โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในขณะออกแรง (Angina Pectoris)
เมื่อฉันรู้สึกแน่น ปวด อึดอัด หายใจไม่ออก ปวดร้าวขึ้นตามลำคอแล้วหยุดอยู่ที่ขากรรไกรทั้ง2ข้าง ร้าวมาที่ไหล่ แขน ข้อมือ ลงมาที่ปลายนิ้ว เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 3-5นาทีหลังจากนั้นปวดมากขึ้นจนต้องนั่งพักหรือนอนพักอาการดังกล่าวจึงจะดีขึ้น
อาการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในขณะออกแรงเป็นภาวะหนึ่งของโรค Ischemic heart disease (coronary heart disease) ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction) เกิดจากในขณะออกแรงนั้นหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอกับความต้องการของหัวใจแต่ในขณะที่ร่างกายพักผ่อนอยู่กับที่หรือไม่มีการออกกำลังกายเลือดจะไปเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ การวินิจโรคอาศัยการซักประวัติสำคัญมากที่สุด การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค
อาการที่สำคัญที่สุดคือ ปวด แน่นหน้าอก ซึ่งมีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้
1.มีอาการแน่นหรือปวดกลางอกและใต้กระดูกอกรู้สึกเกิดขึ้นลึกๆ ตำแหน่งที่พบบ่อยบริเวณด้านหน้าของหัวใจ( precordium)
2.เหตุที่ทำให้มีอาการแน่นหรือปวดเกิดจากการออกกำลังกายหรือการออกแรงมากเกินไป
3.ระยะเวลาเกิดอาการประมาณ3-5นาที และรุนแรงจนต้องนั่งหรือนอนพัก
4.อาการดีขึ้นหรือหายไปเมื่อได้พักอยู่กับที่หลังจากนั้นถึงออกแรงได้อีกครั้ง
5.อาการส่วนใหญ่มักบ่นว่า แน่น ปวด อึดอัด หายใจไม่ออก
6.มีอาการปวดร้าวไปที่อวัยวะอื่นๆเช่นแขน ร้าวไปคอ ขากรรไกร หรือแก้ม ไหล่ ข้อมูล และปลายนิ้ว หรือบางรายอาจไม่มีอาการดังกล่าวก็ได้
การทดสอบด้วยการออกกำลังกาย(Exercise test)
โดยให้ผู้ป่วยหรือคนปกติออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานที่หมุนอยู่ตลอดเวลาโดยการเพิ่มความความชันและอัตราความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆแล้วบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนการออกกำลังกาย ขณะออกกำลังกายและหลังการออกกำลังกาย เพื่อหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งช่วยบ่งชี้ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้
ข้อห้ามของการทดสอบด้วยการออกกำลังกาย หากมีอาการหรือสภาวะดังต่อไปนี้ต้องงดเว้นการทดสอบด้วยการออกกำลังกาย
1.ผู้ป่วยที่กำลังจะเป็นหรือเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลัน(Acute myocardial infarction)
2.ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรค unstable angina
3.ผู้ป่วยที่มีเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบอย่างเฉียบพลันหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอย่างเฉียบพลัน
4.ผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบอย่างรุนแรง
5.ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวายอย่างชัดเจน
6.ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง
7.ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่สามารถควบคุมได้
8.ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ
9.ผู้ที่ไม่สมัครใจทำการทดสอบ
ข้อบ่งชี้ในการทำ
1.เมื่อผู้ป่วยมีอาการแน่นหรือเจ็บหน้าอก แต่ไม่แน่นพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
2.ทำเพื่อวิเคราะห์โรคหัวใจขาดเลือดในขณะที่ยังไม่เกิดอาการใดๆทั้งสิ้น เช่น นักบิน เป็นต้น
3.ทำเพื่อดูหรือเปรียบเทียบผลของการรักษา
ข้อห้าม
1.คนที่กำลังเป็นและจะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลัน
2.คนที่กำลังอยู่ในภาวะหัวใจวาย
การทดสอบด้วยการออกกำลังกายช่วยในการพยากรณ์โรคหัวใจขาดเลือดได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะทำได้ทั้งหมด
สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com