การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน  (Diabetes)

แชร์ให้เพื่อน

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน  (Diabetes)

โรคเบาหวาน(Diabetes)​ มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม​และพฤติกรรม เช่น การบริโภค​อาหาร​  การออกกำลังกาย หากเกิดจากพันธุกรรม​แล้วนับเป็นเรื่องยากที่จะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ แต่ในบทความนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงการเสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยน     บุคลิกภาพ   พฤติกรรม​สุขภาพ​ในชีวิตประจำวัน​เพื่อลดอุบัติการณ์​และควบคุมให้เกิดภาวะแทรกน้อยลง  การปรับพฤติกรรม​ได้แก่ การสูบบุหรี่  การรับประทาน​อาหาร​  การออกกำลังกาย​   และการพักผ่อนนอนหลับ  เป็นต้น เนื่องจากการเจ็บป่วยเรื้อรังมีผลกระทบ​ต่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และสังคมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ชีวิตความเป็นอยู่ อาชีพการงาน และทางเพศ​ เป็นต้น

ทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวาน (Diabetes)​ ถึงต้องเน้นการดูแลตนเอง?  เพราะ

1.โรคเบาหวาน(Diabetes)​ เป็นโรคเรื้อรังและเป็นการเจ็บป่วยที่ยาวนาน  ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลรักษายาวนาน ผู้ป่วยอาจได้รับยาอินซูลินโดยวิธีการฉีด  วิธีการกิน  หรือวิธีการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย​ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมกันเป็นต้น
2.โรคเบาหวาน(Diabetes) หากเมื่อเป็นแล้วไม่สามารถดูแลตนเองได้ดีหากได้รับการรักษา​โดยการให้ยาอินซูลิน​แล้ว อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง(Hyperglycemia) หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia)​ได้
3.โรคเบาหวาน​(Diabetes) เมื่อเกิดขึ้นแล้ว   หากควบคุมดูแลตนเองได้ไม่ดี  อาจมีโรคอื่นๆเกิดขึ้นตามมาเช่นโรคความดัน​โลหิต​สูง  โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต   ภาวะเบาหวานขึ้นตา  เกิดแผลที่เท้า เป็นต้น การดูแลตนเองอย่างจริงจังสำหรับโรคเบาหวานเพื่อช่วยชลอความก้าวหน้า​ของโรค  ลดการกำเริบ  ให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น ร่วมกับสามารถทำหน้าที่ได้เต็มตามศักยภาพ​และมีคุณภาพชีวิต​ที่ดีด้วย

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน​ (Diabetes)​ มีดังนี้
1.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน​(Diabetes)​ ต้องรับรู้ว่าโรคเบาหวานนั้นได้เกิดขึ้นกับตนเองแล้ว  การรับรู้นั้นต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม​สุขภาพในชีวิตประจำวันต่างๆเช่น การรับประทานยาต่อเนื่อง การกินอาหารที่จำกัดน้ำตาลเน้นการรับประทานผักมากขึ้น  การออกกำลังกาย การตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดทั้งการตรวจเช็คด้วยตนเองที่บ้านและติดตามการดูแลรักษา​โรคเบาหวาน​(Diabetes)​ กับผู้เชี่ยวชาญ​เป็นต้น เพราะว่าภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังนั้นทำให้เกิดผลกระทบ​กับผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม เนื่องจากหากสามีเจ็บป่วยภรรยา​ต้องรับภาระ​มากขึ้น บทบาทในครอบครัวต้องเปลี่ยนแปลงไป  ผู้ป่วยรู้สึกเสียศักดิ์ศรี​ที่ต้องพึ่งพาคนอื่น  เป็นต้น
2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน​(Diabetes)​ ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค  และแผนการรักษาของตนเองเช่น ฉีดอินซูลิน​ กินยาอินซูลิน​ ควบคุมอาหารและออกกำลังกาย​เป็นต้น(ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน(Diabetes) ได้กล่าวถึงในบทความที่ผ่านมา)​  ตัวอย่างเช่น โรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน​ในวัยรุ่น  การควบคุมโรคได้ลำบาก มีความเสี่ยงเรื่องภาวะน้ำตาลในเลือดสูง(Hyperglycemia) ทั้งที่ได้พยายามควบคุมปัจจัยต่างๆให้ดีที่สุด อาจเกิดจากการเจริญเติบโต​อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยหมดกำลังใจและรู้สึกว่าการกระทำของตนเองไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ เป็นต้น
3.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน(Diabetes) ต้องตระหนัก​ถึงภาวะแทรกซ้อน​(complications) ที่เกิดขึ้นกับตนเองเช่น.ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia) เพราะปัญหาระดับน้ำตาลสูงหรือน้ำตาลต่ำนั้น มีความเกี่ยวข้องกับ​พฤติกรรม​การรับประทาน​อาหาร​  ถ้าหากผู้ป่วยละเลยแล้วอาจทำให้เกิดภาวะอันตรายแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลรักษา​ทันท่วงที ผู้ป่วยเบาหวาน​(Diabetes)​ อาจต้องเตรียมลูกอมติดตัวเพื่อช่วยแก้ปัญหา​ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติได้
4.ผู้ป่วยเบาหวาน​(Diabetes)​ ต้องรู้ เข้าใจ และตระหนักถึงการดูแล​สุขภาพ​เท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลหากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลให้มีการหายของแผลยากกว่าคนปกติและอาจต้องสูญเสีย​อวัยวะ​ต่างๆตามมาได้ (การดูแลสุขภาพเท้าสามารถหาอ่านได้ในบทความที่ผ่านมา)​
5.มนุษย์​เราทุกคนต้องตระหนักและเข้าใจกฎเกณฑ์​ของธรรมชาติ​ว่า  การเกิดภาวะเจ็บป่วยโรคภัยไข้เจ็บ  นั้นเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่จำกัดอายุ  เพศ วัย  หรือสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ​  เป็นต้น มนุษย์​ต้องยอมรับการพึ่งพาบุคคล​อื่นเมื่อจำเป็น  ค้นหาวิธีการจัดการกับความเครียดด้วยตนเอง   ลดความวิตกกังวล  ความกลัว  (อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ในบทความที่ผ่านมา)​  ยอมรับภาพลักษณ์​ที่เปลี่ยนแปลงไปและผลกระทบ​ที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพของตนเอง เป็นต้น
6.ผู้ป่วยเบาหวาน​(Diabetes)​ ต้องรักษาสัมพันธภาพ และการติดต่อสื่อสาร​ที่ดีกับนักวิชาชีพสุขภาพ​  ครอบครัว  ญาติ​มิตร เพื่อนฝูงหรือกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน( Diabetes)​ เพื่อสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์​การดูแลตนเองและนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการดูแลตัวเอง​ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีชีวิตที่ยาวนานขึ้น
7.แผนการรักษา​โรคเบาหวาน​(Diabetes)​ต้องการแหล่งประโยชน์​ของครอบครัว หากครอบครัวที่ขาดแหล่งประโยชน์​ทางสังคม จิตใจ หรือเศรษฐกิจ​ ทำให้จัดการกับปัญหาลำบากมากขึ้นตามมา

โรคเบาหวาน(Diabetes)​ ถึงแม้ว่าจะเป็นกลุ่มโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง หากได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย ครอบครัวผู้ดูแล บุคลากร​ทางสุขภาพ​ แหล่งประโยชน์​ด้านเศรษฐกิจ​แล้ว ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวาน(Diabetes)​ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีชีวิตที่ยาวนานได้


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

6 โรคเรื้อรัง   โรคร้ายใกล้ตัว

แชร์ให้เพื่อน

6 โรคเรื้อรัง โรคร้ายใกล้ตัว

การใช้ชีวิต​ในปัจจุบันนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค​เรื้อรัง​ต่างๆ ทำให้เกิดความเครียด​และส่งผลกระทบต่อร่างกาย​  จิตใจ​  อารมณ์​และสังคม
โรคเรื้อรัง หมายถึงภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังที่มีองค์ประกอบ​ดังต่อไปนี้คือ

  • เป็นความเจ็บป่วยอย่างถาวร
  • การดำเนินของโรคไม่แน่นอน
  • ภาวะความเจ็บป่วยไม่หายขาด แต่อาการทุเลาลงได้ โดยไม่ปรากฏ​อาการ
  • เกิดความพิการหลงเหลืออยู่
  • ต้องการการดูแลรักษา​และฟื้นฟู​สภาพ​อย่างต่อเนื่อง​เป็นระยะเวลายาวนานหรือตลอดชีวิต
  • ต้องมีการดูแลเอาใจใส่ติดตามการรักษาและให้การช่วยเหลือเป็นเวลานาน

6 โรคเรื้อรังมีโรคอะไรบ้าง? เรามาดูกันเลยคะ

 


1.โรคเบาหวาน เป็นกลุ่มอาการที่ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือด​สูงเนื่องจากขาดอินซูลิน อันเป็นผลจากตับอ่อนผลิตบกพร่องหรืออินซูลิน​ออกฤทธิ์​ที่ขาดประสิทธิภาพ​
สาเหตุ​ของโรคเบาหวาน​

  • โรคเบาหวาน​ชนิดพึ่งอินซูลิน​เกิดจากพันธุกรรม​
  • โรคเบาหวาน​ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน​เกิดจากโรคอ้วน  โรคตับ ความเครียด ความผิดปกติ​ในการผลิตฮอร์โมน​ การขาดเบต้าเซลล์​  ยาบางชนิด และขาดการออกกำลังกาย​

อาการของโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง?

  • ปัสสาวะ​บ่อยและมีปริมาณมาก​
  • คอแห้ง​ กระหาย น้ำ​ดื่มน้ำมาก
  • น้ำหนักลด กินเก่ง อ่อนเพลีย​ เหนื่อยง่ายและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

การ​รักษา​โรคเบาหวาน​

  • การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้กลับสู่ภาวะปกติ หรือใกล้เคียง​ปกติโดยระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้าไม่เกิน 140 มิลลิกรัม​เปอร์เซ็นต์​ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร​เช้า 2 ชั่วโมง​ไม่เกิน 180 มิลลิกรัม​เปอร์เซ็นต์​ และ​ระดับ​น้ำตาลในเลือด​หลังอาหารกลางวัน​ 2 ชั่วโมง​ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม​เปอร์เซ็นต์​ ไม่พบน้ำตาลและสารอะซีโตนในปัสสาวะ​ก่อนอาหารเช้าและเย็น  มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์​ปกติ

2. โรค​ความดัน​โลหิต​สูง​ เป็นภาวะความดันโลหิต​ช่วงบนมีค่าสูงกว่า 140 มิลลิเมตร​ปรอท​ขึ้นไป และค่าความดัน​โลหิต​ช่วงล่างมีค่าสูงกว่า 90 มิลลิเมตร​ปรอทขึ้นไป
สาเหตุ​ของโรค​ความดัน​โลหิต​สูง​

  • ภาวะความดันโลหิต​สูงที่ไม่ทราบสาเหตุ​ พบได้ร้อยละ 90 มีความเกี่ยวข้องกับความอ้วน อาหารที่มีโซเดียม​  ไขมัน  คอเลสเตอรอล​สูง การดื่มเครื่องดื่ม​แอลกอฮอล์​ ความเครียด  และกรรมพันธุ์​
  • ความดัน​โลหิต​สูงชนิดทราบสาเหตุ​ พบได้ร้อยละ 10 เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะ​ต่างๆ​ของร่างกาย เช่น ไต ต่อมไร้ท่อ โรคครรภ์​เป็นพิษ​ ยาคุมกำเนิดหรือยาสเตียรอยด์​
    อาการของโรคความดันโลหิตสูง​
  • ความดันโลหิตสูงระดับเล็กน้อย (ช่วงบน 140-149 มิลลิเมตร​ปรอทช่วงล่าง 90-99 มิลลิเมตร​ปรอท)​ จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง​ของอวัยวะ​ใดๆ
  • ความดันโลหิต​สูง​ระดับปานกลาง​ (ช่วงบน 160-179 มิลลิเมตร​ปรอท ช่วงล่าง 100-109 มิลลิเมตร​ปรอท)​จะตรวจพบหัวใจซีกซ้ายโตขึ้น ไตทำหน้าที่เสียไปในระดับปานกลาง​
  • ความดันโลหิต​สูงระดับรุนแรง(ช่วงบนสูงกว่า 180 มิลลิเมตร​ปรอทขึ้นไป ช่วงล่าง​ตั้งแต่ 110 มิลลิเมตร​ปรอทขึ้นไป)​มีการทำลายของหัวใจ สมอง ไต และหลอดเลือดหลังลูกตา​
    การรักษาโรคความดันโลหิตสูง​

มีเป้าหมายในการลดความดันโลหิต​สูงในการรักษาคือ

  • เพื่อให้ระดับความดันสูงในช่วงปกติและต่อเนื่อง
  • ลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ตามปกติทั่วไป

การรักษาโรคความดันโลหิต​สูงมีหลายวิธีดังนี้
1.การควบคุมความดันให้ปกติโดยไม่ใช้ยา สามารถ​ทำได้โดย

  • การออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์​ละ 3-5 ครั้ง
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม​การกินอาหาร เลี่ยงอาหารไขมันจากสัตว์  ลดกินแป้ง น้ำตาล เพิ่มผักใบเขียว และจำกัดอาหารรสเค็ม
  • งดเครื่องดื่ม​แอลกอฮอล์​  บุหรี่  ผ่อนคลายอารมณ์​เครียด
  • การ​ควบคุม​น้ำหนักให้ปกติ
  • ติดตามตรวจรักษาอย่างต่อเนื่อง

2.การ​ควบคุม​ความดันโลหิต​สูงโดยการใช้ยา โดยแพทย์​แผนปัจจุบัน​เป็นผู้สั่งยาให้รับประทาน


3.โรคหัวใจ  เป็นกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจจำแนกได้ดังนี้คือ

  • กลุ่มอาการที่เจ็บหน้าอก​คงที่และเรื้อรัง​
  • กลุ่มอาการโรคหลอดเลือดโคโรนารีเฉียบพลัน
  • กลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

สาเหตุ​ของโรคหัวใจ
พบร้อยละ 90 เกิดจากภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือดโคโรนารี โดยมีไขมันเกาะผนังหลอดเลือดและสร้างเนื้อเยื่อมาหุ้ม ฉีกขาดได้  เลือดเกิดการแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด เข้าไปอุดตันภายในหลอดเลือด เมื่อเกิดการตีบแคบทำให้เลือดผ่านไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลงเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด

อาการของโรคหัวใจ​

  • กลุ่มอาการที่เจ็บหน้าอก​คงที่และเรื้อรัง มีอาการเจ็บกลางอก ร้าวไปแขนด้านใน คอ กรามและหัวไหล่
  • กลุ่มอาการโรคหลอดเลือด​โคโรนารีเฉียบพลัน​ มีอาการเจ็บหน้าอก​ขณะพัก   ร่วมกับอาการเหงื่อแตก หน้ามืดเป็นลม ใจสั่น คลื่นไส้​อาเจียน และหายใจหอบเหนื่อย
  • กลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีอาการเหนื่อย นอนราบไม่ได้ เจ็บแน่นหน้าอก เป็นลม หมดสติ

การรักษาโรคหัวใจ 
มีเป้าหมายเพื่อลดความรุนแรงของโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน​ได้แก่

  • การรักษาโดยการใช้ยา กลุ่มรักษาอาการเจ็บหน้าอก  ยาต้านการจับกลุ่มของเกล็ดเลือด​ ยาละลายลิ่มเลือด ยาควบคุมระดับไขมันในเลือด
  • การเปิดขยายหลอดเลือดแดงด้วยบอลลูน​ การใส่โครงตาข่าย  การตัดเอาคราบไขมันออก การตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ การขยายหลอดเลือด​ด้วยแสงเลเซอร์​เป็นหัตถการในโรงพยาบาล
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม​และควบคุมปัจจัย​เสี่ยง เนื่องจากการใช้ยารักษาอย่างเดียวอาจไม่มีประสิทธิภาพ​เต็มที่ เพื่อช่วยยับยั้ง​และชะลอความก้าวหน้า ลดภาวะแทรกซ้อนและความรุนแรงของโรค การปรับเปลี่ยน​พฤติกรรม​การกินอาหาร การออกกำลังกาย​การผักผ่อนนอนหลับ  การผ่อนคลายความเครียด  การปฏิบัติ​ตัวให้สัมพันธ์​กับแนวทางการรักษา

6 โรคเรื้อรัง โรคร้ายใกล้ตัว อ่านต่อ ตอนที่ 2

แชร์ให้เพื่อน

การรักษาเบาหวานด้วยการควบคุมอาหาร

แชร์ให้เพื่อน

การรักษาโรคเบาหวานด้วยการควบคุมอาหาร

การควบคุมอาหารในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2นั้น มีเป้าหมายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล และไขมันให้อยู่ในเกณฑ์​ปกติ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งในการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานนั้น จำเป็นต้องควบคุมทั้งปริมาณ​และชนิดของอาหารให้เหมาะสมกับพลังงานที่ใช้ในแต่ละวันของผู้ป่วยเบาหวาน

