฏิติตัวอย่างถูกต้อง เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด​เฉียบพลัน​ ร่วมกับการตรวจสุขภาพประจำปี​

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน