โรคปอดอักเสบ(Pneumonia)
ความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่ปรารถนาแต่การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอจะช่วยให้ปลอดภัยจากโรคได้ เรามาทำความรู้จักโรคปอดอักเสบ(Pneumonia)กันคะ
โรคปอดอักเสบหรือปอดบวม(Pneumonia)เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา โดยส่วนใหญ่แล้วพบการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส มักเกิดต่อเนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่ และมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันในแต่ละคน
โรคปอดอักเสบโดยทั่วไปมักเกิดขึ้นได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่สุขภาพร่างกายอ่อนแอหรือมีโรคประจำตัว โรคเรื้อรัง เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเอดส์ เป็นต้น
อาการของโรคปอดอักเสบ(Pneumonia)ที่พบได้บ่อยๆเช่น
- ไข้สูง (อาจมีอาการไข้สูงตลอดเวลา)หนาวสั่นไอแห้งหรือ มีเสมหะสีขาวต่อมาเป็นสีเขียว(ติดเชื้อแบคทีเรีย) บางรายอาจไอมีเสมหะปนเลือดได้ ปวดร้าวไปทีสีข้างหรือหัวไหล่ ในเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน ร้องงอแงตลอดเวลา
- หายใจหอบเหนื่อย
- เจ็บหรือแน่นหน้าอก
- คลื่นไส้ อาเจียน หรืออ่อนเพลีย หน้ามืด ตาลาย รับประทานอาหารได้น้อย
- บางรายมีอาการซึมลง สับสน พูดคุยไม่รู้เรื่อง
โรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังได้แก่
การได้รับการตรวจรักษาและวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็วจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของโรคปอดอักเสบลงได้ การเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจทำให้อันตรายถึงชีวิตได้
- ภาวะปอดบวมน้ำหรือมีเลือดคั่งในปอด
- เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
- มีหนองในโพรงของเยื่อหุ้มปอด
- หูชั้นกลางอักเสบหรือไซนัสอีกเสบ
- ช็อคจากการติดเชื้อ
การรักษาโรคปอดอักเสบ(Pneumonia)
หากพบว่ามีอาการดังกล่าวข้างต้นควรรีบเข้ารับการตรวจรักษาจากสถานพยาบาลเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโดยการตรวจเสมหะและฉายภาพ X-Ray ปอด
- การรับประทานยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งติดต่อกันจนหมดกรณีที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
- ดูแลตนเองรับประทานอาหาร ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- กรณีผู้ป่วยเด็ก ผู้สูงอายุ ควรได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิดในสถานพยาบาล
- ควรงดสูบบุหรี่หรือกินเหล้า
การป้องกันโรคปอดอักเสบ(Pneumonia)
ในปัจจุบันมีวัคซีนที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันหลังการฉีด 2-3 สัปดาห์ โดยวัคซีนจะช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของโรคลงได้ ผู้ที่รับวัคซีนมีอาการข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่
- ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด
- มีไข้ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ แนะนำให้ดื่มน้ำให้เพียงพอหลังการรับวัคซีน
- ควรฉีดวัคซีนในผู้ที่มีอายุมากกว่า65ปี
- ควรฉีดวัคซีนในผู้ที่มีอายุ2-65ปี
- ควรฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่หรือเป็นโรคหอบหืด
การดูแลตนเองเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อทางเดินหายใจต่างๆ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไข้หวัด ไอ จาม
- ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือให้สะอาด
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงปัจจัยด้านความเครียดต่างๆ
การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอและสุขภาพจิตที่ดีช่วยลดความเจ็บไข้ได้ป่วยลงได้
ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com