พฤติกรรมการบริโภค​อาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2

  • การบริโภคอาหารที่มีปริมาณ​มากเกินไป ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสู
  • การบริโภค​อาหารที่น้อยเกินไปร่วมกับการใช้ยารักษาเบาหวาน ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
    ฉะนั้นผู้ป่วยเบาจะต้องเรียนรู้ คำนวณปริมาณ​อาหารที่รับประทานแต่ละวัน โดยแบ่งมื้ออาหาร รับประทานตรงเวลา และเลือกรับประทานอาหารตามหมวดหมู่ โดยแบ่งออกเป็น

1.หมวดหมู่อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน ซึ่งให้พลังงานต่ำ ช่วยการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายได้ช้าลง เช่น ผักใบเขียวทุกชนิด  ได้แก่ คะน้า ผักบุ้ง ผักกาด ถั่วฝีกยาว ถั่วงอก กวางตุ้ง เป็นต้น

2.หมวดหมู่อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานได้แต่ต้องจำกัดจำนวน เช่น อาหารประเภทแป้ง ข้าว ซึ่งควบคุมได้ จึงแนะนำให้เลือกรับประทาน เส้นหมี่ มะกะโรนี วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ สำหรับการรับประทานข้าวเหนียวให้ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่งของข้าวจ้าว
สำหรับไขมันให้เลือกรับประทานน้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง

3.หมวด​หมู่อาหาร​ที่ผู้ป่วย​เบาหวานไม่สามารถรับประทานได้ คือกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูง มีส่วนประกอบของน้ำตาลในปริมาณ​ที่มาก เช่น น้ำตาล ขนมหวาน ทองหยิบ ทองหยอด นมข้นหวาน หากต้องการอาหารที่มีรสหวานสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์​สารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลและให้พลังงานต่ำ เช่น  อีควล

ฉะนั้นการเลือกบริโภคอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 อย่างเหมาะสม ควรต้องได้รับความรู้และคำแนะนำเรื่องชนิดและปริมาณของอาหาร เพื่อให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับค่าปกติมากที่สุดเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ลดความสูญเสียด้านค่าใช้จ่ายสูง และเสียชีวิตได้

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

โรคเบาหวานรักษาได้อย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

โรคเบาหวานรักษาได้อย่างไร?

การรักษาโรคเบาหวานต้องอาศัยความร่วมมือของสหวิชาชีพและตัวผู้ป่วยเอง โดยผู้ป่วยต้องตระหนักและให้ความสำคัญเนื่องจากเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาดแต่ควบคุมให้โรคสงบ อยู่ในเกณฑ์​ใกล้เคียง​ปกติมากที่สุดโดยเน้น คุมอาหาร ออกกำลังกาย ร่วมกับกินยาปรับระดับน้ำตาลในเลือด  ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่อง

  • การควบคุมอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือกับโภชนากรแนะนำเรื่องอาหารให้ผู้ป่วยเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างถูกต้องเช่นอาหารที่กินได้ไม่จำกัดเช่นผักใบเขียว และกลุ่มที่ต้องจำกัดเช่นผลไม้รสหวาน ทุเรียน แนะนำใหกินผลไม้ที่หวานน้อย เช่น ชมภู่ ฝรั่ง เลี่ยงอาหารหวานมันและเค็ม  ขนมหวานเลี่ยงน้ำอัดลม  หรือแอลกอฮอล์​
  • การออกกำลังกาย เช่น แอโรบิก​ วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เดินเร็ว ไม่ควรนั่งเฉยๆ หรือนอนพักนานเกิน 90 นาที ควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบ
  • การใช้ยา โดยเฉพาะเบาหวานชนิดที่1 รักษาโดยฉีดอินซูลินเท่านั้น โดยพยาบาลมีหน้าที่ในการสอนเรื่องการฉีดยาและติดตามเรื่องระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการฉีดยาตามมาได้ และแพทย์จะได้ปรับยาให้ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรคเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้างที่ต้องเฝ้าระวัง

  • เบาหวานขึ้นตา เกิดจากมีน้ำตาลสูงเรื้อรัง ควบคุมไม่ได้ ส่งผลให้จอประสาทตาเสื่อม ถ้าไม่รีบรักษา อาจทำให้ตาบอดได
  • เบาหวานลงไต เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลให้เกิดแรงดันไปที่ไตสูงด้วย มีโปรตีนไข่ขาวรั่วมากับปัสสาวะ ไตทำงานลดลงขับของเสียออกไม่ได้ มีการคั่งของของเสียส่งผลให้เป็นไตวายในที่สุด
  • ภาวะแทรกซ้อนทางเส้นประสาทส่วนปลาย
    มีอาการชาปลายมือ ปลายเท้า ร้อนปลายมือปลายเท้า เสี่ยงทำให้เดินชนมีบาดแผลได้งาย และแผลหายช้า หรือแผลเรื้อรัง
  • เส้นเลือดแดงใหญ่อุดตัน เกิดบริเวณขาส่วนปลาย นิ้ว ทำให้มีการติดเชื้อ ต้องตัดนิ้วเท้าหรือขาเนื่องจากแผลเรื้อรังและขยายขึ้นเรื่อยๆ
  • เส้นเลือดหัวใจตีบ ส่งผลให้เกิดหัวขาดเลือดตามมา ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและเสียชีวิตฉับพลัน
  • เส้นเลือดสมองตีบ ทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดอัมพฤกษ์​อัมพาต​ ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

โรคเบาหวาน คืออะไร? ทำไมต้องตรวจคัดกรอง

แชร์ให้เพื่อน

โรคเบาหวาน คืออะไร? ทำไมต้องตรวจคัดกรอง

โรคเบาหวาน( Diabetes) คือ ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 126 มก/ดล.เกิดการขาดอินซูลินส่งผลทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลไปใช้ได้หมด เกิดส่วนเกินในกระแสเลือด เมื่อเกิดระดับน้ำตาลเหลือค้างในกระแสเลือดติดต่อกันต่อเนื่องเป็นประจำทำให้เกิดโรคเบาหวานขึ้นและมีผลกระทบต่อหลอดเลือด  ระบบประสาทส่วนปลาย ถูกทำลาย นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่างๆได้

วิธีการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
ใช้เครื่องมือตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยอาศัยเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้

  • มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมงมากกว่า 126 มก/ดล.โดยตรวจพบอย่างน้อย 2 ครั้ง
  • มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c)​มากกว่าหรือเท่ากับร้อยล่ะ 6.5 ขึ้นไป
  • มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังกินน้ำตาลกลูโคส 75 กรัมเป็นเวลา 2 ชั่วโมงเกิน 200 มก./ดล.
  • มีอาการแสดงของโรคเบาหวานร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะบ่อย  มีมดตอมน้ำปัสสาวะ กระหายน้ำบ่อย
  • เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ชาปลายมือปลายเท้า แสบร้อน มีแผลหายช้า ตามัวลง

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

1.เบาหวานชนิดที่ 1(DMT1)​เกิดจากตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันร่างกายแล้วทำให้ขาดอินซูลิน
2.เบาหวานชนิดที่ 2(DMT2)​ เกิดจากภาวะดื้ออินซูลินมักพบกับบ่อยกับกลุ่มคนอ้วน
3.เบาหวานชนิดพิเศษ เกิดได้หลายสาเหตุเช่น พันธุกรรม  โรคตับอ่อน จากยาบางชนิด
4.เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นช่วยที่ตั้งครรภ์และหายไปได้หลังจากคลอดบุตรแล้ว คนกลุ่มนี้มีโอกาสเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต


กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน
1.ประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน
2.เป็นโรคอ้วนร่วมด้วย มีน้ำหนัก้กินมาตรฐาน
3.เคยมีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือมีบุตรน้ำหนักเกิน 4 กก.
4.อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป
5.ไม่เคยออกกำลัง กินเหล้า สูบบุหรี่

โรคเบาหวานเกิดจาก
1.กรรมพันธุ์​
2.อ้วน น้ำหนักเกิน
3.อายุุมากขึ้นเกิน 35 ปี
4.โรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ การผ่าตัดตับอ่อน
5.มีการตั้งครรภ์
6.ติดเชื้อไวรัส​บางชนิด ส่งผลให้เป็นเบาหวาน เช่น หัด หัดเยอรมัน
7.ได้รับยาบางชนิด ทำให้มีการผลิตน้ำตาลมากขึ้น

อาการบ่งชี้ว่าเป็นโรคเบาหวาน

  • อาการหิวบ่อย กินเก่ง
  • ปัสสาวะบ่อย มีมดตอม
  • กระหายน้ำบ่อย จากปัสสาวะบ่อย
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • มีแผลเรื้อรัง หายช้า
  • น้ำหนักลดลงเร็วไม่ทราบสาเหตุ
  • คันตามผิวหนัง เป็นเชื้อรา ตกขาวบ่อย
  • ตาพร่ามีว มองไม่ชัด

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน